19/04/24 - 19:47 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 50
331
โห..ชะตากรรมนี้ ทนายก็เคยโดนเองกับตัวสมัยเป็นคนงานกู้เงินจากธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งตามโครงการที่เรียกว่า โครงการไทรทองอะไรเนี๊ยะแหละ ซึ่งธนาคารก็จะให้ค้ำแบบวนๆกันไป ก่อนกู้และค้ำก็ต้องมีการทำหนังสือยินยอมให้หักค่าจ้างของเรานำส่งให้ธนาคารด้วยนะ  ช่วงนั้นก็อืมม..นะ หากเราไม่กู้ เพื่อนก็จะต้องให้เราค้ำให้ เราก็เสียเปรียบดิ..ใช่ป่ะ...อย่ากระนั้นเลย ก็ร่วมกู้ซะเลยจะได้ไม่เสียเปรียบ....ต่อมาเพื่อนออกงานและเบี้ยวหนี้....งานงอกครับ ต้องร่วมชำระหนี้กันไปตามระเบียบ ดีว่ายอดเงินไม่สูงมาก ซึ่งก็คงจะไม่ต่างจากผู้ถามที่ถามมา เพียงแต่ว่า เหตุการณ์ยังไม่เกิดเท่านั้นเอง

เอาเป็นว่า คำแนะนำสำหรับรับมือ คือ ๑ ทำใจ ;D ;D ;D
และลำดับถัดไป คือ กัดฟันชำระหนี้แทนเพื่อนไป และให้เก็บหลักฐานการชำระหนี้แทนนั้นไว้
และในการชำระหนี้นั้น เราอาจไปคุยกับกับธนาคารให้โอนยอดหนี้ของเพื่อนมาเป็นหนี้เราแล้วปรับโครงสร้างหนี้ไหม่ แล้วเก็บหลักฐานการโอนหนี้ ซึ่งแน่นอนในการโอนหนี้ของเพื่อนมาเป็นหนี้เราก็คือการชำระหนี้เดิมแล้วกู้เพิ่ม เราก็จะได้ใบเสร็จรับเงินในยอดหนี้ที่เราชำระแทน

ต่อจากนั้น ก็ถึงเวลา "ไล่เบี้ย" เอากับเพื่อนเราแล้ว

โดยก็เอาสัญญาค้ำประกัน+ ใบเสร็จรับเงินที่เราจ่ายแทนไป ไปปรีกษาทนายความในการร่างฟ้องเรียกเงินคืนละครับ

เราอาจจะได้เงินคืนหรือไม่ได้คืนอยู่ที่เพื่อนมีทรัพย์ให้ยึดหรือไม่ แต่ที่เสียแน่ๆคือ เสียเพื่อนล่ะครับงานนี้...ฟันธง

ประมาณนี้ครับ สำหรับคำแนะนำ

ทนายพร.

332
อ่านแล้วถ้าเป็นจริงก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อยครับ

สำหรับข้อแนะนำ ให้เก็บหลักฐานผลตรวจจากโรงพยาบาลไว้ให้ดีเลยนะครับ เพราะผลตรวจนี้เป็นหลักฐานสำคัญในการต่อสู้

ถ้าบริษัทให้ไปบำบัดก็ไม่ต้องไป หรือถ้าให้ใบเตือนก็ไม่ต้องเซ็นต์ และขอสำเนามาด้วย หลังจากนั้นก็ใช้สิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อขอเพิกถอนใบเตือนนี้ว่าออกโดยไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องสู้กันในข้อเท็จจริงว่าแฟนของคุณมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ แน่นอนว่า เมื่อมีหลักฐานการตรวจพิสูจน์จากโรงพยาบาลมายืนยัน ก็ย่อมมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าการปาดเหงี่อ ซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อผลการตรวจได้

แต่ที่ทนายกังวลก็คือ หากต้องต่อสู้กันจริงๆ แฟนคุณจะรับความกดดันไหวหรือไม่เท่านั้น เพราะคงจะถูกนายจ้างหาทางเล่นงานแน่ๆละครับ

ลองพิจารณาดูครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

333
อัยยะ...แบบนี้ก็ได้หราาาาา ;D

กฎหมายกำหนดวันหยุดตามประเพณีปีละไม่น้อยกว่า ๑๓ วัน โดยใน ๑๓ วันนี้ต้องรวมวันกรรมกรสากล หรือวันแรงงานแห่งชาติด้วย ซึ่งการจะกำหนดวันใดเป็นวันหยุดตามประเพณีนั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๙ กำหนดว่าจะต้องพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น และต้องแจ้งวันหยุดนั้นเป็นการล่วงหน้า หมายความว่า ก่อนขึ้นปีใหม่ลูกจ้างจะต้องทราบแล้วว่าวันหยุดตามประเพณีเป็นวันใดบ้าง เมื่อนายจ้างประกาศออกมาแล้ว ถือเป็น "สภาพการจ้าง" จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน

ทีนี้มาถึงคำถามและข้อสงสัยว่า นายจ้างสั่งให้หยุดเพิ่ม แต่ไม่จ่ายค่าแรง ทำได้มั๊ย?

