ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: diamond ที่ มิถุนายน 24, 2020, 09:10:49 pm

หัวข้อ: อยากสอบถามเรื่องใช้สิทธิลาพักร้อน และค่าชดเชยที่จะได้คืนค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: diamond ที่ มิถุนายน 24, 2020, 09:10:49 pm
เรียน  ทนายพร
  ดิฉันมีข้อสอบถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ลาพักร้อนค่ะ ขอถามตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ปีนี้ทางบริษัทของข้าพเจ้ากำหนดให้ลูกจ้าง ไม่ให้ใช้สิทธิืลาพักร้อน ไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้นเป็นระยะเวลาเข้าร่วม 3 เดือน เนื่องจากสถานการณ์จาก  Covid19  และยังไม่มีวี่แววว่าจะได้ใช้ลาพักร้อนค่ะ และพักร้อนจะตัดสิทธิ์การใช้ ทุกสิ้นปี อยากสอบถามว่า ถ้าเราใช้พักร้อนไม่หมด เราสามารถขอคืนเงินตามกฏหมายแรงงานได้ไหมคะ หรือสามารถให้บริษัทสะสมวันลาพักร้อนได้ไหมคะ  ถ้ากรณีวันลาพักร้อนเหลือค่ะ

2.ถ้ากรณี ถึงสิ้นปีแล้วแต่ทางพนักงานยังใช้สิทธิ์ลาพักร้อนไม่ครบ แล้วบริษัทตัดสิทธิ์วันลาที่เลหือของพนักงานไปเลย โดยที่ไม่ได้จ่ายเงินชดเชยหรือสะสมในปีถัดไป และไม่ได้สอบถามความยินยอมจากพนักงงาน เพราะพนักงานรู้แค่ว่า ตัดสิทธิ์ปีต่อปีค่ะ แบบนี้เราสามารถเรียกร้องอะไรจากบริษัทได้หรือไม่คะ ตามกฏหมายเราสามารถเรียกร้องได้ไหมคะ
หัวข้อ: Re: อยากสอบถามเรื่องใช้สิทธิลาพักร้อน และค่าชดเชยที่จะได้คืนค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ มิถุนายน 25, 2020, 02:35:13 pm
วันหยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน)

  ก็ต้อง เป็นไป ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.30...คือจะตัดสิทธิ์ออกทุกปีไม่ได้...ถ้ามีการเลิกจ้าง ถ้าลูกจ้างยังไม่ใช่สิทธิ์ ลาพักผ่อนฯ (ปีละ  6 วัน) นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันพักพักผ่อนฯ ตาม ม.67...อย่างไรก็ตาม  นายจ้าง/ลูกจ้าง  คงไม่ต่างจากญาติสนิท  มีอะไรก็หาทางเจรจากันด้วยดี   การฟ้องร้องควรเป็นทางเลือกสุดท้าย  ด้งยความปรารถนาดี ครับ

มาตรา ๓๐  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

                     ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้

                     นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้

                    สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้

มาตรา ๖๗  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา ๑๑๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๓๐

        ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีตามมาตรา ๑๑๙ หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๓๐
หัวข้อ: Re: อยากสอบถามเรื่องใช้สิทธิลาพักร้อน และค่าชดเชยที่จะได้คืนค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ กรกฎาคม 17, 2020, 02:19:21 pm
ถามมาเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า วันพักร้อน

เอาเป็นว่า กฎหมายวางหลักไว้ว่า วัน "พักร้อน" เป็น "วันหยุด" และกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดว่าจะให้ลูกจ้างหยุดวันใหนบ้าง ซึ่งปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า ๖ วัน หรือนายจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างเป็นผู้กำหนดก็ได้ว่าจะหยุดวันใหน โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน เช่นนี้ก็ทำได้

นอกจากนี้ กฏหมายยังกำหนดต่อไปว่า ให้นายจ้าง-ลูกจ้าง ตกลงกันว่า จะให้สะสมไป หรือ จ่ายเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างแทน ถ้าตกลงจ่ายเป็นเงินก็จ่ายกันซะให้เรียบร้อยตอนสิ้นปี หรือถ้าจะสะสมก็ จดๆไว้ว่า สะสมไปกี่วัน

และที่สำคัญไม่มีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างหักหรือลบล้างวันหยุดพักร้อนของลูกจ้างไปทั้งหมด หมายความว่า นายจ้างจะตัดวันพักร้อนเราไม่ได้

ดังนั้น ที่ถามมาว่า..ถ้าเราใช้พักร้อนไม่หมด เราสามารถขอคืนเงินตามกฏหมายแรงงานได้ไหมคะ หรือสามารถให้บริษัทสะสมวันลาพักร้อนได้ไหมคะ  ถ้ากรณีวันลาพักร้อนเหลือค่ะ? ก็ตอบว่า ไปคุยกับนายจ้างให้ชัดแจ้งว่าจะให้เราสะสมวันหยุดหรือจะจ่ายเป็นเงิน ถ้านายจ้างไม่ให้สะสมและไม่จ่ายเป็นเงินก็ไม่ต้องโมโหกระฟัดกระเฟียดนะครับ แต่ให้จดบันทึกไว้ว่า วันพักร้อนเราในแต่ละปีเหลือกี่วัน เมื่อถึงวันที่เราพ้นสถาพการเป็นพนักงาน ไม่ว่าจะลาออก หรือถูกเลิกจ้าง ก็ให้ทวงถามนายจ้างให้จ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างของเราในวันพักร้อนที่สะสมหรือที่ตัดเราไปทุกปี  ซึ่งยังงัยก็ได้เงินอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะได้ช้าได้เร็วเท่านั้น ดีซะอีก ถ้าได้ในปีหลังๆ เรามีค่าจ้างเยอะขึ้น เงินที่จะได้ก็มากขึ้นไปด้วย

ส่วนที่ถามมาในข้อ ๒ ก็ได้อธิบายและตอบไปพร้อมแล้วในข้อแรก ;D

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.