27/04/24 - 05:26 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 50
226
ใจเย็นๆครับ โดนจับปริมาณเพียง ๙ เม็ด ไม่ร้ายแรงหรอกครับ

เอาเป็นว่า ถ้าเป็นข้อหาครอบครอบเพื่อเสพ ศาลมักลงโทษจำคุก ๔ ปี รับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือ ๒ ปี ไม่เคยรับโทษ เคยทำคุณงามความดี อาจรอลงอาญา แต่ทั้งนี้ต้องทำคำให้การสวยๆหน่อยนะครับ เช่น สำนึกแล้ว หลงผิดไป โง่เขลาเบาปัญญา มีภาระรับผิดชอบ เป็นต้น

แต่ถ้าข้อเท็จจริงมีว่า ถูกล่อซื้อ กรณีอย่างนี้โทษก็จะต่างออกไป และพนักงานอัยการก็จะฟ้องข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย

หรือถ้าถูกจับตรวจฉี่และเจอฉี่ม่วงพร้อมกับจับได้อีก ๙ เม็ด อันนี้ จะถูกบวกโทษจากเดิม อีก ๑ ใน ๓ ของโทษตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ ประกอบ มาตรา ๖๕ , ๖๖ ละครับ

แต่ถ้าเพียงซื้อมาเสพก็เป็นไปตามที่อธิบายไว้ตอนต้นครับ แต่อย่าลืมนำเงินไปจ่ายค่าปรับด้วยนะครับ ถ้าไม่มีเงินไปจ่ายค่าปรับก็จะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับในอัตราวันละ ๕๐๐ บาท

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

227
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ครอบครองเพื่อเสพ
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 02:46:27 pm »
โดนจับรอบ ๒ แต่โทษเก่าเกินกว่า ๕ ปีแล้ว

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าพนักงานอัยการฟ้องข้อหาใด ครอบครองเพื่อเสพ หรือ ขับเสพ เพราะโทษไม่เหมือนกัน ถ้าขับเสพจะได้รับโทษตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๓  ทวิ ต้องรับโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ อีก ๑ ใน ๓

แต่วิเคราะห์แล้ว หากจับยา ๕ เม็ด ไม่เกิน ๑๕ หน่วยการใช้ ถือว่าครอบครองเพื่อเสพจะได้รับโทษ ๑ ถึง ๑๐ ปี แต่โดยปกติศาลจะลงไม่เกิน ๔ ปี คงรอลงอาญาครับ แต่ทั้งนี้ต้องให้ทนายความทำคำให้การสวยๆหน่อยนะครับ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลนะครับ

ขอให้โชคดีนะครับ และอย่าหวลกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกนะครับ

ทนายพร.

228
โห ..เข้ามาตอบช้า ซึ่งคำตอบก็น่าจะชัดเจนแล้วมั๊ง และไม่แน่ใจว่า เครสนี้ ได้ถามมาทางโทรศัทพ์แล้วมั๊ง 

เอาเป็นว่า หากใครที่มีปัญหาเร่งด่วนและต้องการคำตอบ ให้โทรมาถาม หรือจะส่ง E-mail มาถามได้ที่ pornnarai2516@gmail.com ทนายจะเปิดเมล์ตอบทุกวัน

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าจะย้ายไปสาขาหรือย้ายข้ามจังหวัด หากการย้ายนั้นทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไป เรามีสิทธิที่จะแจ้งนายจ้างว่าเราไม่ประสงค์จะย้ายตามไป และขอรับเงินค่าชดเชยตามอายุงาน ซึ่งเมื่อได้แจ้งไปแล้ว และนายจ้างได้ย้ายไปแล้วเราก็ไม่ต้องตามไป หากนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยภายใน ๗ วัน ก็เอาสำเนาหนังสือเรื่องย้ายสถานประกอบกิจการและหนังสือของเราที่ไม่ประสงค์จะตามไป ไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในพื้นทีที่เราทำงานอยู่ เพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยให้เราต่อไปครับ

ซึ่งเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการ มีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๒๐ แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

สถานการณ์เป็นเช่นไร บอกเล่ามาให้ทนายฟังหน่อยก็ดีนะครับ

ทนายพร.

