ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: sakol ที่ พฤษภาคม 31, 2017, 08:25:52 pm

หัวข้อ: ลากิจแต่ถูกไล่ออก
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ พฤษภาคม 31, 2017, 08:25:52 pm
สวัสดีครับ  ผมมีคำถามข้อ1 ดังนี้ครับ
   ผมลากิจโดยการแจ้งทางเมล์ว่าลากิจ3วันไปทำธุระด่วนที่ต่างจังหวัดแต่ไม่มีการตอบปฏิเสธกลับมาแสดงว่าลาได้ไช่มั้ยครับ
แต่พอครบวันที่3ผมโดนปลดออก โดยถูกแจ้งว่าขาดงาน3วันติดต่อจึงให้ออก  แบบนี้ผมจะทำยังงัยได้บ้างครับ  ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: ลากิจแต่ถูกไล่ออก
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ มิถุนายน 05, 2017, 05:41:37 am
ขาดงานติดต่อกันสามวัน

  นายจ้างคงใช้เหตุนี้ เพื่อให้ออก โดยไม่มีเงินชดเชย ครับ
หัวข้อ: Re: ลากิจแต่ถูกไล่ออก
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ มิถุนายน 17, 2017, 01:56:29 am
โห..ถามมาตั้งกะเดือนพฤษภาคมแระ..ทนายมัวไปใหนมา...
เอาน่าๆ ยังทันๆ...

ถามว่า ลากิจทางเมล์ แล้วโดนเลิกจ้าง แล้วจะทำงัย????

อืมม..ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นบ่อยๆนะครับ โดยเฉพาะฝากเพื่อนลา , ลาทางไลน์ , ทางเมล์ อะไรประมาณนี้ ซึ่งหากไม่มีปัญหาก็ดีไป แต่ถ้าเจ้านายไม่ปลื้มก็จะเป็นเช่นนี้แหละครับ

อย่างนี้ครับ ก่อนอื่นต้องกลับไปดู "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน" หมวด "การลา" ว่าได้กำหนดวิธีการลาไว้ว่าอย่างไร และเราได้ดำเนินการตามขั้นตอนนั้นหรือไม่ หากไม่ได้ทำก็ถือว่าผิดระเบียบการลาครับ ซึ่งก็มีโทษทางวินัย ซึ่งโทษก็จะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกเหมือนกัน

แต่ตอนนี้ถูกให้ออกจากงานแล้ว จะทำงัย?  ทนายแนะนำหน่อยยยยย....

อืมมม...หลังจากนั่งกุมขมับแล้ว  ก่อนที่ทนายจะตอบ ทนายมีคำถามว่า..ไอ้ที่ผ่านๆมาลากันทางเมล์ได้มั๊ย? ปกติหัวหน้าตอบกลับทางเมล์มั๊ยว่าอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เพราะเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญของคดีครับ

หากตอบว่า ปกติก็ลาอย่างนี้ ...โอกาสสูงที่จะชนะคดีครับ เพราะจะถือว่าเป็นประเพณีปฎิบัติ

แต่ถ้าตอบว่า นี่เป็นครั้งแรกครับ...อืมม..อันนี้ โอกาสชนะก็ไม่มากครับ เพราะโดยปกติ การลากิจต้องได้รับอนุมัติก่อนจึงจะลาได้ หากไปโดยยังไม่ได้รับอนุญาตก็จะเป็นการขาดงานซึ่งหากติดต่อกันสามวันก็เป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้นะครับ แต่จะมีข้อยกเว้นว่า หากการขาดงานนั้นเป็นกิจธุระอันจำเป็นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น คนในครอบครัวป่วยหนักต้องไปดูแล หรือไปงานศพคนในครอบครัว อย่างนี้เป็นต้น นายจ้างจะเลิกจ้างไม่ได้ครับ แต่ถ้าไปงานบวช งานแต่งเพื่อน อย่างนี้ ไม่รอดครับ

เอาเป็นว่า ข้อแนะนำคือ...ถ้าอยากลุ้น ก็ไปฟ้องศาลแรงงานครับ เมื่อเข้าสู่กระบวนการไกล่ก็พิจารณาเอาตามสถานการณ์เผื่อนายจ้างจะให้มาซักแสนสองแสนก็เอาไว้ก่อนครับดีกว่าไม่ได้อะไรเลย

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร