29/03/24 - 22:21 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Manotham

หน้า: 1 [2] 3
16
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การยึดทรัพย์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2019, 01:12:39 am »


การโกงเจ้าหนี้
  ถ้าผู้รับจำนำ  นำรถไปขาย  คุณคงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนา  คือโอนลอยไว้แต่แรก ไม่ได้โอนเพื่อหนีหนี้...ถ้ามีการดำเนินคดี  ก็นำข้อเท็จจริงนี้ไปอ้างอิง หรือใช้เป็นข้อต่อสู้ให้พ้นผิดได้...

17
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การยึดทรัพย์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2019, 02:19:38 am »


การบังคับคดี

  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  สามารถยึดรถไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้   เพราะเพียงโอนลอยไว้     ก็อ้างกับ สนง.บังคับคดีได้ว่า เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพ ที่ราคาไม่เกินหนึ่งแสนบาท อาจไม่ถูกยึดก็ได้  ตามป.วิแพ่ง ม.301 (2)  คงต้องยื่นคำร้องคัดค้านฯ ถ้าไม่ได้ผล คงต้องร้องศา่ล...

18
(ต่อเนื่อง)

  เงื่อนไขสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการขอเบิกเงินสวัสดิการฯ  คือเมื่อจดทะเบียนรับรองบุตร ก็ควรให้แม่ของเด็ก ทำบันทึกยินยอมให้คุณใช้อำนารตปกครองบุตรด้วย  แม้ในความเป็นจริง คุณเป็นผู้ดูแลบุตรก็ตาม  แต่ในเอกสารต้องมีบันทึกยืนยันไว้ว่าคุณ เป็นผู้ปกครองบุตร  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ครับ

19
การรับรองบุตร
  คุณและแฟน ไปที่ สนง.ทะเบียนราษฎร์ในอำเภอที่มีภูมิลำเนา  เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตร คงไม่ต้องรอให้บุตรเขียนหนังสือได้ก่อน  หลักฐานการรับรองบุตรน่านจะเบิกเงินสวัสดิการฯได้ ก็ต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกที

20
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: อยากทรายจะติดกี่ปีค้ะ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2019, 08:11:49 am »
คดียาเสพติด

  คงถูกตั้งข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย  ถ้ามีปริมาณสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม จะมีโทษจำคุก ตลอดชีวิต ปรับ 1-5 ล้านบาท หรือ ประหารชีวิต ตาม พรบ.ยาเสพติดฯ ม.66 วรรค 3...การรับสารภาพ ย่อมมีเหตุบรรเทาโทษ   แต่คงตอบไม่ได้ว่า ศาลจะลงกี่ปี  เพราะเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น...

21
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนบีบให้เขียนใบลาออก
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2019, 06:19:07 am »
ถูกบีบให้ลาออก

  ถ้าถูกข่มขู่ให้เขียนใบลาออก  ถือว่าใบลาฯนั้นเป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. ม.164  เมื่อบอกล้าง(คือบอกกับนายจ้างว่า ไม่ยอมรับตามใบลาออกนี้)  ก็จะเป็นโมฆะ คือใช้บังคับไม่ได้  แต่ก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงกันพอสมควรว่า ถูกข่มขู่จริง....ถ้ามีการฟ้องร้อง บรรยากาศการทำงานที่ราบรื่น ย่อมเสียไป การจะทำงานร่วมกันต่อไป คงลำบาก...

22
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: วันทำงานของพนักงาน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2019, 06:11:14 am »
เวลาในการทำงาน

 ถ้ากำหนดการทำงานใหม่ ก่อผลกระทบฯ  เบื้องต้น ก็ควรใช้การเจรจากันก่อน  ถ้าตกลงกันไม่ได้ คงต้องฟ้องศาลแรงงาน...การฟ้องฯ ย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดี และสูญเสียสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง ต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้ถึงที่สุดก่อน...

