ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: thapchai ที่ พฤศจิกายน 16, 2020, 11:21:46 am

หัวข้อ: การเปลี่ยนแปลงสัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: thapchai ที่ พฤศจิกายน 16, 2020, 11:21:46 am
สวัสดีครับมีเรื่องจะสอบถามเกี่ยวกับสัญญาการจ้างงานครับ เดิมทางบริษัทฯ ได้ทำสัญญาจ้างงานแบบเป็นพนักงานประจำโดยมิได้กำหนดระยะเวลาทำงานผ่านมาระยะหนึ่ง ทางบริษัทฯ ได้ทำสัญญาใหม่มาหนึ่งฉบับซึ่งเป็นสัญญาจ้างชั่วคราวแบบกำหนดระยะเวลาการจ้างงาน สามารถทำได้หรือไม่ หรือ การกระทำเช่นนี้เข้าข่ายผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่
หัวข้อ: Re: การเปลี่ยนแปลงสัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ พฤศจิกายน 17, 2020, 10:10:47 am
กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงใดที่ขัดต่อกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ 

ซึ่งเจตนารมณ์ก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับความเป็นธรรม มิให้ถูกเอาเปรียบจากนายจ้างซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า

ส่วนที่ถามว่า กรณีที่จะเปลี่ยนสัญญาจากไม่กำหนดระยะเวลาจ้าง มาเป็นสัญญาจ้างชั่วคราวโดยกำหนดระยะเวลาจ้างกันนั้น ทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่

ก็ตอบว่า คงไม่ผิดกฎหมาย หาก เรา "ยินยอม" เพราะสัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาทาง "แพ่ง" อย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๖ ว่าด้วยจ้างแรงงาน

ดังนั้น หากนายจ้างทำสัญญามาในลักษณะ "เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ" (หมายถึง เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทำให้เราเสียสิทธิจากที่เคยได้ หรือได้น้อยลง) หากเราไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องเซ็น ก็เท่านั้น นายจ้างจะมาจับมือเราเซ็นไม่ได้  ซึ่งที่บอกไปนี้คือทฤษฎี  แต่การปฎิบัติอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า หากเราไม่เซ็นก็จะหาทางกดดันต่างๆ นานา หรือหาเหตุมาลงโทษ ท้ายที่สุดก็หาเหตุมาเลิกจ้าง อะไรประมาณนี้

แต่ถ้าเราจำยอมต้องรับสภาพการจ้างหรือสัญญาใหม่แล้ว ก็ถือว่า เรายินยอม และก็จะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หากทำใจได้ก็ทำงานต่อไปอย่างมีความสุข แต่ถ้าทำใจไม่ได้ก็จะรู้สึกขัดขืนในหัวใจ ว่านายจ้างช่างเอาเปรียบเราเสียเหลือเกินและไม่มีความสุขในการทำงานอีกเลย และหาทางออกด้วยการลาออกไปในที่สุด ก็จะประมาณนี้สำหรับการเป็นลูกจ้างในระบบอุตสาหกรรม

เล่ามาซะยาว ก็สรุปว่า ที่ถามมาก็ตอบไปในคำอธิบายแล้วนะครับ

ทนายพร.
หัวข้อ: Re: การเปลี่ยนแปลงสัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: thapchai ที่ พฤศจิกายน 18, 2020, 09:50:28 am
สอบถามเพิ่มเติมครับหากสัญญาฉบับนี้มีความผิดทางแพ่งแล้ว แต่ทางอาญาตาม มาตรา 84 เป็นการยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมายเข้าข่ายมีความผิดด้วยหรือไม่
หัวข้อ: Re: การเปลี่ยนแปลงสัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ ธันวาคม 01, 2020, 12:05:46 pm
อัยยะ จะเล่นอาญาเลยหรา... ;)

อันว่าคดีอาญานั้น มีสาระสำคัญคือ ๒ ประการ คือ องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน

องค์ประกอบภายนอก หมายถึง ผู้กระทำ การกระทำและวัตถุแห่งการกระทำ เช่น เหตุฆ่าคนตาย องค์ประกอบภายนอก ผู้กระทำ คือ คนที่ไปฆ่า การกระทำ คือ การทำให้ตายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง และวัตถุแห่งการกระทำ คือ วัตถุหรืออาวุธที่ทำให้ตาย เช่นนี้เรียกว่าองค์ประกอบภายนอก

ส่วนองค์ประกอบภายใน หมายถึง "เจตนา" ซึ่งเจตนานั้น อาจจะเป็นเจตนา "ธรรมดา" หรือ เจตนา "พิเศษ" ก็เป็นได้ เจตนาธรรมดา เช่นเจตนาประสงค์ต่อผล หมายความว่า มุ่งหมายหรือประสงค์ต่อผลโดยตรง  เช่น ถ้าผู้กระทำใช้ปืนยิงไปที่ผู้เสียหาย โดยยิงไปที่อวัยวะสำคัญ ๆ ต้องถือว่าประสงค์หรือมุ่งหมายให้ผู้เสียหายตาย ส่วนเจตนาเล็งเห็นผล หมายความว่า ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผลแต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลอย่างแน่นอน เช่น ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน แล้วเกิดมีคนตาย เช่นนี้ เมื่อปืนเป็นอาวุธที่มีความร้ายแรงและเมื่อยิงไปหากลุ่มคน แน่นอนว่าหากถูกคนอาจต้องตาย อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น ตามที่ถามว่า ถ้าผิดทางแพ่ง เเล้วจะเป็นผิดอาญา ฐานผู้ใช้หรือไม่นั้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๔ บัญญัติว่า "ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด..."

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความผิดอาญา กับพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จากสัญญาจ้างประจำเป็นชั่วคราวนั้น จึงไม่เข้าองค์ประกอบในการกระทำความผิดอาญา...ฟันธง

ทนายพร.