25/04/24 - 15:00 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 50
211
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจนะครับ  โดยเฉพาะพี่น้องคนงาน ซึ่งถูกเลิกจ้างในสถานการณ์ไวรัส โควิด ระบาดนี้ ซึ่งแน่นอนว่า นายจ้างบางรายก็มักจะอ้างโควิดเพื่อเลิกจ้าง หรือไม่ก็ให้ลูกจ้างลดค่าจ้าง หรือ ฯลฯ  ซึ่งจะได้รับผลกระทบจริงหรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไป

เอาล่ะ แนะนำกว้างๆไปว่า เอกสารที่จะต้องลงนามนั้น ก็อ่านหลายๆรอบให้เข้าใจ อะไรไม่เข้าใจก็ให้ถามไปเลยว่า ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร หากเราไม่เห็นด้วยจะตัดข้อความนั้นได้หรือไม่ เอากันให้เครียร์ๆในตอนนั้น ไม่ใช่ว่า เซ็นต์ไปแล้ว ไปถามทีหลัง มันไม่มีประโยชน์

ดังนั้น ที่ถามว่า ต้องเซ็นต์มั๊ย ก็อยู่ที่เรา ซึ่งแน่นอนว่า ในเอกสารดังกล่าว เชื่อว่าจะมีข้อความประมาณว่า "ลูกจ้างสละสิทธิไม่ติดใจเรียกร้องหรือฟ้องร้องบริษัท" ถ้ามีข้อความนี้ หากคิดว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก็ห้ามเซ็นต์ครับ เพราะตามแนวคำพิพากษาศาลฏีกาวางแนวไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความประเภทหนึ่ง ซึ่งบังคับได้คามกฎหมาย ซึ่งหมายความว่า ฟ้องไปก็แพ้ครับ

หรือถ้าไม่มีข้อความดังกล่าว หรือมี แต่ขีดฆ่าออก แล้วอ่านดูไม่เป็นการสละสิทธิฯก็เซ็นต์ได้ครับ รับเงินค่าชดเชยมาก่อน แล้วจึงไปใช้สิทธิฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ครับ

ส่วนที่เล่ามาว่าถูกกลั่นแกล้ง หัวหน้าไม่ชอบหน้า ประเด็นนี้คือข้อเท็จจริง ที่จะต้องพิสูจน์ในชั้นศาลล่ะครับ

ประมาณนี้ ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

212
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การเลิกจ้าง
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2020, 02:57:54 am »
ถามมา ๒ ข้อ เป็นลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

ถามว่า ๑ กรณีเลิกจ้างก่อนครบกำหนด หน่วยงานต้องเสียค่าชดเชยให้กับลูกจ้างหรือไม่  ตอบ เมื่อเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามอายุงานครับ

นอกจากนี้ หากเลิกจ้างก่อนครบสัญญา ก็ยังสามารถเรียก "ค่าเสียหาย" ได้อีกเรื่องหนึ่งด้วย

ข้อ ๒ ถามว่า ถ้าไม่ต่อสัญญาจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือไม่? อืม...เมื่อกำหนดไว้ในสัญญาแน่นอนแล้ว การจะแจ้งหรือไม่แจ้งก็ไม่ได้เป็นสาระสำคัญแต่ประการใด ถ้าเราอยากรู้ก็ไปถามเลยครับ ถ้าได้คำตอบว่าไม่ต่อก็รับค่าชดเชยตามข้อ ๑ แต่ถ้าต่อ ก็จะได้หาปากการอเซ็นต์และเตรียมตัวทำงานต่อไปล่ะครับ

ทนายพร.

213
เสพเเล้วโดนตำรวจจับป่ะ... ;) ถ้าไม่โดนจับ ก็กลับบ้านนอน.. ;D ;D

แต่ถ้าโดนจับ ก็ถามตัวเองก่อนว่า ทำผิดจริงหรือไม่ ถ้าผิดก็รับสารภาพตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนเลย ซึ่งศาลจะปราณีลดโทษให้กึ่งหนึ่ง หากทำความผิดเป็นครั้งแรกศาลมักจะรอลงอาญา ไม่ต้องติดคุก แต่อาจจะส่งไปบำบัดและรายงานตัว แล้วอย่าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก

แต่ถ้าไม่ได้ทำ ถูกยัดข้อหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็แนะนำให้สู้ไป ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าไม่ได้ทำจริงๆ หลักฐานที่ตำรวจสร้างขึ้นนั้น ย่อมมีพิรุจน์ ซึ่งก็ต้องปรึกษากับทนายความในการสู้คดีล่ะครับ และเชื่อว่าศาลดูออกว่าอะไรคือเท็จ อะไรคือจริง แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรล่ะครับ

ประมาณนี้ครับ

ขอให้โชคดี

ทนายพร.