229
ถามมาเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า วันพักร้อน

เอาเป็นว่า กฎหมายวางหลักไว้ว่า วัน "พักร้อน" เป็น "วันหยุด" และกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดว่าจะให้ลูกจ้างหยุดวันใหนบ้าง ซึ่งปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า ๖ วัน หรือนายจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างเป็นผู้กำหนดก็ได้ว่าจะหยุดวันใหน โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน เช่นนี้ก็ทำได้

นอกจากนี้ กฏหมายยังกำหนดต่อไปว่า ให้นายจ้าง-ลูกจ้าง ตกลงกันว่า จะให้สะสมไป หรือ จ่ายเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างแทน ถ้าตกลงจ่ายเป็นเงินก็จ่ายกันซะให้เรียบร้อยตอนสิ้นปี หรือถ้าจะสะสมก็ จดๆไว้ว่า สะสมไปกี่วัน

และที่สำคัญไม่มีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างหักหรือลบล้างวันหยุดพักร้อนของลูกจ้างไปทั้งหมด หมายความว่า นายจ้างจะตัดวันพักร้อนเราไม่ได้

ดังนั้น ที่ถามมาว่า..ถ้าเราใช้พักร้อนไม่หมด เราสามารถขอคืนเงินตามกฏหมายแรงงานได้ไหมคะ หรือสามารถให้บริษัทสะสมวันลาพักร้อนได้ไหมคะ  ถ้ากรณีวันลาพักร้อนเหลือค่ะ? ก็ตอบว่า ไปคุยกับนายจ้างให้ชัดแจ้งว่าจะให้เราสะสมวันหยุดหรือจะจ่ายเป็นเงิน ถ้านายจ้างไม่ให้สะสมและไม่จ่ายเป็นเงินก็ไม่ต้องโมโหกระฟัดกระเฟียดนะครับ แต่ให้จดบันทึกไว้ว่า วันพักร้อนเราในแต่ละปีเหลือกี่วัน เมื่อถึงวันที่เราพ้นสถาพการเป็นพนักงาน ไม่ว่าจะลาออก หรือถูกเลิกจ้าง ก็ให้ทวงถามนายจ้างให้จ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างของเราในวันพักร้อนที่สะสมหรือที่ตัดเราไปทุกปี  ซึ่งยังงัยก็ได้เงินอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะได้ช้าได้เร็วเท่านั้น ดีซะอีก ถ้าได้ในปีหลังๆ เรามีค่าจ้างเยอะขึ้น เงินที่จะได้ก็มากขึ้นไปด้วย

ส่วนที่ถามมาในข้อ ๒ ก็ได้อธิบายและตอบไปพร้อมแล้วในข้อแรก ;D

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

230
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: จะต่อสุ้คดี
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 02:07:58 pm »
ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลักทรัพย์ แล้วถามว่าจะสู้คดีพ้นมั๊ย?

ก่อนอื่น ต้องตอบตัวเองก่อนว่า  เราทำจริงมั๊ย?

ถ้าเราไม่ได้ทำ ก็ต้องสู้คดีล่ะครับ ไม่มีทางเลือกอื่น

ซึ่งข้อต่อสู้มีมากมาย เช่น ประเด็นถิ่นที่อยู่ โดยหาพยานมายืนยันว่า ขณะเกิดเหตุเราทำอะไรอยู่ที่ใหน หรือปฎิเสธว่าบุคคลในภาพ มิใช่เรา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายกับบัคคลในภาพนั้น เราไม่มี อย่างนี้เป็นต้น

เรื่องอย่างนี้ ต้องมีการประชุมคดีและวางแผนการต่อสู้อย่างรัดกุมครับ

ส่วนประเด็นเคยต้องคดีเช่นนี้มาก่อน ก็ไม่ใช่ข้อยุติว่า คนเคยทำผิดจะเป็นผู้ผิดตลอดไป คนเราเปลี่ยนกันได้ครับ มิเช่นนั้น คนร้ายก็เต็มประเทศแล้วมั๊ง

