25/04/24 - 10:46 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ทนายพร

หน้า: 1 2 3 [4]
46
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องขับรถชนคนหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับร่างกายและชีวิต, พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ความผิดในการขับรถ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความเสียหายและการชดเชยค่าเสียหาย

- ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีมีผู้เสียชีวิตผู้ก่อเหตุก็จะมีความผิดอาญา ตามมาตรา 291 ที่ระบุว่า...“ผู้ใดกระทำโดยประมาท และ การกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท”

- ความผิด ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฐานขับรถโดยประมาท มาตรา 78 ระบุไว้ว่า...ผู้ใดขับรถซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้ง   ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

- ความผิดทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงชดใช้ชดเชยค่าเสียหายกันได้ก็ไม่ต้องนำกฎหมายนี้มาใช้ เว้นเสียแต่ผู้เสียหายไม่ได้รับการชดใช้หรือมีการทำผิดไปจากข้อตกลง ก็มีความผิดฐานละเมิด ซึ่งมาตรา 420 ระบุว่า...“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้น ทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” อย่างนี้เป็นต้น

กระบวนการที่เกี่ยวข้อง

-   พนักงานสอบสวนก็จะทำการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ส่งให้กับพนักงานอัยการ เช่น ยึดรถ ไว้เพื่อตรวจพิสูจน์  หากดำเนินการเสร็จ เรามีสิทธิขอรับรถคืนเพื่อนำไปซ่อมและใช้งานตามปกติ

-   ในชั้นพนักงานสอบสวนนี้จะเป็นผู้ชี้ผิด-ถูกในเบื้องต้น ต้องตกลงในชั้นนี้ให้ดี เพราะในกรณีที่ไม่ต้องขึ้นศาลนั้น พนักงานสอบสวนมักทำสำนวนว่า ผู้ตายประมาทฝ่ายเดียว แต่ถ้าทำสำนวนว่าเป็นประมาทร่วม ต้องส่งอัยการ ฟ้องศาลต่อไป

-   พนักงานอัยการทำการตรวจรับคำฟ้อง

-   ส่งขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาคดี

-   กรณีขับรถชนคนตาย ศาลจะพิจารณาจากหลักฐานต่าง ๆ ถ้าไม่เคยทำความผิด ไม่เมา และยอมชดใช้ค่าเสียหาย ในสำนวนการสอบสวน ฝ่ายผู้เสียหายได้แสดงการยอมความไม่ติดใจเอาเรื่อง เนื่องจากทางฝ่ายผู้กระทำผิดยินยอมชดใช้ และผู้เสียหายได้มีการแถลงต่อหน้าศาลไว้ ศาลท่านก็มักจะพิจารณาโทษให้จำคุก 1 ปี 2 ปี 3 ปี หรือแล้วแต่

-   ที่สำคัญหากคู่กรณียอมความ ไม่ติดใจเอาเรื่อง ศาลก็มักจะปรานีลดโทษจำคุกให้เหลือเพียงการรอลงอาญา โดยต้องรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติตามระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือขึ้นกับดุลพินิจของศาล

สำหรับบางกรณีที่อาจ มีหลายคนสงสัย เช่นเป็นกรณีที่ขับรถมาโดยปกติ และเกิดมีคนกระโดดพุ่งชนรถ หรือพุ่งออกมาจนถูกรถชนจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบหรือไม่-อย่างไร ? ตามกฎหมายระบุไว้ในชั้นแรกว่าผู้ขับขี่เป็นผู้กระทำผิด เว้นแต่มีการพิสูจน์ได้ว่าเหตุนั้นเกิดจากผู้ตายหรือผู้บาดเจ็บเป็นผู้กระทำ กฎหมายก็จะถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอีกฝ่ายหนึ่ง

ในกรณีที่ผู้ขับขี่ รถหลบหนีไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุด หรือได้ตัวผู้ขับขี่   “ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือ ว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำ ความผิด และให้ตกเป็นของรัฐ”


47
วันนี้มีลูกจ้างคนหนึ่งโทรศัพท์มาสอบถามว่า “ได้ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน จนเกิดการต่อยกันภายในสถานที่ทำงาน” เมื่อบริษัททราบจึงมีจดหมายแจ้งเลิกจ้างและไม่ได้ค่าชดเชย  ตนเองจะต้องทำอย่างไร ??? เพราะแค่ต่อยกันธรรมดา

48
มีหลายคนถามมาว่า เงินค่าครองชีพ เป็น ค่าจ้างไหม ? ขอตอบว่า เงินค่าครองชีพ เป็น "ค่าจ้าง” แน่นอนครับ

ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง เนื่องจากเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ได้ให้คำนิยามคำว่า ค่าจ้าง หมายความว่า
- เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง
- สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน
- และให้หมายความรวมถึง เงิน ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง ในวันหยุดและวันลา ที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้

ดังนั้นการที่ “เงินค่าครองชีพ” เป็น “ค่าจ้าง” เนื่องจากเงินค่าครองชีพนั้น นายจ้างได้จ่ายเป็นรายเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอน จ่ายสม่ำเสมอ เหมือนกับการจ่ายเงินเดือนทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะหยุดงานหรือไม่

เช่น จ่ายเดือนละ 1,000 บาท ทุกเดือน เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แบบเดียวกับค่าจ้าง แม้ว่าจะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตาม เป็นการจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนอกเหนือไปจากค่าจ้างหรือเงินเดือน

เงินค่าครองชีพที่มีการจ่ายแบบนี้ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างครับ และสามารถนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยเวลาถูกเลิกจ้างได้ด้วยครับ

อาจมีหลายคนแย้งว่า ค่าครองชีพ ถือเป็น สวัสดิการ ขอตอบว่า การจะตีความว่าเป็นสวัสดิการ หรือ ค่าจ้าง จะยึดหลักเรื่องลักษณะการจ่ายเงินประกอบเป็นสำคัญครับ เพราะเมื่อนายจ้างได้จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างแน่นอน เป็นประจำทุกเดือน เพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง ค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างครับ

มีตัวอย่างที่อาจทำให้หลงกลได้ เช่น

(1) บริษัทกำหนดจ่ายให้ลูกจ้างรายวัน และรายเดือนเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงาน ในอัตราวันละ 15 บาท ก็ถือว่าเป็นการจ่ายที่มีจำนวนแน่นอน และเป็นการประจำ มิใช่เป็นการจ่ายครั้งคราว ดังนั้นค่าครองชีพก็ถือเป็นค่าจ้างเช่นเดียวกันครับ

(2) เงินประจำตำแหน่ง ,ค่านายหน้าที่จ่ายตอบแทนในการทำงานที่คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ , ค่าเที่ยว ซึ่งเงินเหล่านี้นายจ้างได้จ่ายให้ลูกจ้างในลักษณะประจำ เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ก็ถือว่าเป็นค่าจ้างเช่นเดียวกันครับ ไม่ใช่ สวัสดิการ

(3) มีการจ่ายเงินบางประเภทที่จ่ายเป็นประจำทุกเดือน แน่นอน สม่ำเสมอ แต่ไม่ใช่เพื่อเป็นไปเพื่อตอบแทนในการทำงาน แต่เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้มาก ทำงานให้ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างนะครับ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ค่าหอพัก ค่าอาหาร เบี้ยขยัน บิลที่นำมาเบิกค่าน้ำมัน ค่าเบี้ยประชุม เงินรางวัล โบนัส ค่าน้ำมันรถเหมาที่จ่ายเพื่อชดเชยกับการที่ลูกจ้างนำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน


ในที่นี้ต้องตระหนักเพิ่มขึ้นว่า แม้ว่าสหภาพแรงงานกับบริษัทจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยมีเงื่อนไขว่า มิให้นำค่าครองชีพไปรวมกับค่าจ้าง เพื่อคิดคำนวณค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ที่คำนวณจากค่าจ้างและเงินเดือน จึงถือว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันกับลูกจ้างใดๆทั้งสิ้น (เพราะตามข้อเท็จจริงนายจ้างก็ยังคงจ่ายค่าครองชีพในอัตราเท่ากันทุกเดือนให้กับลูกจ้างนั่นเอง)


อ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกา 3987 - 4329 /53 , 8938 - 8992/2552 , 4842/2548 ,9023/2546 , 875/2544 , 2819/2532 , 171/2530 , 509/2525 , 1133-1268/2525 , 1437/2524

49
(1) ไปที่หน้านี้ครับ click :  http://thanaiphorn.com/boards/index.php?action=post;board=1.0 จะเจอกระดานให้ตั้งคำถาม ก็สามารถพิมพ์ถามได้เลยครับ โดยกรอกตรงหัวข้อว่า "ปัญหาอะไรที่ตนเองสงสัย" และก็มาพิมพ์รายละเอียดปัญหาที่ต้องการถามผม ได้ที่ตรงหน้าว่างๆ สีขาว ใช้ภาษาง่ายๆ ตามที่ตนเองเข้าใจครับ ไม่ต้องกังวลว่าจะเขียนผิดๆถูกๆ ถ้าพิมพ์ไม่เป็น ให้เพื่อนช่วยพิมพ์ก็ได้ครับ