214
จะติดกี่ปี คงตอบชัดเจนไม่ได้ อยู่ที่ดุลพินิจของศาลนะครับ

ซึ่งศาลก็จะพิจารณาจากพฤติกรรมของจำเลยว่า มีความ "หลาบจำ" หรือไม่  ถ้าดูแล้วพฤติกรรมไม่หลาบจำ ก็อาจจะไม่รอลงอาญาแล้วลงโทษจำคุกหรือกักขังหรืออาจบังคับให้ไปบำบัด ก็เป็นได้

ทั้งนี้ ตามหลักกฎหมาย ผู้เสพถือเป็นผู้ป่วย ประเภทหนึ่งครับ ซึ่งมีหลายเครสที่ ศาลสั่งให้ไปบำบัดจนกว่าจะหาย ซึ่งก็ต้องไปอยู่ในสถานที่ที่ศาลมีคำสั่งให้ไปบำบัดละครับ ซึ่งทนายก็คิดว่าดีอยู่นะ มิเช่นนั้น รอบสาม รอบสี่ รอบห้า ก็จะตามมา และจะพัฒนาต่อไปเป็นผู้ค้าในที่สุด

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

215
การเปลี่ยนสัญญาจากรายเดือน เป็นรายวัน เป็นการเปลี่ยนแปลง "สภาพการจ้าง" ที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง  กฎหมายห้าม เว้นแต่ ลูกจ้างจะ "ยินยอม"

ซึ่งวิธีการโดยทั่วไปก็คือ "บีบ" ให้ลูกจ้างยินยอม ด้วยการกดดันลูกจ้างด้วยวิธีต่างๆ เช่น งดโอที โยกย้าย ไม่มอบหมายงาน ฯลฯ (แล้วแต่จริตส่วนเลวจะคิดได้)

ถามต่อไปว่า  วิธีกดดันข้างต้น นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่

ก็ตอบว่า  ถ้าอยู่ในอำนาจในการบริหารงานของนายจ้าง นายจ้างก็สามารถทำได้ เว้นแต่การโยกย้ายงาน หากเป็นการย้ายไปตำแหน่งใหม่นั้น เป็นการโยกย้ายทำให้ตำแหน่งงานลดลงหรือค่าจ้าง,สวัสดิการ ลดลง กรณีเช่นนี้ทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย แต่ถ้าเป็นการโยกย้ายในระดับเดียวกัน เช่น เดิมเป็นพนักงานฝ่ายผลิต โรง ๑  แล้วถูกย้ายไปฝ่ายผลิต โรง ๒ โดยตำแหน่งใหม่และตำแหน่งเดิมอยู่ในระดับเดียวกัน ก็สามารถทำได้ ถือเป็นอำนาจในการบริหารจัดการของนายจ้าง แต่ถ้าเดิมเป็นหัวหน้างาน แล้วถูกย้ายและปรับลดตำแหน่งมาเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ กรณีเช่นนี้ กฎหมายห้ามนะครับ เว้นแต่เรายินยอมก็ว่ากันไปครับ

แต่ถ้าการย้ายไปทำงานในสำนักงานสาขาฯ ต้องพิจารณาว่า การโยกย้ายนั้น ทำให้สถาพการดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนไปก็ย้ายไม่ได้อีกเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้มีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๒๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

ประมาณนี้ครับ หากยังสงสัยก็ถามเข้ามาเพิ่มเติมได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร

216
ทำได้หรือไม่ มันอยู่ที่เราครับ

ตามหลักกฎหมาย เมื่อมีการตกลงเกี่ยวกับค่าจ้างหรือสวัสดิการต่างๆ ภายใต้สัญญาจ้างแรงงานกันแล้ว หรือเรียกภาษากฎหมายว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"
หรือ "สภาพการจ้าง" เมื่อเป็นสภาพการจ้างแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยลำพังไม่ได้ เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงนั้น จะ "เป็นคุณ" ต่อลูกจ้างยิ่งกว่า ย่อมทำได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้ลูกจ้าง "ไม่เป็นคุณ" หรือเสียเปรียบ นั้น กฎหมายห้ามนะครับ เว้นแต่ ลูกจ้าง "ยินยอม"

ดังนั้น ตามที่ถาม นายจ้างจะเปลี่ยนสัญญาได้มั๊ย ก่อนที่จะตอบก็ต้องตามเรากลับไปก่อนว่า เรายินยอมหรือไม่ล่ะ?

ถ้ายอม...ก็เปลี่ยนได้  ถ้าไม่ยอม  นายจ้างก็เปลี่ยนไม่ได้ครับ

เอาเป็นว่าถ้าไม่อยากเซ็นต์ยินยอม ก็เอามือข้างนั้น ไส่กระเป๋ากางเกงไว้ นายจ้างก็ไม่สามารถจับมือเรามาเซ็นต์ยินยอมได้แล้วครับ ;D

ทนายพร. 


217
ถามมาว่า..1. กรณีนี้เราสามารถเรียกร้องให้บริษัทจ่ายส่วนต่างให้ครบ 75% ได้หรือไม่
ตอบ..ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า ธุรกิจของนายจ้างนั้นทำอะไร และได้รับผลกระทบจาก Covid หรือไม่ และถูกรัฐบาลสั่งปิดหรือหยุกกิจการหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยว่าจะมีสิทธิได้รับเงินตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ หรือไม่ เพียงใด หากเป็นกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการอันมิใช่เนื่องจากเหตุสุดวิสัย ก็ต้องจ่ายร้อยละ ๗๕ ถ้าเป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดจาก ศบค.หรือใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ ก็ไปใช้สิทธิว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ในอัตราร้อยละ ๖๒ ดังนั้น คำถามในข้อนี้จึงตอบฟังธงไม่ได้เนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วนครับแต่แนวข้อกฎหมายก็เป็นไปตามที่ได้อธิบายไปครับ


2. กรณีเรื่องเงินเดือน เนื่องจากเราและแฟนแยกกระเป๋าเงินกัน ทำให้ไม่รู้เลยว่าแฟนได้เงินเดือนไม่ตรงตามสัญญาจ้าง กรณีนี้เราจะทำอย่างไรกับเรื่องที่เงินเดือนได้ไม่ครบ และถูกหักโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างไรได้บ้าง
ตอบ..แน่ใจนะครับว่าได้เงินเดือนไม่ครบตามสัญญา ไม่ใช่ว่าแฟนแอบเม้มไว้นะครับ..แฮ่ ;D ;D (ล้อเล่นครับ) เอาเป็นว่า หากได้เงินค่าจ้างไม่ครบตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ประการแรก ให้สอบถามและทวงถามกับนายจ้างก่อน หากนายจ้างยังไม่จ่าย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) เพื่อสั่งให้นายจ้างจ่าย ซึ่งการดำเนินการในขั้นตอนนี้ก็ไม่ยาก  แต่ที่ทนายกังวลคือ หากดำเเนินการไปแล้วแฟนจะรับแรงกดดันจากนายจ้างไหวหรือไม่ และยังจะทำงานกับนายจ้างอย่างมีความสุขหรือไม่ นี้ต่างหากที่ทนายกังวล ก็ลองตรึกตรองดูนะครับว่าแนวทางใหนจะดีกว่ากัน

3. เรื่องที่ให้เข้าไปทำงาน โดยอาจจะไม่จ่ายเงินเดือนในเดือนนี้ เราสมควรเข้าไปทำหรือไม่ แล้วถ้าเข้าไปแล้วเดือนนี้ไม่ได้รับค่าจ้าง เราสามารถเรียกร้องได้หรือไม่
ตอบ..หากนายจ้างสั่งให้เข้าไปทำงาน ก็ต้องเข้าไปนะครับ มิเช่นนั้น จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หากเกินกว่า ๓ วัน นายจ้างก็เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชยและไม่มีสิทธิได้รับเงินกรณีว่างงานจากประกันสังคมด้วย เพื่อถูกเลิกจ้างเพราะมีความผิดนั่นเอง

คงครบถ้วนนะครับ หากยังสงสัยก็สอบถามเพิ่มเติมได้

ทนายพร.