เอาเป็นว่า หากพนักงานสอบสวนมีหมายเรียกมา ก็ให้รีบไป เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ แต่ถ้าเราไม่ไปตามหมายเรียก อาจจะถูกออกหมายจับได้นะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

231
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: มีข้อสงสัยครับ
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 02:02:13 pm »
ดีแล้วที่ไม่เกิดเหตุอะไร และเครียร์กันได้

หากเป็นความสมัครใจที่จะทะเลาะวิวาท ตำรวจจะเรียกทั้งสองฝ่ายไปเสียค่าครับ ฐานสมัครใจทะเลาะวิวาท โทษปรับ ๕ พัน ตามมาตราที่ มโนธรรม บอกนั้น ถูกต้องแล้ว

ทนายพร.

232
ลาออกก่อนกำหนด แล้วนายจ้างหักค่าคอมมิชชั่น ตามข้อตกลงในสัญญา แล้วถามว่า จะทำอย่างไร?

ก็ตอบว่า เท่าที่ดูจากข้อความแล้ว คงต้องพิจารณาว่า "ค่าคอมฯ" กับ  "ค่าเสียหาย" อย่างใดมากน้อยกว่ากัน

หากเรามีสิทธิได้ค่าคอมฯเยอะกว่าค่าเสียหายที่ต้องเสียตามสัญญาคือเงินเดือนเต็มเดือน ๑ เดือน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องศาลเพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าคอมฯ แต่ทั้งนี้ ในการจ่ายค่าคอมฯต้องไม่มีเงื่อนไขว่า จะจ่ายค่าคอมให้เฉพาะผู้ที่ยังมีสถานะการเป็นพนักงานอยู่นะครับ ถ้ามีข้อความนี้ เคยมีแนวคำพิพากษาศาลฏีกาว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายให้

ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อฟ้องศาลไป นายจ้างก็ต้องฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายและเอาไปหักลยกลบหนี้ได้

ดังนั้น ให้พิจารณาถึงความคุ้มค่า เพราะถ้าต้องฟ้องศาลและต้องจ้างทนายความในการให้ความช่วยเหลือ ก็หลายหมื่นอยู่นะครับ

ส่วนข้อความสละสิทธิว่าจะไม่เรียกร้องหรือผลประโยชน์นั้น เป็นข้อตกลงในเรื่องอนาคตไม่มีผลผูกมัด เว้นแต่ว่า ในหนังสือลาออก หรือเราไปทำหนังสือแยกต่างหากว่าขอสละสิทธิฟ้องร้อง กรณีเช่นนี้บังคับกันได้ตามข้อสัญญาครับ

ประมาณนี้ หากสงสัยถามเข้ามาใหม่ได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

233
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ยาเสพติด
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 01:47:39 pm »
โดนรอบ ๒ ในทางคดีถือว่า "ไม่หลาบจำ"

รอบนี้คงโดนจำคุกนะครับ และจะต้องเพิ่มโทษที่จะลงอีก กึ่งหนึ่งครับ

หลุดรอดรอบนี้ ขอให้ห่างจากยาเสพติดเลยนะครับ

มิเช่นนั้น ติดยาวครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

234
อัยะๆๆๆ...ถามเหมือนจะหนีนี้นะเนี๊ยะ ;D ;D ;D

เอาเป็นว่าถ้าเป็นหนี้นายจ้าง ก็ควรหาเงินมาคืนนายจ้างตามหน้าที่นะครับ

ส่วนจะไปหักลบกลบหนี้ได้หรือไม่ ก็ต้องดูยอดเงินแต่ละยอดว่าพอๆกันมั๊ย หากพอๆกันก็ควรจะบอกกัน คุยกันดีๆแล้วจากกันด้วยดีครับ

