ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: i3ee5555 ที่ กันยายน 25, 2019, 03:00:38 pm

หัวข้อ: เรียกร้องค่าชดเชยสัญญาจ้างรายปี
เริ่มหัวข้อโดย: i3ee5555 ที่ กันยายน 25, 2019, 03:00:38 pm
ขออนุญาติสอบถามคะ
ปัจจุบันทำงานในหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งเป็นลูกจ้างรายปี สัญญาจ้างปีต่อปี เป็นระยะเวลา 6 ปี และหน่วยงานไม่ต่อสัญญาเนื่องจากอ้างว่ามาทำงานสายเกินกำหนด จึงไม่ต่อสัญญาและให้เขียนใบลาออกโดยให้ระบุเหตุผลในการลาออกว่าได้งานที่ใหม่ แต่เนื่องจากว่ามีความคิดว่าไม่เป็นธรรมจึงยังไม่ได้เขียนใบลาออก จึงอยากสอบถามว่า
1.มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยได้หรือไม่ในกรณีที่ไม่ได้ต่อสัญญา
2.นายจ้างต้องออกหนังสือเลิกจ้างให้หรือไม่เพื่อที่จะนำไปแสดงประกอบขอเงินชุดเชยการว่างงาน
หัวข้อ: Re: เรียกร้องค่าชดเชยสัญญาจ้างรายปี
เริ่มหัวข้อโดย: Manotham ที่ ตุลาคม 23, 2019, 07:54:18 am
เงินชดเชย

  คุณน่าจะ....ไม่ไดรับเงินชดเชย  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ม.118  เพราะเป็นลูกจ้างในหน่วยงาของรัฐ  ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ตาม ม.4(1)
หัวข้อ: Re: เรียกร้องค่าชดเชยสัญญาจ้างรายปี
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ พฤศจิกายน 29, 2019, 03:40:07 am
ตื่นเข้าแต่งตัวเดินเข้าไปทำงานในหน่วยงานราชการ มองๆดูช่างดีแท้

แต่ความเป็นจริง คนกลุ่มนี้ที่เป็นพนักงานสัญญาจ้างรายวัน รายเดือน หรือจะเรียกอย่างไรก็ตาม เป็นกลุ่มคนที่ถูกมองข้ามมากที่สุด เเม้แต่ลูกจ้างที่ไปทำงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในแต่ละจังหวัด เช่น แม่บ้าน คนสวน คนขับรถ ก็ยังถูกละเลยในการบังคับใช้กฎหมายอ่างเท่าเทียม ซึ่งทนายก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมกฎหมายถึงเป็นเช่นนี้

และตราบใดที่กฎหมายแรงงานยังเป็นเช่นนี้ คนกลุ่มนี้ก็คงต้องก้มหน้ารับชะตากรรมไป จนกว่าจะมีผู้หลักผู้ใหญ่จะเห็นความสำคัญตามหลักสากล

เอาละ เดียวยาว....ถามมาว่า
๑.มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยได้หรือไม่ในกรณีที่ไม่ได้ต่อสัญญา
๒.นายจ้างต้องออกหนังสือเลิกจ้างให้หรือไม่เพื่อที่จะนำไปแสดงประกอบขอเงินชุดเชยการว่างงาน

ทนายก็ขอตอบว่า..ที่ถามมา เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ๒ ฉบับ นั่นก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
๑.ไม่ได้ค่าชดเชยครับ
๒.สิทธิประโยชน์กรณ๊ว่างงาน ก็ไม่ได้ครับ

เหตุที่ไม่ได้ ก็เนื่องมาจาก ทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ต่างยกเว้นมิให้บังคับใช้กฎหมายกับหน่วยงานของรัฐ ในมาตรา ๔ เหมือนกันเลย ดังนั้น จึงส่งผลเป็นไปตามคำตอบข้างต้นนั่นเอง

ซึ่งคุณ Manotham ได้ตอบไว้นั้น ถูกต้องแล้วครับ

ทนายพร.
หัวข้อ: ทำสัญญาจ้างงานกับนายจ้าง (ช่วงทดลองงาน)'
เริ่มหัวข้อโดย: รณกร ที่ พฤศจิกายน 30, 2019, 12:54:32 pm
ทำงานมาได้ 30 วันกว่าแล้ว (ช่วงทดลองงาน) แต่นายจ้างยังไม่ให้สำเนาคู่ฉบับของหนังสือสัญญาจ้าง ถามฝ่ายบุคคลไปแล้วแต่เงียบไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม  ขอรบกวนทนายช่วยแนะนำในประเด็นนี้ด้วยครับ  เป็นสิทธิของลูกจ้างโดยชอบไหมที่จะขอสำเนาคู่ฉบับหนังสือสัญญาจ้างไว้ด้วย


หัวข้อ: Re: เรียกร้องค่าชดเชยสัญญาจ้างรายปี
เริ่มหัวข้อโดย: Manotham ที่ ธันวาคม 05, 2019, 04:32:15 am
สัญญาจ้าง

 แม้เพียงตกลงจ้างด้วยวาจาก็ใช้บังคับได้  สถานภาพของคุณและนายจ้าง จึงเป็นลูกจ้างและนายจ้าง ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.5(ถ้าคุณมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี) ในเมื่อกฎหมายไม่ได้บังคับว่า การจ้าง หรือสัญญาจ้าง จะต้องเป็นหนังสือ หรือมีลายลักษณ์อักษร จึงไม่มีเงื่อนไขว่า นายจ้างต้องมอบสัญญาคู่ฉบับให้ลูกจ้าง... หลักฐานการไปทำงานของคุณ  คุณจึงเป็นลูกจ้าง  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานแล้ว ครับ