218
ถามมาเป็นข้อๆ ก็ตอบเป็นข้อๆ ตามที่ถามเลยนะครับ

ถามมาว่า.. ๑.เปลี่ยนสัญญาการจ้างงานมาเป็นแบบชั่วคราวกำหนดเวลา เท่ากับว่าเป็นการเลิกจ้างแบบประจำหรือไม่ และจะได้เงินชดเชยของ6ปีที่ผ่านมาไหม
ตอบ คงไม่ใช่การเลิกจ้างแบบประจำหรอกครับ เพราะนิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงมีตลอด เพียงแต่ว่า เมื่อมาทำสัญญากับแบบมีระยะเวลา หากจะเลิกจ้างโดยอ้างกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็สามารถเลิกจ้างได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามอายุงานอยู่ดี ซึ่งในการนับอายุงาน ก็ต้องนับอายุงานรวม ๖ ปีที่ผ่านมาด้วยครับ

2. ถ้าข้อ1ไม่ได้เงินชดเชยและผมทำงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว และมีการต่อสัญญากันไปเรื่อยๆ สมมุติว่าต่อสัญญาเรื่อยๆมาแล้ว3ปี หากโดนเลิกจ้างหรือไม่จ้างต่อในปีที่4 จะได้เงินชดเชยของ3ปี หรือ 9ปี(รวม6ปีที่เป็นแบบประจำ)ไหม
ตอบ ๙ ปี

3. หรือไม่ต่อสัญญาเลยเช่นสัญญาระบุระยะเวลา6เดือน และเมื่อครบกำหนดบริษัทไม่ทำสัญญาจ้างต่อ จะได้รับเงินชดเชยของ6ปีที่ผ่านมาด้วยไหม
ตอบ ได้รวมอายุงาน ๖ ปีด้วยครับ

คงครบถ้วนนะครับ

ทนายพร.

219
ในการฟ้องคดีนั้น ได้ใช้ทนายความหรือเปล่า หากมีทนายความให้การช่วยเหลือ ก็ให้ทนายความนั่นแหละ ดำเนินการตั้งเรื่องเพื่อบังคับคดี ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามกฎหมาย

แต่ถ้าตกลงว่าจ้างทนายให้ทำแค่ศาลชั้นต้น ก็อาจต้องเขียนคำร้องเองและนำไปยื่นศาล โดยคำร้องที่ว่า ก็คือ "คำร้องขอให้ศาลออกคำบังคับ" และเราก็ไปเสียค่านำส่งหมายที่ฝ่ายการเงินของศาล

เมื่อครบกำหนดตามหมายแล้ว ก็ไปตรวจสอบดูว่า จำเลยนำเงินมาวางศาลหรือไม่ ถ้าไม่นำมาวางศาลหรือไม่มาชำระหนี้ ก็ให้เขียนคำร้องอีกหนึ่งฉบับ เรียกว่า "คำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี" เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ก็ให้ไปติดต่อที่ สำนักงานบังคับคดีในเขตพื้นที่ เพื่อตั้งเรื่องยึดทรัพย์ ซึ่งก็ต้องสืบทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ยึด ถ้าไม่มี ก็ไม่รู้จะยึดอะไร หรือถ้าทำงานในบริษัทเอกสารก็ไปขออายัดเงินเดือน หรืออายัดเงินในบัญชีธนาคาร ก็ว่ากันไป แต่ทั้งนี้ กรณีถ้าทำงานในบริษัทเอกชนต้องมีเงินเดือนเกินกว่า ๒ หมื่นบาทจึงจะอายัดได้นะครับ ส่วนถ้าเป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในการอายัดเงินเดือนครับ

ประมาณนี้

ทนายพร.