ทนายก็จะตอบว่า...สั่งให้หยุดเพิ่มอ่ะทำได้ แต่จะไม่จ่ายค่าแรงในวันที่สั่งให้หยุดเพิ่มอ่ะ ทำไม่ได้นะครับ ผิดกฎหมาย นายจ้างจะต้องจ่ายในวันที่สั่งหยุดเพิ่มนั้น เพราะถือเป็นคำสั่งของนายจ้างให้หยุดเอง ดังนั้น ในอดีตที่นายจ้างไม่จ่ายเงินให้นั้น จึงไม่ถูกต้องครับ

ถ้าเราไม่ติดใจก็ลืมๆกันไป แต่ถ้าคิดว่า เป็นสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ ก็ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างจ่ายเงินที่หายไปครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

334
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: บริษัทติดค้างเงินเดือน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2020, 12:47:03 am »
อ่านดูแล้วก็น่าเห็นใจอยู่นะครับ ทำงานตั้งหลายเดือนแต่ไม่ได้รับค่าจ้าง อีกทั้งยังได้สำรองจ่ายเงินไปก่อนด้วย

เอาเป็นว่า ทนายจะตอบคำถามตามที่ถามมาเลยนะครับ

ถามมาว่า...๑.ดิฉันจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิในเดือนที่บริษัทค้างจ่าย?
และ ๒ .กรณีฟ้องร้องหากต้องเดินทางไปในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนจะเป็นอันตรายดิฉันจะมีทางออกอย่างไร?

เอาเป็นว่า ทนายตอบรวมๆกันตามที่ถามมาเลยนะครับ...คืออย่างนี้ครับ ในการเรียกร้องสิทธิเรื่อง "ค่าจ้าง" สามารถเลือกได้ ๒ แนวทาง คือ ๑ ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (ยื่น คร.๗) ในจังหวัดที่คุณทำงานอยู่นั่นก็คือจังหวัดนราธิวาส เพื่อให้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายต่อไป แต่จะสั่งได้เฉพาะค่าจ้างนะครับ เงินที่สำรองจ่ายนั้น พนักงานตรวจแรงงานไม่มีอำนาจที่จะสั่งได้ต้องไปใช้ช่องทางที่ ๒ นั่น ก็คือ ไปฟ้องที่ศาลแรงงาน ซึ่งจังหวัดนราธิวาส ขึ้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงานภาค ๙ เท่าที่ตรวจสอบศาลแรงงานภาค ๙ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา ไม่ต้องเดินทางไปถึงนราธิวาสครับ ซึ่งในชั้นยื่นฟ้องและชั้นไกล่เกลี่ยสามารถที่จะมอบอำนาจด้วยการแต่งตั้งทนายความให้ไปดำเนินการแทนได้ แต่ถ้าต้องมีการสืบพยานกันก็คงต้องสละเวลาเดินทางไปซักวันหนึ่งอย่างไม่มีทางเลือกแล้วละครับ

คงจะครบถ้วนสำหรับคำตอบนะครับ หรือถ้ายังสงสัยก็ถามมาใหม่ได้นะครับ

ทนายพร.

335
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ยาเสพติต
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 04:57:07 pm »
คำถามนี้ "มโนธรรม" ได้อธิบายไว้ถูกต้องแล้วครับ

ทนายพร.

336
ถามสั้นๆ ก็ตอบสั้นๆ ครับ ;D

ค่าล่วงเวลาหรือโอที ปกติ คูณ ๑.๕ เท่า

มาทำงานในวันหยุด หากเป็นพนักงานรายเดือน ได้เพิ่มอีก ๑ เท่า หากเป็นพนักงานรายวัน ได้ ๒ เท่า

หากทำโอทีในวันหยุด คูณ ๓ เท่าจร้าาาา

จบ

ทนายพร.