อาจจะบอกว่า "นายครับ ผมจะกลับไปทำไรไถนาที่บ้าน ผมไม่อยากทำงานแล้ว เอาเป็นว่า ที่นายเลิกจ้างผม เอาค่าชดเชยที่ผมควรได้รับไปหักหนี้กับเงินที่ผมยืมนายมานะครับ เหลือเท่าใหร่ หากผมถูกหวยแล้วผมจะนำมาคืนให้นะครับนาย...แฮ่" ;D   ถ้านายจ้างโอเค ก็ดีไป ถ้าไม่โอเค ก็หามาคืนเค้านะครับ

แต่เท่าที่อ่านและดูเจตนาแล้วเครสนี้ก็ถือว่านายจ้างเป็นคนดีอยู่ในระดับหนึ่งเลยนะครับ ที่ให้ลูกจ้างไปรับเงินว่างงานจากประกันสังคม แต่ยังจะให้ลูกจ้างทำงานต่อไปหากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

ให้กำลังใจทั้งสองฝ่ายครับ

ทนายพร.

235
ดูแล้วมียาเกินกว่า ๑๐๐ เม็ด และมีไอซ์ด้วย เอาเป็นว่า ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ กำหนดโทษไว้โดยคำนวณจากสารบริสุทธิ์ที่ครอบครอง (ต้องนำยาไปสกัดเป็นสารบริสุทธิ์เสียก่อน) ได้เท่าใหร่ก็ไปเทียบดูกับกฎหมายข้างต้น หากคำนวณเป็นสารบบริสุทธิ์แล้วไม่เกิน ๐.๓๗๕ กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษ ๔ ปี ถึง ๑๕ ปี

แต่ถ้าสกัดออกมาแล้วอยู่ในระหว่าง ๐.๓๗๕ ถึง ๒๐ กรัม โทษ ๔ ปี ถึง ตลอดชีวิต

แต่ถ้าสกัดออกมาแล้วเกินกว่า ๒๐ กรัม โทษ ตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับโทษตลอดชีวิตก็จะปรับเป็น ๕๐ ปี ครับ

ส่วนติดจริง ก็คงไม่ถึงแต่ก็คงหลายปีอยู่นะครับ ถึงแม้จะรับสารภาพก็ตาม อย่างไรก็ตามโทษที่จะลงนั้นอยู่ที่ดุลพินิจของศาลนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

236
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ยาไอซ์
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 12:29:06 pm »
โดนจับยาไอซ์  ๐.๗ กรัม แล้วถามว่า จะติดคุกมั๊ย? รถจะถูกยึดมั๊ย?

ก็ตอบว่า ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ กำหนดโทษไว้โดยคำนวณจากสารบริสุทธิ์ที่ครอบครอง (ต้องนำยาไปสกัดเป็นสารบริสุทธิ์เสียก่อน) ได้เท่าใหร่ก็ไปเทียบดูกับกฎหมายข้างต้น หากคำนวณเป็นสารบบริสุทธิ์แล้วไม่เกิน ๐.๓๗๕ กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษ ๔ ปี ถึง ๑๕ ปี

แต่ถ้าสกัดออกมาแล้วอยู่ในระหว่าง ๐.๓๗๕ ถึง ๒๐ กรัม โทษ ๔ ปี ถึง ตลอดชีวิต

แต่ถ้าสกัดออกมาแล้วเกินกว่า ๒๐ กรัม โทษ ตลอดชีวิต

ส่วนรถนั้น หากพนักงานอัยการมีคำขอในคำฟ้องขอให้ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน ก็ต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ทรัพย์ที่ได้มานั้น มิได้เกิดจากการนำเงินที่ได้จากการขายยามาซ์้อ ก็คงต้องหาพยานหลักฐานมาสู้กันในชั้นศาลล่ะครับ หรือหากพนักงานอัยการไม่ได้สั่งริบหรืออายัด เพราะเห็นว่าไม่ใช่ทรัพย์ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำผิด ก็ให้เอาหลักฐานใบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถไปยื่นเรื่องขอรับรถคืนได้เลยครับ

ทนายพร.

