ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: aoao ที่ มกราคม 17, 2020, 04:25:47 pm

หัวข้อ: ขอคำแนะนำในการไปไกล่เกลี่ยตามหมายศาลค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: aoao ที่ มกราคม 17, 2020, 04:25:47 pm
เงินต้น 49,xxx
ดอกเบี้ย 75,xxx
ในหมายมีข้อความว่า ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย 6 กรกฎาคม 2557
โดยมียอดหนี้ค้างปรากฏ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2558
การกระทำของจำเลยทำให้โจทย์ได้รับความเสียหาย
จำเลยจึงต้องชำระหนี้คืนแก่โจทย์คิดคำนวนถึงวันฟ้อง (13 ธันวาคม 2562)

สอบถามผู้รู้ และ ผู้มีประสบการณ์ ค่ะ

1.อายุความ ให้นับจากวันที่ผิดขำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันฟ้อง
   เราชำระครั้งสุดท้าย 6 กค 57 นั้นก็หมายความว่า เราผิดชำระครั้งสุดท้าย สค 57 ถูกไหมค่ะ
   (หมายศาลเรื่องสินเชื่อส่วนบุคคลค่ะ) อายุความสินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี
   ถ้านับตามที่เราเข้าใจ หมดอายุความ สค 62 ฟ้อง 13 ธค 62 แบบนี้หมดอายุความหรือเปล่า
   ทำไมมีประโยคที่ว่า โดยมียอดหนี้ค้างปรากฏ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2558
   เพราะถ้านับปี 58 ยังไม่หมดอายุความ
   ปล.เราไม่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้าน บ้านให้เช่า ชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเรา แต่ชื่อเจ้าของเป็นชื่ออา
   ก่อนหน้านี้เราไม่เคยสอบถามว่ามีหมายศาลมาไหม เพราะเรายังไม่พร้อม
   ถามคนเช่าเมื่อ สค 62 เค้าบอกมี แต่ส่งกล่องคืนไปแล้ว
   ครั้งนี้สั่งปิดหมายเม่ือวันที่ 13 มกราคม 2563 เราเลยไม่แน่ใจเรื่องวันฟ้อง
   ว่ามีฟ้องก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2562 ไหม

2.ตัดสินใจจะไกล่เกลี่ย เราควรโทรไปบริษัทที่ฟ้อง หรือ รอไปคุยที่ศาลทีเดียว (เลือกได้ก็ไม่อยากไปศาลค่ะ)
   (สินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารซีไปเอ็มบี ขายหนี้ให้ บ.บริหารสินทรัพย์ สาทรค่ะ)

3.เจรจาไกล่เกลี่ยจะลดได้เยอะไหมค่ะ เงินต้นยังพอหาได้ แต่ดอกเบี้ย ไม่ไหวค่ะ
   จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะขอจ่ายเงินต้นก้อนเดียวทีเดียวเลย

4.ปรึกษาเพื่อนที่ทำงานสำนักงานกฎหมาย เค้าบอกว่าจะไปหรือไม่ไปก็ได้ ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ต้องไป
  ถ้าครั้งนี้เราไม่ไป ศาลจะดำเนินการกับเรายังไงต่อค่ะ ใจนึงก็อยากเคลียร์ให้จบ อีกใจก็กลัวเรื่องยอดเงินที่จะตกลงกัน

5.เป็นเจ้าบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน บังคับดียึดทรัพย์ได้ไหมค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ
หัวข้อ: Re: ขอคำแนะนำในการไปไกล่เกลี่ยตามหมายศาลค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2020, 01:36:26 am
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ที่ถามมาในข้อ ๑ การนับวันผิดนัด...ที่คุณเข้าใจนะถูกแล้ว สิงหาคม ๕๗ คือวันผิดนัดที่จะทำให้โจทก์ใช้สิทธิ์ฟ้องได้  อายุความ ๕ ปี นับแต่วันผิดนัดคือสิงหาคม เมื่อโจทก์ฟ้องในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๖๒ หนี้นี้จึงขาดอายุความแล้ว การขาดอายุความต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้นะครับ ศาลยกขึ้นเองไม่ได้
ส่วนประเด็นได้รับหมายศาลหรือไม่ เป็นประเด็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จะต้องไปพิสูจน์ว่าเราไม่รู้เรื่องการฟ้อง ก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลหยับยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่ได้ แต่ต้องยื่นคำร้องตามที่กฎหมายกำหนดนะครับ

ข้อ ๒ ตอบว่า...ถ้าจะไกล่เกลี่ยก็ไปที่ศาลเลยครับ ซึ่งเมื่อไกล่เกลี่ยได้ศาลก็จะมีคำพิพากษาตามยอม...แต่ที่ทนายสงสัยคือถ้าจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่ต้องไปไกล่เกลี่ยครับ แต่อาจจะถูกมองว่า กู้เงินเค้าแล้วไม่ใช้คืน ก็ต้องทนเอาหน่อยนะครับ

ข้อ ๓ ตอบว่า...ปกติทนายความโจทก์ก็จะได้รับยอดสำหรับการเจรจามาแล้วครับ อยู่ที่ว่าหนี้ก้อนนี้ได้ดอกเบี้ยมาเท่าไหร่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะลดให้ ๓๐ - ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของยอดฟ้องครับ ทั้งนี้ก็อยู่ที่การเจรจาครับ

ข้อ ๔. ตอบว่า...อืมมมม....อยู่ที่คุณเลยครับว่าจะเชื่อทนายคนใหน...ฮา ;D ;D ;D
ถ้าไม่ไป ก็เต็มตามฟ้อง ถ้าไปก็เจรจาลดยอดได้ หรือถ้าสู้ก็ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถ้าชนะก็ไม่ต้องจ่ายซักบาท ตัดสินใจเอาครับ

ข้อ ๕. ตอบว่า...ถ้าเป็นเจ้าบ้าน กฎหมายสันนิฐานว่าเป็นเจ้าของบ้านนั้น เมื่อเป็นเจ้าของก็ยึดบ้านและทรัพย์สินที่อยู่ในบ้านได้ครับ ส่วนใครจะมากล่าวอ้างว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยก็ต้องไปยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์หรือขอกันส่วนตามกฎหมายต่อไปครับ ส่วนที่ดินถ้าตรวจสอบแล้วไม่มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของก็ยึดไม่ได้ครับ ยึดได้แต่บ้านกับทรัพย์สิน ถ้าเป็นบ้านไม้นี่ถูกยึดแน่ครับ แต่ถ้าบ้านปูนก็อาจจะไม่ยึด น่าจะไม่คุ้มเพราะรื้อถอนแล้วคงจะไม่ได้อะไร

ครบถ้วนแล้วนะครับสำหรับคำถาม หรือถ้ายังมีข้อสงสัยก็ถามเพื่อนที่เป็นทนายได้นะครับ น่าจะได้ความกระจ่างได้ครับ ;D

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.