337
เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะค่าคอมมิชชั่น เป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  โดยเงื่อนไขในการจ่ายค่าคอมมิชชั่นนั้น อยู่นอกเหนือกฎหมายแรงงานล่ะครับ

เช่น บางทีอาจจะกำหนดว่า ค่าคอมมิชชั่นจะจ่ายให้ก็ต่อเมื่อพนักงานคนนั้นยังมีสถานะการเป็นพนักงานอยู่ อย่างนี้เป็นต้น หรือ ถ้าไม่มีเงื่อนไขใดๆ ก็อยู่ที่ประเพณีปฎิบัติในการจ่ายคอมมิชชั่นว่า ในอดีตเคยจ่ายกันอย่างไร ก็ต้องจ่ายอย่างนั่น ถือเป็น "สภาพการจ้าง" อย่างหนึ่ง และหากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น ในชั้นนี้ คงตอบไม่ได้ว่ามีสิทธิได้รับหรือไม่ คงต้องดูเงื่อนไขของข้อตกลงก่อน หรือหากอยากไปลุ้นก็ไปฟ้องศาล โดยขอให้นิติกรศาลร่างฟ้องให้ เพื่อให้ศาลไกล่เกลี่ยเอาก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทนายแนะนำครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

338
อืมม....น้ำหนักของสารเสพติดมีปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ว่ามีไว้เพื่อเสพตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า ๓๗๕ มิลลิกรัม หรือนับได้มากกว่า ๑๕ หน่วยการใช้ หรือเรียกว่ายๆว่า ๑๕ เม็ด ในทางกฎหมายถือว่า "ครอบครองเพื่อจำหน่าย" ถึงแม้ว่าจะนำมาเสพเองก็ตาม ดังนั้น ที่พนักงานอัยการแจ้งขอหาและฟ้องนั้น ถูกต้องแล้วครับ

ส่วนจะได้รับโทษกี่ปีนั้น อยู่ที่พฤติการณ์แห่งคดีและความปราณีของศาลครับ ถ้าทำจริง ก็รับสารภาพครับ โทษหนักจะได้เป็นเบา และมีโอกาสได้ลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ครับ

ส่วนเหตุบรรเทาโทษนั้น ที่ทนายของคุณได้แนะนำนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อาจเป็นเหตุให้ศาลรอการลงโทษได้ครับ

ขอให้โชคดีมีพลังในการเลี้ยงลูกอย่างเข้มแข็งนะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.


339
ถามมา ๓ ข้อ ยาวๆว่า

ถามข้อแรกมาว่า...ดิฉัน ได้ค่าชดเชย งวดแรก เดือนกันยายน หลังจากนั้น งวดต่อไปไม่ได้เลย จนปัจจุบัน เดือน มกราคม 2563 ก็ยังไม่ได้ มีการส่งไลน์ หาเจ้านายโดยตรง ทุกเดือน  ตั้งแต่เดือน ตุลาคม-ธันวาคม ทางเจ้านายเลื่อนตลอด บอกแต่เพียงว่าลงทุนกับงานไปเยอะ เงินยังไม่เข้าเลย ให้ดิิิฉันรอก่อน ซึ่งดิฉัน ไม่อยากรอแล้ว เจ้านายไม่มีความชัดเจน บอกให้รอวันนั้น วันนี้ พอถึงวัน ก็เงียบไปไม่มีการโอนเงิน ดิฉันต้องส่งไลน์ตามเหมือนเช่นเคย แต่ก็ได้คำตอบเหมือนเดิม คือขอโทษด้วย แล้วให้รอก่อน ดิฉันจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

ตอบว่า...ที่ง่ายที่สุดคือ ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน(คร.๗) เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง กรณีอย่างนี้ หลังจากที่ไปยื่นคำร้องแล้ว พนักงานตรวจแรงงานก็จะเรียกนายจ้างและเราไปสอบข้อเท็จจริง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ ๖๐ วัน แล้วก็จะมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งนั้น โดยนำไปฟ้องต่อศาลแรงงานภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หลังจากนั้น ก็เข้าสู่กระบวนการของศาลต่อไป หรือถ้าคิดว่าไม่อยากจะเสียเวลาในชั้นพนักงานตรวจแรงงาน ก็ข้ามไปฟ้องศาลเลยก็ได้ครับ โดยไปที่ศาลแรงงานในเขตอำนาจที่เราทำงานอยู่ ไปให้นิติกรของศาลเขียนคำฟ้องให้ จะได้ไม่ต้องเสียเงินจ้างทนายความครับ

ข้อ ๒ ถามมาว่า...ถ้าต้องมีการฟ้องร้องกัน ดิฉันต้องจ้างทนายหรือไม่ และถ้ามีการฟ้องร้องกัน คดีสิ้นสุด ดิฉันจะมีโอกาสแพ้คดีไหม และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และ ค่าทนาย เป็นความรับผิดชอบ ของใคร