237
อ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจครับ 

เอาเป็นว่า ตอบตามคำถามที่ถามมาเลยนะครับ

ถามว่า 1. เครสของนู่นี่จะใช้เวลาอีกประมานเท่าไหร่คะ. คำสั่งจ่ายครบไปเมื่อวันที่26 มิถุนายน2563?
ตอบ..โดยปกติหากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (นายจ้างหรือลูกจ้าง)ไม่พอใจคำสั่ง ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ย้ำ นับแต่ วันที่ได้รับคำสั่ง ดังนั้น ในเครสนี้ จะต้องดูว่า นายจ้างได้รับคำสั่งเมื่อวันที่เท่าใด โดยขอให้พนักงานตรวจแรงงานดู "ใบตอบรับ" ว่านายจ้างได้รับวันที่เท่าใหร่ แล้ว บวกไปอีก ๓๐ วัน นั่นคือวันที่ครบกำหนดที่มีสิทธิที่จะยื่นเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน หากไม่ยื่นฟ้องก็ถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว เราก็ไปหาพนักงานตรวจแรงงานอีกครั้ง เพื่อยื่นยันให้พนักงานตรวจแรงงาน ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับนายจ้างที่ไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง ซึ่งมีโทษติดคุกนะครับ
ส่วนในการบังคับคดีก็มี ๒ ทางเลือก คือ ๑ เราเอาคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน + สำเนาใบตอบรับ ไปยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อได้คำพิพากษาแล้ว ก็รอให้พ้น ๑๕ วัน (๑๕ วัน คือสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ในคดีแรงงาน) เมื่อพ้นระยะเวลาแล้ว ก็ให้ไปตรวจสำนวนของศาลดูว่า จำเลยยื่นอุทธรณ์มั๊ย ถ้าไม่ยื่นก็ตรวจดูหรือจะถามเจ้าหน้าที่ก็ได้ว่า คดีนี้ได้ "ออกคำบังคับ" แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ออก ก็จัดการยื่นคำร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้นายจ้างปฎิบัติตามคำพิพากษา หรือถ้าออกคำบังคับแล้ว ก็ยื่นคำร้อง "ขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี" เพื่อส่งเรื่องไปยังกรมบังคับคดี ยึดทรัพย์สินของนายจ้างนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้ต่อไป...หูยยย..ยาวววเน๊อะ...

2.ทางพนักงานบอกว่าต้องรอส่งเรื่องต่อให้. นิติกร. นิติกร. คือใครหรอค่ะ. คือนุ่ไม่รุ้อะไรเลยหนะคะ
ตอบ..นิติกร คือเจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) ให้ดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นละครับ

3.นู่ไม่สามารถนำคำร้องนี่ไปยื่นต่อศาลด้วยตนเองได้หรอค่ะ. ทางพนักงานแจ้งว่า. นุ้เลือกที่จะสิทธิกับทางกรมแล้ว. ต้องใช้อย่างใดอย่างนึง
ตอบ...ทางเลือกนั้นมีแน่ ทนายเข้าใจว่า ที่เจ้าหน้าที่แนะนำนั้น คือหลังจากที่พนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องแล้ว หรือเรียกว่าตอนตั้งต้นเรื่อง ซึ่งต้องเลือกว่าจะใช้สิทธิทางพนักงานตรวจแรงงาน หรือจะไปใช้สิทธิฟ้องศาลโดยตรง ซึ่งต้องเลิกทางใดทางหนึ่ง แต่หลังจากที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้ว ก็อยู่ที่เราจะเลือกว่า จะรอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอน โดยใช้คดีอาญามาบีบนายจ้างให้จ่ายเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่ง หรือเราจะนำคำสั่งนั้นไปฟ้องศาลเอง ตามที่ได้อธิบายไปในข้อ ๑  เห็นมั๊ย...ทางเลือกย่อมมีเสมอ..