220
ปกติ ยาเสพติดประเภท ๕ หากมีปริมาณไม่มากมายเป็นกิโลๆ ศาลมักจะรอการลงโทษครับ แต่คงมีโทษปรับร่วมด้วย


ซึ่งโทษที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ สำหรับยาเสพติดประเภท ๕ กัญชา ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา ๒๖/๒ ประกอบ มาตรา ๗๕ , ๗๖ มีโทษ ๑ ถึง ๑๕ ปี

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

221
ขับรถออกจากซอยมาแล้ว จนรถตั้งตรงเต็มคันแล้ว มีรถมาชนท้าย ถามว่าใครผิด

โห..จะให้ตอบงี้เลยหรา ;D

เอาเป็นว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ กำหนดให้ผู้ขับขี่รถทุกชนิดต้องระมัดระวัง

กรณีที่ถามมา คงตอบไม่ได้ว่าใครผิดใครถูก ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ เช่น ถนนหลัก รถวิ่งมาด้วยความเร็ว แล้วเราออกจากซอยไปโดยไม่ดูให้ดีว่ารถที่ขับมาทางตรงจะเบรคทันหรือไม่ กรณีนี้เราก็มีส่วนผิดด้วยเช่นกัน หรือถ้าออกจากซอยมาในลักษณะตัดหน้ากระทันหัน ก็เหมือนกันครับ


แต่ถ้าไม่ใช่เป็นกรณีข้างต้น เป็นถนนที่ถูกกำหนดความเร็วไว้ตามกฎกระทรวง เช่น ในเมือง ชุมชน หมู่บ้าน ใช้ความเร็วไม่เกิน ๔๐ - ๖๐ กม.ต่อชั่วโมง เราตั้งลำได้เลยมาชนท้ายเรา กรณีอย่างนี้ คงเป็นประมาท

เอาเป็นว่า...พนักงานสอบสวนจะชี้เบื้องต้นเองว่าผู้ใดเป็นฝ่ายประมาท หรืออาจเป็นประมาทร่วมก็เป็นได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

222
โดนจับรอบ ๒ นี่ ศาลมักจะไม่ปราณีนะครับ เพราะถือว่า "ไม่หลาบจำ" ดังนั้น โทษที่ศาลจะลงมักจำลงแบบให้ผู้กระทำผิดหลายจำ นั่นก็คือต้องจำคุกสถานเดียว

เอาเป็นว่า รอบนี้ศาลจะเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง และไม่น่าจะรอลงอาญา

ทั้งนี้ โทษที่จะลงก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาล

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

223
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามค่ะคดียาค่ะ
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 03:04:59 pm »
โดนรอบ ๒ เรื่องใหญ่แล้วล่ะครับ เพราะศาลจะเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง และต้องติดคุกสถานเดียว
และน้ำหนักถือว่าเยอะ

ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ กำหนดโทษไว้ในมาตรา ๑๕ ประกอบ มาตรา ๖๕ , ๖๖ ค้องโทษจำคุก ๔ ปี ถึงตลอดชีวิตครับ

ทั้งนี้ อยู่ที่ดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

224
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามข้อมูล
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 03:00:19 pm »
คำตอบเป็นไปตาม "มโนธรรม" อธิบายไว้เลยครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

225
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: จะสู้ได้ไหมค่ะ
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 02:59:11 pm »
ต้องเข้าใจก่อนว่า ศาลไม่มีอำนาจในการตั้งข้อหาใครนะครับ ศาลมีหน้าที่ตัดสินคดีเท่านั้น

ผู้ที่จะตั้งข้อหาคือพนักงานสอบสวนและอัยการจะเป็นผู้ส่งฟ้องต่อศาล

ดังนั้น ในชั้นจับกุมกับชั้นสอบสวนอาจจะแจ้งข้อหาหนึ่ง แต่เมือสอบสวนแล้วพบว่าปริมาณของสารเสพติดมีจำนวนถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นจำหน่ายก็ต้องเปลี่ยนข้อหาเป็นครอบครอบเพื่อจำหน่าย ตามข้อสันนิฐานของกฎหมายครับ

ส่วนจะต่อสู้ว่าไม่ได้จำหน่ายแต่ยอมรับว่าครอบครอบเพื่อเสพนั้น ทำได้ครับและปัจจุบันก็ใช้แนวทางนี้สู้กันหลุดมานักต่อนักแล้ว ถ้าเจตนาจริงๆจะนำมาเสพ ซึ่งในเรื่องนี้หากจะสู้จะต้องประชุมคดีเพื่อวางแผนในการต่อสู้ล่ะครับ คงอธิบายในที่นี้ไม่หมดแน่

ประมาณนี้ ถ้ายังสงสัยถามเข้ามาใหม่ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 50