ก็ตอบว่า..คดีแรงงานใช้ระบบไต่สวน หมายความว่าศาลจะเป็นผู้แสวงหาความจริงเองแล้วพิพากษาไปตามนั้น และในการฟ้องคดีสามารถฟ้องด้วยวาจาได้ แต่โดยปกติก็จะมีนิติกร ประจำศาล เป็นผู้ร่างฟ้องให้ ในชั้นนี้จึงไม่จำเป็นต้องจ้างทนายให้เสียเงินครับ แต่ถ้าถึงขั้นตอนสืบพยานอันนี้อาจจะต้องอาศัยทนายในการซักพยานของอีกฝ่ายหรือเรียบเรียงเอกสารหลักฐานให้มีความชัดเจน เพื่อศาลจะได้พิจารณาหลักฐานเราง่ายขึ้นละครับ
ส่วนที่ถามว่าจะมีโอกาสแพ้คดีใหม...อันนี้ตอบไม่ได้ครับ เพราะทนายมิใช่ผู้พิพากษา ต้องดูพยานหลักฐานทั้งหมดก่อนจึงจะบอกได้ แต่ผู้ที่บอกได้แน่ๆนั่นคือ ผู้พิพากษาเจ้าของคดีครับ

ถามมาอีกว่า แล้วค่าทนายละ ใครรับผิดชอบ  ก็ตอบว่า ใครจ้างคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบละครับ


และถามมาในข้อ ๓ ว่า... ถ้าหาก ยังต้องรอเจ้านายไปเรื่อยๆ ตามกฎหมาย จะมีหมดอายุความไหมคะ ที่เจ้านาย จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะดิฉันปล่อยเวลาผ่านมานานเกิน โดยไม่ทำอะไร เพราะเจ้านายบอกให้รอก่อน

ก็ตอบว่า...ทุกคดีมีอายุความครับ ซึ่งคดีแรงงานมีอายุความ ๒ ปีนะครับ ถ้ารอก็อย่ารอเกินกว่า ๒ ปีนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.
[/color][/size]

340
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การบำบัดยาเสพติด
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 04:22:12 pm »
โห...จะเอาคำตอบแบบ บำบัดกี่วันเลยหรา

แต่เท่าที่ทนายทำคดีมา ในการ "เข้าค่าย" หรือบำบัด นั้น ประมาณ ๑๔ วันครับ  หลังจากนั้น ก็จะต้องมีการรายงานตัวอีกหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็จะมีการตรวจฉี เพื่อดูว่า เรายังไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกหรือไม่ ประมาณนี้ครับ

ทนายพร.

341
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คนงานประสบอุบัติเหตุ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 04:20:03 pm »
อืมม...แค่หนูมาลีสนใจถามมานี้ ก็ถือว่ามีความรับผิดชอบใช้ได้เลยทีเดียว

ก่อนอื่นต้องไปตรวจสอบก่อนว่า ลูกจ้างคนนั้น นายจ้างเก่าได้แจ้งออกแล้วหรือยัง (แจ้งต่อจัดหางาน) ถ้ายังไม่ได้แจ้งออก การจะมาเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ก็ยังทำไม่ได้ นิติสัมพันธ์ยังอยู่กับนายจ้างเก่า นายจ้างใหม่ยังไม่ต้องรับผิดชอบอะไร

แต่ถ้าเป็นกรณีที่แอบซื้อตัวกันมา อันนี้ก็ว่ากันอีกเรื่องนะครับ นายจ้างใหม่คงต้องรับผิดชอบตามหลักมนุษยธรรม

แต่ถ้านายจ้างเก่าได้แจ้งออกต่อจัดหางานแล้ว และนายจ้างใหม่ตกลงรับลูกจ้างนั้นเป็นลูกจ้างแล้ว กรณีเช่นนี้ ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้างใหม่แล้วครับ

ถ้าไม่เจ็บมากก็ช่วยๆกันไปครับ ทนายคิดว่าจะได้ใจลูกจ้างมากเลยที่เดียว ต่อไปภายภาคหน้าเค้ามาเป็นลูกจ้างเราแล้ว เชื่อว่าเค้าจะทำงานถวายหัวให้กับเราเลยล่ะ เชื่อทนายดิ ;D

ทนายพร.