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

238
ผู้ถามเครสนี้ น่าจะถูกฟ้องคดีอาญา และอยู่ในระหว่างประกันตัว

เอาเป็นว่า เมื่อศาลนัดให้ไปรายงานตัว ก็ต้องไปครับ ไม่ไปนายประกันอาจถูกปรับ และตัวเราอาจจะถูกออกหมายจับได้ ฐานหนี้ประกันนะครับ

ส่วนจะเป็นฝากขังหรือให้คำให้การ ถ้าให้ทนายเดานะ เครสนี้ พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลไปแล้ว และจำเลยขอประกันตัวออกมาสู้คดี พอนัดต่อไปจะเรียกว่านัดคุ้มครองสิทธิ์ (คดีอาญา) หรือนัดไกล่เกลี่ย (คดีแพ่ง) ก็จะเป็นการถามแนวทางการต่อสู้ ซึ่งหากจะต่อสู้ก็ให้การต่อสู้ไป โดยจะยื่นคำให้การในวันนั้น หรือรอให้ศาลกำหนด "นัดพร้อมหรือนัดตรวจพยานหลักฐาน" แล้วค่อยยื่นก็ยังทัน

ดังนั้น จากการวิเคราะห์ไม่น่าจะเป็นฝากขังครับ

ทนายพร.

239
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ถูกเลิกจ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 11:49:56 am »
ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านที่ตั้งคำถามไว้ แล้วทนายเข้ามาตอบช้านะครับ เนื่องจากขณะนี้คนงานถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้คดีแรงงานในแต่ละศาลมากขึ้นเช่นกัน และศาลได้เปิดพิจารณาคดีตามปกติแล้ว คดีที่เคยค้างการพิจารณาจากเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ก็จะมาถั่งโถมเอาในช่วงนี้ ทนายเลยต้องมีภารกิจต้องไปทำคดีในทุกวัน จึงขออภัยมา ณ นี้นี้

เอาล่ะ ออกตัวกันแล้ว ก็มาตอบคำถามกันเลย

เครสนี้ ถามมา ๓ คำถาม
1.บริษัทมีเจตนาในการไม่เซ็นสัญญากับพนักงานตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่เพราะปกติมีมีการเซ็นทุกปี
2.หนังสือยกเลิกการจ้างงานกับหนังสือเลิกจ้าง เหมือนกันไม ถ้าเซ็นไปจะมีผลกระทบอะไรไม
3.ถ้าทางนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ก่อนที่ทนายจะตอบ ขอทำความเข้าใจก่อนว่า โดยกฎหมายในการทำสัญญาจ้างแรงงานมีอยู่หลักๆ ๒ ประเภท คือ ประเภทไม่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน และประเภทที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน แต่ทั้งสองประเภทที่กล่าวมา หากเลิกจ้างก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ เช่น กัน เว้นแต่จะเป็นงานที่ได้รับการยกเว้น เช่น งานตามโครงการ งานฤดูกาล อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเดิมเป็นสัญญาจ้างที่ "กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่แน่นอน" แล้วนายจ้างไม่ทำสัญญาหรือไม่เอาสัญญาฉบับใหม่มาให้เซ็นต์ ก็ไม่ต้องตกใจหรือไปทวงถามแต่อย่างใด เมื่อนายจ้างไม่นำสัญญามาให้เซ็นต์ต่อ ก็จะกลายเป็น "สัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด" เมื่อจะเลิกจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ทราบตามกฎหมายก่อน แต่ถ้าเป็นสัญญาที่กำหนดที่ชัดเจนแล้ว เมื่อครบสัญญานายจ้างก็ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะรู้อยู่แล้วในสัญญาว่าสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้น สรุปเลยว่า หากไม่เอามาให้เซ็นต์ก็จงดีใจ และไปฉลองได้ เย้ๆๆ

เอาละ มาที่คำถาม
ถามว่า ๑.บริษัทมีเจตนาในการไม่เซ็นสัญญากับพนักงานตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่เพราะปกติมีมีการเซ็นทุกปี
ตอบ..ได้อธิบายไปแล้วตอนต้น การที่นายจ้างไม่นำสัญญามาให้เซ็นต์เป็นผลดีกับเรามากกว่าครับ

