ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: bangpun ที่ พฤษภาคม 15, 2020, 10:52:09 am

หัวข้อ: ขอปรึกษาเรื่องวันที่มีผลลาออก กับการจ่ายค่าจ้างค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: bangpun ที่ พฤษภาคม 15, 2020, 10:52:09 am
เนื่องจากมีพนักงานรายเดือน ยื่นใบลาออก มีผลวันที่ 8/5/63
แต่พนักงานมาทำงานวันสุดท้ายวันที่ 30/4/63

คำถามคือ 1.ต้องจ่ายวันหยุดประจำสัปดาห์และนักขัติ ให้พนักงานหรือไม่ 1 3 4 6พ.ค.63 
            2. หากบริษัทแจ้งเลิกจ้างพนักงานขาดงานเกิน3วัน คือวันที่ 2 5 7 พ.ค.63 ได้หรือไม่

ขอบคุณค่ะ
หัวข้อ: Re: ขอปรึกษาเรื่องวันที่มีผลลาออก กับการจ่ายค่าจ้างค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ พฤษภาคม 17, 2020, 02:43:10 am
ถามมาสั้นๆ แต่ได้ใจความ และเป็นคำถามที่ดีมาก

ถามมาก็ตอบไปครับ จะได้เป็นความรู้กับผู้อ่านท่านอื่นด้วย  ตามนี้ครับ

ถามมาในข้อ ๑ ว่า ต้องจ่ายวันหยุดประจำสัปดาห์และนักขัติ ให้พนักงานหรือไม่ 1 3 4 6พ.ค.63 ? และข้อ ๒ ถามว่า หากบริษัทแจ้งเลิกจ้างพนักงานขาดงานเกิน3วัน คือวันที่ 2 5 7 พ.ค.63 ได้หรือไม่?

อืมม...ก่อนที่จะตอบอยากให้กลับไปดูข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเสียก่อนว่า ในหมวดวินัยและโทษ กำหนดโทษกรณีร้ายแรงโดยเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยในส่วนการ "ขาดงาน" หรือ "ละทิ้งหน้าที่" ว่าอย่างไร หากเขียนไว้ว่า "ขาดงานเกินกว่า ๓ วัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดขั้นหรือไม่ก็ตาม" กรณีอย่างนี้ หากลูกจ้างไม่มาทำงานในวันที่ ๒ , ๕ , ๗ ก็ถือว่าเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วัน ซึ่งถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

แต่หากเขียนว่า "ขาดงานเกินกว่า ๓ วันทำงานติดต่อกัน กรณีอย่างนี้ จะถือว่าขาดงานติดต่อกันเกินกว่า ๓ วันไม่ได้ เพราะในวันที่ ๑ , ๓-๔ และ ๖ เป็นวันหยุดตามประเพณี ซึ่งหากบริษัทกำหนดให้เป็นวันหยุด หากจะเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และถือว่าโทษตามข้อบังคับฯเป็นคุณกับลูกจ้างยิ่งกว่ามาตรา ๑๑๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และใช้บังคับได้

แต่ถ้าในข้อบังคับฯไม่ได้เขียนไว้เลย ก็สามารถยกมาตรา ๑๑๙ (๕) มาเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้

ดังนั้น ที่ถามมาในข้อ ๑ ก็ตอบว่า หากไม่ถือว่าเป็นการขาดงานเกินกว่า ๓ วัน ก็ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี
ส่วนจะเลิกจ้างได้หรือไม่ ก็เป็นไปตามทีได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว

ทนายพร.