19/04/24 - 23:10 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 50
31
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ถามมาว่า...1. กรณีแบบนี้นับเป็นความผิดร้ายแรงที่สามารถทำให้ถูกเลิกจ้างโดยไม่ต้องให้ใบเตือนได้หรือไม่
ตอบ เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันเกินกว่า ๓ วัน ถือเป็นเหตุที่สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยครับ

2. กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างท่านนั้นหรือไม่ ถ้าต้องจ่ายจะต้องจ่ายตามปีที่ลูกจ้างทำงานตามกฎหมายกำหนดหรือมีค่าปรับอะไรบ้างคะ
ตอบ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากข้อเท็จจริงมีว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วันทำงานติดต่อกัน เว้นแต่การขาดงานนั้นจะมีเหตุผลอันสมควรครับ ส่วนหากต้องจ่ายก็ไปดูมาตรา ๑๑๘ ซึ่งกำหนดค่าชดเชยตามอายุงานที่ลูกจ้างทำงานมาครับ

3. นายจ้างได้เข้าพบสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าพนักงานไม่ได้มีเจตนา ซึ่งคนที่ทำคือแฟนของพนักงาน และการกระทำแบบนี้ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ในทางของกฏหมายคิดว่ายังไงนายจ้างก็แพ้ อันนี้เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบ หากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่น หากเห็นว่าไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องก็สามารถที่จะอุทธรณ์คำสั่งโดยยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งต่อศาลแรงงานได้ครับ

อนึ่ง หากข้อเท็จจริงมีว่า ลูกจ้างไม่ได้ละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วัน แต่เป็นกรณีที่นายจ้างแจ้งลูกจ้างให้เข้ามาเครียร์แล้วลูกจ้างไม่เข้ามาตามคำสั่ง กรณีเช่นนี้คำตอบก็จะแตกต่างออกไปนะครับ หากเลิกจ้างโดยไม่มีการตักเตือนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว  ถือว่าเป็นการลงโทษผิดขั้นตอน อาจต้องจ่ายเงินค่าชดเชยนะครับ

ทนายพร.
[/color]

32
ปัญหาเรื่องเงินๆทองๆนี้ไม่เข้าใครออกใครนะครับ

หากเห็นว่านิติบุคคลบริหารงานไม่เป็นไปตามที่เราต้องการก็ให้หาวิธีที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงโดยการสมัตรเข้าเป็นกรรมการบริหารนิติบุคคลเองก็ได้

ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.๒๕๔๓ ได้กำหนดให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องมี "ข้อบังคับ" ของหมู่บ้านจัดสรรด้วย ซึ่งทุกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก็ต้องมีข้อบังคับแน่นอน ดังนั้น ในลำดับแรกให้ไปขอดูข้อบังคับก่อน ว่าสิทธิหน้าที่ของสมาชิกมีอะไรบ้าง แน่นอนว่าสิทธิของสมาชิกสามารถตรวจสอบบัญชีของนิติบุคคลได้ ส่วนจะไปบังคับให้นิติบุคคลให้ออกประกาศหรือรายละเอียดรายรับรายจ่ายได้หรือไม่นั้น ก็ให้ดูข้อบังคับนั้นๆครับ ซึ่งทนายแนะนำว่า หากเราติดใจก็แจ้งไปที่กรรมการว่าเราจะขอตรวจสอบบัญชี ทั้งรายรับ-รายจ่าย หลักฐานต่างๆ สมุดบัญชีรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท เพื่อดูว่าเงินที่ได้รับมานั้นถูกต้องหรือไม่ อย่าไปบังคับกรรมการให้ต้องออกประกาศตามที่เราขอเลยครับ แต่เข้าไปตรวจสอบเองน่าจะดีกว่าครับ

ทนายพร.

33
อื้อหืออออ...ใจร้ายจัง

การโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน เป็นอำนาจการบริหารจัดการของฝ่ายนายจ้าง

แต่การโยกย้ายดังกล่าวนั้น จะต้องไม่ลดคุณค่า หรือไม่ด้อยไปกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า "ต้องเป็นคุณ" เว้นแต่เป็นงาน "วิชาชีพเฉพาะ" และได้ได้สมัครงานในวิชาชีพเฉพาะนั้นตั้งแต่ต้น นายจ้างจะโยกย้ายไม่ได้เลย เว้นแต่....เราจะยินยอม