(2) เมื่อกรอกคำถามเรียบร้อยแล้ว ก็กดคำว่า ตั้งกระทู้ ที่อยู่ด้านล่าง แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

(3) เมื่อผมได้รับคำถามแล้วก็จะพยายามตอบให้เร็วที่สุดครับ ถ้าไม่เข้าใจ ผมจะสอบถามรายละเอียดตอบกลับไป หรือถ้ารอไม่ไหว ก็ให้โทรศัพท์หรือ email มาพูดคุยกันแทนก็ได้ครับ เพราะทนายมีภารกิจว่าความและงานประจำที่หนาแน่นมาก ซึ่งอาจไม่สามารถตอบคำถามได้โดยทันทีในวันนั้นหรือวันรุ่งขึ้น หรืออาจภายในสัปดาห์นั้นก็ได้ ถ้ามีคดีความที่ต้องว่าความโดยตลอด ให้โทรศัพท์มาสอบถามแทน

(4) ดูคำถามอื่นๆได้ที่หน้านี้ครับ  http://thanaiphorn.com/boards/index.php?board=1.0



(5) ข้อมูล เนื้อหา สาระอื่นๆเพิ่มเติม ดูได้ที่ http://thanaiphorn.com


อย่างไรก็ตามเนื่องจากเวบไซดนี้ เน้นการให้คำปรึกษาทางคดี ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางคดีเป็นสำคัญในทุกๆคดี เพราะถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ผู้ประสบปัญหาต้องการคำแนะนำทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นคำถามอื่นๆจะพิจารณาเป็นลำดับรองลงไปนะครับ และไม่อนุญาตให้โพสต์เรื่องใดๆที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องการพนันต่างๆ , การให้สินเชื่อ , การขายสินค้าออนไลน์ ฯลฯ ถ้าฝ่าฝืนจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับผู้โพสต์ต่อไป


50
ฝ่ายบุคคลบริษัทหนึ่ง (ญาติๆกันครับ) โทรมาหาผมว่า มีกฎหมายแรงงานอะไรบ้างที่เขาและลูกน้องควรต้องรู้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงาน เอาแบบสรุปสั้นๆ ง่ายๆ ใน 15 นาที จบ

51
มักมีพี่น้องแรงงานถามผมบ่อยครั้งว่า เวลามีญาติพี่น้องติดยาเสพติดและถูกจับ จะติดคุกนานกี่ปี หรือจะถูกเลิกจ้างหรือออกจากงานหรือไม่


52
เมื่อเช้านี้ผมนั่งอ่านข่าว พบว่า มีลูกจ้างคนหนึ่งถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงาน จากบริษัทแห่งหนึ่งที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องยนต์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ทั้งๆที่อยู่ระหว่างการพักรักษาตัวเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำงาน กระดูกข้อมือเคลื่อนพับไปด้านหน้า แต่ต้องทนทำงานจนเลิกงาน (หัวหน้าได้มีการพาไปห้องพยาบาล พยาบาลให้พาไปโรงพยาบาลแต่ก็ไม่มีใครพาไป) จึงต้องทนทำงานจนเลิกงานและรุ่งเช้าจึงได้ไปโรงพยาบาล รักษาตัวได้หนึ่งเดือน กลับพบว่า นายจ้างให้ไปเขียนไปลาออกและใบเลิกจ้าง เพื่อไม่ให้เสียประวัติบริษัทในเรื่อง มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในการทำงาน

ผมพบว่ามีหลายกรณีที่มีความคลุมเครือ และพี่น้องแรงงานมักเกิดความสงสัยว่า “อะไรบ้างที่เรียกว่าบาดเจ็บจากการทำงาน และกองทุนเงินทดแทนต้องคุ้มครอง” ครับ

53
เมื่อหลายวันมาแล้ว มีลูกจ้างคนหนึ่งโทรมาคุยกับผมว่า ตนเองเป็นลูกจ้างที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ได้ลงเวลาทำงานไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง  2 ครั้ง คือ เวลาจริง 17.30 น. แต่ได้บันทึกเวลาตอกบัตรเป็นเวลา 19.00 น. กับครั้งที่ 2 จากเวลาจริง 20.00 น. บันทึกเวลาตอกบัตรเป็นเวลา 21.14 น.  เมื่อหัวหน้างานทราบตนเองก็ได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว แต่เมื่อมีการสอบสวนขึ้นมา และการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น แต่ตนเองกลับได้รับคำสั่งเลิกจ้างแล้ว จะต้องทำอย่างไรดี

หน้า: 1 2 3 [4]