2.หนังสือยกเลิกการจ้างงานกับหนังสือเลิกจ้าง เหมือนกันไม ถ้าเซ็นไปจะมีผลกระทบอะไรไม
ตอบ..เหมือนกันคือ เราจะไม่ได้ทำงาน ต่างกันก็คือ หากเลิกจ้างอาจมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ได้ ต้องดูที่เนื้อหาในหนังสือ ซึ่งในการเลิกจ้างนั้น นายจ้างต้องแจ้งเหตุแห่งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบด้วย หากไม่แจ้ง จะยกเหตุอื่นมาเพื่อไม่จ่ายเงินค่าชดเชยในภายหลังไม่ได้ครับ
แต่ถ้าถามว่า "เลิกจ้าง" กับ "ลาออก" มีผลกระทบอย่างไร นั้น ถ้าเกี่ยวกับเงินว่างงาน ลาออกจะได้ร้อยละ ๓๐ ไม่เกิน ๓ เดือน ถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดหรือที่ประกันสังคมใส่รหัส R3 ก็จะได้ร้อยละ ๕๐ ไม่เกิน ๖ เดือน เว้นแต่เหตุ Covid จะได้ร้อยละ ๖๒ นะครับ


3.ถ้าทางนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ตอบ..ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือในพื้นที่ที่เราทำงานอยู่ ซึ่งหลังจากพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยให้เราต่อไป ไม่ยากครับ ไปยื่นได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ

อนึ่ง หากไปขอรับเงินว่างงานแล้ว ประกันสังคมไม่จ่ายให้ ก็ต้องไปรายงานตัวให้ครบ ๖ ครั้งนะครับ แล้วไปใช้สิทธิฟ้องต่อศาลต่อไป หรือตอนไปยื่นคำร้องก็ขอให้พนักงานตรวจแรงงานโทรประสานให้นายจ้างไปแก้ไขข้อมูลการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนให้ถูกต้องซะ ถ้าดื้อดึงหรือไม่ไปอาจต้องบอกว่า เราอาจไปใช้สิทธิฟ้องศาลเป็นคดีอาญา ข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ ซึ่งมีโทษจำคุกด้วย

คงครบถ้วนและประมาณนี้ หากสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

240
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: บริษัท ให้ย้ายบริษัท
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2020, 02:07:14 pm »
ทนายอ่านข้อความในข้อ ๔ แล้ว ข้อความส่วนใหญ่ ไม่เป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจในการบริหารจัดการของนายจ้าง ซึ่งกระทำได้ เว้นแต่ ข้อความที่ว่า "สถานที่ทำการเครือข่ายของบริษัท" ที่ดูเสมือนว่า จะเป็นการเขียนที่เกินเลยกว่ากฎหมายให้อำนาจไว้

ซึ่งกฎหมายวางหลักในเรื่องนี้ไว้ว่า หากเป็นการย้ายภายในสถานประกอบการ เช่นย้ายแผนก/ฝ่าย, ย้ายไปทำงานสาขา  หากไม่เป็นการลดตำแหน่ง ลดเงินเดือน กรณีอย่างนี้ไม่ต้องให้ลูกจ้างยินยอม เพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการของนายจ้าง

แต่ถ้าเป็นการย้ายไปบริษัทในเครือ กรณีอย่างนี้ ย้ายไม่ได้ หากลูกจ้างไม่ยินยอม

ซึ่งในกรณีของผู้ถามนี้ จะถือว่า ยินยอมแล้วหรือไม่  เห็นว่า ในการให้ความยินยอมนั้น จะต้องให้ความยินยอมในขณะที่มีคำสั่งย้ายหรือแจ้งการย้าย มิใช่ให้ความยินยอมในลักษณะลอยๆ ไว้เช่นนี้  ดังนั้น หากเป็นคำสั่งให้ไปทำงานในบริษัทในเครือโดยที่เราไม่ยินยอม จึงเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง จึงถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบตามกฎหมายครับ

ประมาณนี้ครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 50