ดังนั้น ให้พิจารณาว่าในตำแหน่งที่เราทำงานนั้น เป็นงานวิชาชีพหรือไม่ หากไม่ใช่ งานเดิมเราทำงานอะไร และที่จะย้ายไปนั้น เป็นงานอะไร หากระดับงานที่เท่ากันนั้น นายจ้างสามารถสั่งให้เราไปทำงานได้ แต่ถ้าลดต่ำกว่าเดิม เราสามารถที่จะปฎิเสธได้ แต่ก็อาจจะอยู่ยากอีกนั่นแหละ เพราะนายจ้างก็อาจจะให้หนังสือตักเตือนเราได้ฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง หากเรายังดื้อดึงก็คงถูกเลิกจ้างฐานผิดซ้ำคำเตือน ประมาณนี้

ข้อแนะนำ ก็อาจจะต้องคุยกับนายจ้างดู หากยังยืนยันว่าจะให้เราย้ายไป และเรายังอยากทำงานต่อไป ก็อยากจะให้ลองไปทำดูก่อน คิดซะว่างานดังกล่าวนั้น นายจ้างเค้ามองเห็นความสามารถของเราว่าเราจะทำงานนี้ได้ดี จึงได้มอบหมายงานนี้ให้เราทำ ก็ทำด้วยความสนุกก็จะทำให้ชีวิตจิตใจดีขึ้นเองล่ะครับ

หรือถ้าไม่ไหว...อาจจะต้องคุยเรื่องเงินค่าชดเชยหรือเงินช่วยเหลืออะไรประมาณนั้นแหละครับ..

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

34
การจะกลับเข้าไปเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจภายหลังจากถูกไล่ออกนั้น หากพิจารณาตาม พ.ร.บ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๙ นั้น ต้องบอกว่า ก็มีโอกาสอยู่ครับ ทั้งนี้ต้องไปดูข้อบังคับ/กฎ ระเบียบของหน่วยงานนั้นๆว่า ได้กำหนดคุณสมบัติพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่าอย่างไร

ซึ่งมาตรา ๙ กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามในการจะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ใน (๘) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เพราะทุจริตต่อหน้าที่

ดังนั้น หากคุณไม่ได้ถูกให้ออกเพราะทุจริต ก็ยังมีโอกาส แต่ถ้าเกิดจากเหตุทุจริต ก็หางานเอกชนทำได้เลยครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

35
การรอลงอาญา มีเจตนาเพื่อให้จำเลยได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีของสังคม หากจำเลยยังไม่สำนึกและไปกระทำผิดซ้ำอีก ในครั้งหลังศาลมักจะไม่ปราณี นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ศาลต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ต้องหาอีก "กึ่งหนึ่ง" ด้วย เพื่อให้จำเลยหลาบจำไม่ไปกระทำความผิดอีก

ดัวนั้น ตามที่ถามมาว่าจะมีโอกาสรอการลงโทษอีกหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า มีโอกาสน้อยครับ ส่วนจะถูกลงโทษเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาลตามการต่อสู้ของจำเลย หากรับสารภาพ ก็ติดน้อย หากสู้ ก็ติดนาน อะไรประมาณนี้ล่ะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

36
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนรถชนมาคะ
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2022, 10:09:16 pm »
ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรเลยในตอนนี้ ให้แจ้งโรงพยาบาลว่า ให้ต่อสิทธิประกันสังคมเลยครับ

อย่างไรก็ตาม ต้องไปใช้สิทธิในโรงพยาบาลได้เราได้เลือกไว้นะครับ

หากเป็นกรณีฉุกเฉิน สามารถเข้าได้ทุกแห่ง ภายใน ๗๒ ชั่วโมง แล้วให้โรงพยาบาลนั้นๆ แจ้งให้โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ส่งรถมารับเพือรักษาต่อไปครับ

ขอให้หายเร็วๆนะครับ

ทนายพร.

37
ไม่ว่าในสัญญาจะเขียนผูกมัดว่าอย่างไรก็ตาม หากขัดต่อกฎหมายก็ถือเป็นโมฆะ ครับ

ส่วนที่ถามมาก็ตอบตามคำถามเลยนะครับ..

ถามว่า
ถ้าไม่อยากย้ายไปทำบริษัทในเครือ
1. สามารถแจ้งบริษัทว่าไม่เต็มใจย้าย แล้วจะได้ค่าชดเชยมั๊ย
ตอบ หากไม่อยากย้ายก็แจ้งไปว่าไม่ยินยอมย้าย ตามมาตรา ๑๓ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน โดยแจ้งเป็นหนังสือ และมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘

2. ถ้าไม่ได้ สามารถออกได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วันหรือไม่
ตอบ ดูข้อ ๑ ครับ

ทนายพร.

38
ตอบสั้นๆ ว่า เป็นครับ
ให้ใช้สิทธิ์กองทุนเงินทดแทนเลยครับ
ทนายพร.

39
เมื่อกฎหมายกำหนดให้พืชกระท่อม ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป กฎหมายให้ถือว่าโทษที่เคยได้รับนั้น ให้เสมือนไม่เคยได้รับโทษดังกล่าว
ดังนั้น ตามที่ถามไม่เป็นปัญหาครับ ตัดชุดรอได้เลยครับ

ทนายพร.

40
โดนคดีในระหว่างที่ศาลมีคำพิพากษารอลงอาญา
โอกาสในรอบนี้มีไม่มากแล้วนะครับ หากจะลุ้นก็ควรทำคำให้การสวยๆเลย โดยยกเหตุความจำเป็น ภาระความรับผิดชอบ หรืออะไรก็แล้วแต่เพื่อให้ศาลเห็นใจ และที่สำคัญก็รับสารภาพซะหากว่าทำความผิดจริง ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ศาลจะใช้ดุลพินิจรอลงอาญาได้
แต่อย่างไรก็ตาม หากกระทำความผิดซ้ำนั้น กฎหมายกำหนดให้เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งนะครับ
ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร.

41
ไปสอบเลยครับ อย่าไปกังวลในเรื่องแค่นี้

เมื่อกฎหมายใหม่ระบุว่าไม่เป็นความผิดแล้วก็สบายใจได้

เอาว่าขอให้สอบผ่านทั้งข้อเขียนและสมรรถนะร่างกายก็แล้วกันครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

42
โดน ๕๐๐ เม็ด คงต้องโดนข้อหา ครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกข้อหาหนึ่งแน่  แต่ต้องนำยาเสพติดนั้นไปสกัดหาสารบริสุทธิอีกครั้งเพื่อดูว่ามีสารบริสุทธิอยู่เท่าใด เพราะสมัยนี้ยาบ้าปลอมก็มีมากนะ

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาโทษตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๖๕ ได้ระบุโทษไว้ว่า... ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต
มาตรา ๑๕ ระบุว่า..ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ..

แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดโทษนั้น เป็นดุลพินิจของศาลและพฤติการณ์แห่งคดีนะครับ หากทำผิดจริงรับสารภาพก็มีเหตุบรรเทาโทษ ถ้าสู้ก็ติดเต็มหรือไม่ติดเลย ต้องพิจารณาให้ดีนะครับ

ทนายพร.

43
การที่จะรอลงอาญาหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบหลายส่วน โดยเฉพาะอย่างอย่างการเขียนอุทธรณ์ ว่าจะเขียนในแนวใหน แน่นอนว่าหลักเกณฑ์ของศาลคือคำพิพากษานั้นต้องจำคุกไม่เกิน ๕ ปี ก็มีสิทธ์ รอลงอาญาครับ

ซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ที่บัญญัติว่า

ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้น ศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น

(๑) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ

(๒) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ

(๓) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้คำนึงคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือ สภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้น มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุก หรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

เอาเป็นว่า เขียนอุทธรณ์ให้เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นก็แล้วกันครับ...มีลุ้นแน่นอน

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

44
เมื่อพืชกระท่อม มิใช่สิ่งผิดกฎหมายต่อไปแล้ว เนื่องจากมีกฎหมายได้ยกเลิกว่าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย
โดย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ ได้บัญญัติไว้แล้วโดยสรุปว่า คดีที่เคยมีความผิดหากกฎหมายใหม่ระบุว่าไม่มีความผิด ก็ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น

สรุป ไม่มีปัญหาครับ อยู่ที่จะผ่านสัมภาษณ์และผ่านสอบสมรรถนะร่างกายหรือเปล่าเท่านั้น.. ;D

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

45
หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่เล่ามาแล้ว ก็อาจจะตีความได้ว่า การย้ายสถานประกอบการส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง ตามมาตรา ๑๒๐ ได้ ทั้งนี้ อาจจะต้องตรวจสอบและทดสอบว่าข้อกล่าวอ้างทั้งเรื่องระยะทาง+ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นจริง เพื่อให้คณะกรรมการสวัสดิการฯ ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีย้านสถานประกอบการตามมาตรา ๑๒๐ ให้ครับ

ซึ่งเมื่อนายจ้างแจ้งให้ย้ายลูกจ้างก็จะต้องแจ้งนายจ้างเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบภายในสามสิบวันว่าไม่ประสงค์จะไปโดยต้องให้เหตุผลด้วยว่าที่ไม่ไปเพราะอะไร หลังจากนั้น หากนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ก็ไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในพื้นที่ที่คุณทำงานอยู่เพือให้มีคำสั่งต่อไปครั้ง

ซึ่งกระบวนการยื่นคำร้องก็ไม่ต้องใช้ทนายความให้เสียสตางค์แต่อย่างใดครับ ไม่ยากๆ

ทนายพร.

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 50