23

การเลิกจ้าง

   เมื่อถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชย ตามเวลาที่ทำงาน ตาม ม.118  แต่ลูกจ้างต้องไม่มีความผิด ตาม ม.119(ทุจริตฯ จงใจให้นายจ้างเสียหาย  ประมาทเลินเล่อฯ ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ   ละทิ้งหน้าที่3 วัน   ฯ) และ ปพพ. ม.583(ขัดคำสั่งเป็นอา่จิณฯ) ส่วนค่าเสียหายอื่น  คงต้องพิสูจน์ว่า เสียหายอย่างไร..

24
ยาเสพติด

  ถ้าถูกตั้งข้อหาครอบครองฯ จะมีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000  -  200,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พรบ.ยาเสพติดฯ ม.67...การกระทำความผิดซ้ำภายใน 5 ปี จะถูกเพิ่มอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลลงโทษในคดีหลัง ตาม ม.97...ถ้า่ให้การรับสารภาพแต่แรก   ย่อมเป็นเหตุบรรเทาโทษ  ศาลคงปรานีลงโทษสถานเบา แต่คงตอบชัดเจนไม่ได้ว่า จะถูกลงโทษมากน้อยเพียงใด เพราะเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น...

25
วันหยุดพักผ่อน

  เป็นสิทธิตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.30 และสามารถตกลงกันให้สะสม ในปีต่อๆไปได้..ระเบียบตามบอกมา น่าจะขัดต่อ กฎหมาย คงใช้บังคับไม่ได้

26

การค้ำประกัน
  ตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ผู้ค้ำประกัน ย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น ตาม ปพพ. ม.681  ถ้ามีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ( ปพพ. ม.681/1)...ตามที่ถาม   ถ้าผู้ค้ำประกันที่ยังมีชีวิตอยู่  ยินยอมรับผิดในหนี้ของลูกหนี้  ในส่วนของผู้ค้ำฯที่เสียชีวิต  ก็ย่อมสามารถทำได้  ก็ต้องแจ้งเจ้าหนี้ และต้องทำสัญญาค้ำประกันขึ้นมาใหม่  แต่ผู้ค้ำฯ  ต้องไม่รับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วม...

27
ค่าล่วงเวลา(โอที)

  ถ้านายจ้างให้ทำงานล่วงเวลา  นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา  ตามกฎหมายกำหนด....ส่วนการไปทำงานสาย  ก็ต้องมีระเบียบชัดเจนว่า จะต้องถูกหักเงินอย่างไร เท่าไร เป็นต้น  การแก้ปัญหาเบื้องต้น คือต้องไปทำงานตรงเวลา...

28
เงินทดแทน

  มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่าย...ตาม ม.22 (พรบ.เงินทดแทนฯ) กรณีของคุณก็ต้องดูข้อเท็จจริงว่า  เข้าข่ายข้อยกเว้นหรือไม่...

มาตรา ๒๒  นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้

(๒) ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนประสบอันตราย

 

29
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ลาออกไม่ได้
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2019, 02:06:05 am »
การเช่าซื้อ

  ในเมื่อนายจ้าง  เป็นผูัเช่าซื้อหรือเป็นผู้ออกรถ  นายจ้างจึงเป็นผู้มีสิทธิใช้รถ  และต้องเป็นผู้ครอบครองรถ  ถ้าคุณลาออก และนำรถคันนี้ไปด้วย  คงมีปัญหา  อาจจะถูกแจ้งข้อหาลักทรัพย์ได้  ส่วนกรณีคุณเป็นผู้จ่ายค่างวด  เป็นการตกลงกันเอง ภายนอกสัญญา  คงต้องไปฟ้องเรียกคืนในส่วนนี้เอาเอง...

30
นายจ้าง/ลูกจ้าง

   แม้ไม่ลาออก  แต่ถ้ากลับมาบ้าน ไม่ไปทำงานอีก  ติดต่อกัน 3 วัน ก็เป็นเหตุให้ ถูกเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยได้  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.119 (5)...ในระบการทำงานของเอกชน  การไปทำงานสายถือว่าเป็นเรื่องใหญ่  ดังนั้นต้องตระหนักในจุดนี้ให้มากครับ

หน้า: 1 [2] 3