342
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ตัวแทน(agent)เว็บออนไลน์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 04:13:44 pm »
เป็นคำถามที่สั้นๆ แต่น่าสนใจ เนื่องจากว่าในปัจจุบันมีธุรกิจออนไลน์ ผุดยิ่งกว่าดอกเห็ด และคนที่กระโจนเข้าไปในวังวนนั้นก็ไม่แน่ใจว่าที่ทำอยู่ถูกหรือผิดกฎหมาย ซึ่งกว่าจะรู้ว่าผิดกฎหมายก็ถูกจับไปแล้ว และเมื่อถูกจับจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายก็ไม่ได้เสียด้วย  ก็ขอให้ใครที่ทำธุรกิจใดๆก็ตาม โปรดศึกษาข้อกฎหมายให้ชัดแจ้งก่อนลงมือทำ หรือหากไม่รู้ก็ถามผู้รู้หรือทนายความเพื่อท่านจะได้สบายใจในการทำธุรกิจครับ

ที่ถามมาว่า ผมมีความผิดและมีโทษอย่างไรหรือไม่?

ตอบอย่างนี้ ครับ ถ้าในต่างประเทศบางประเทศ การเล่นการพนันเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่ประเทศไทยมีการพนันบางชนิดเท่านั้นที่เล่นโดยถูกกฎหมาย เช่น สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือบางประเภทต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน เช่นการตีไก่ กัดปลา ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้มีกฎหมายที่เรียกว่า พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดไว้ในบัญชี ก. และบัญชี ข. ซึ่งบัญชี ก. มีประเภทการพนัน  ๒๗ ประเภท เช่นไพ่ หวย ไฮโล ปั่นแปะ

ส่วนบัญชี ข. จะมี ๒๗ ประเภทเช่นกัน มีลักษณะให้สัตว์ต่อสู้กัน เช่น กัดปลา ตีไก่ ชกมวย โยนห่วง ยิงเป้า อะไรประมาณนี้

ดังนั้น จะดูว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องดูว่าเว็บดังกล่าวได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่...คุณก็มีความผิดครับ ถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นเจ้ามือหรือผู้จัดให้มีการเล่น ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของการเล่นการพนัน มีความผิดฐานสนับสนุน มีโทษตามที่ "มโนธรรม" อธิบายไว้เลยครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

343
ท่านสามารถค้นหาเบอร์ทนายความได้ใน Google ครับ ซึ่งทนายความแต่ละท่านก็จะมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นคดีหลักๆ ทนายทุกคนก็จะได้รับการศึกษาอบรมและสอบผ่านจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความจากสภาทนายความที่เดียวกันครับ

ทนายมีข้อแนะนำในการตัดสินใจเลือกทนายความตามนี้ครับ
http://www.thanaiphorn.com/content.php?type=5&id=117

ขอให้โชคดีนะครับ

ทนายพร.

344
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การบาดเจ็บจากการทำงาน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 03:57:06 pm »
คำถามนี้ "มโนธรรม" ตอบถูกแล้วครับ
ซึ่งสาระสำคัญของกองทุนเงินทดแทน หรือที่เรียกแบบทางการคือ "พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗" มีหลักว่า  "ต้องเจ็บในงาน" หรือ "ตายในหน้าที่" กรณีอย่างนี้จะเข้าหลักเกณฑ์ที่จะใช้เงินกองทุนทดแทนครับ

แต่ถ้าเป็นเจ็บป่วยนอกงาน ต้องไปใช้เงินกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ ๗ กรณี ได้แก่ เจํบป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ครับ

ทนายพร.

345
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ย้ายสถานประกอบการ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 03:52:56 pm »
ไม่แน่ใจว่าทนายจะเข้ามาตอบทันป่าวนะครับ

เอาเป็นว่า ถ้ายึดถือตามข้อกฎหมายแล้ว ยังงัยก็ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ครับ ถ้านายจ้างไม่จ่ายให้ก็มีขั้นตอนง่ายๆ คือ การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการ (ซึ่งก็ไปยื่นเรื่องที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั่นแหละ) เพื่อให้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย

ซึ่งในการย้ายสถานประกอบกิจการนั้น ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗ พ.ศ.๒๕๖๒ ว่า หากการย้ายสถานประกอบกิจการนั้น ทำให้การดำรงชีวิตของลูกจ้างเปลี่ยนไป เช่น มีความยากลำบากมากขึ้น ใช้เวลาเดินทางนานขึ้น ไม่มีเวลาส่งลูก อย่างนี้ถือว่าทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ลูกจ้างต้องแจ้งให้กับนายจ้างทราบว่าไม่ประสงค์จะตามไป จึงจะมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ นะครับ

ขอให้โชคดีนะครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 50