24/04/24 - 01:32 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 32 33 [34] 35 36 ... 50
496
เข้าเรื่องเลย เวลาน้อยๆ 555+
ถามมาเกี่ยวกับยาเสพติด แต่มิใช่เรื่องของตนเอง แต่เป็นของญาติ เอาเป็นว่าถูกซัดทอด และถูกจับทั้งยาบ้าและไอซ์
สำหรับโทษที่จะได้รับก็ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปล่ะครับ เพราะจะถือว่าครอบครอง และครอบครองเพื่อจำหน่ายตามข้อสันนิฐานของกฎหมาย
ส่วนการรับสารภาพก็เป็นประโยชน์ต่อญาติคุณเองเพราะศาลก็จะปราณีลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จาก ๑๐ ก็จะเหลือ ๕ อย่างนี้เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม โทษที่จะลงนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะเป็นผู้กำหนดครับ
หรือหากอยากจะรู้รายละเอียดให้หากฎหมาย "พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒" ก็จะได้รู้รายละเอียดมากขึ้นครับ
ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร

497
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดียาเสพติดครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2018, 01:24:14 am »
อัยยะ เอาแบบไม่ติดคุกเลยหราครับ

ก่อนอื่นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นท่านอื่น มาดูก่อนว่า ยาอี มันคือยาประเภทใหน?..

ยาอีหรือที่เรียกแบบเต็มยศว่า MDMA หรือ methylenedioxy methamphetamine ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของยาอี มีอีกชื่อหนึ่งคือ “Molly” เป็นยาเสพติดที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยมนุษย์ ผู้ใดได้เสพ(คือการนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง) มันจะออกฤทธิ์ต่อสารเคมีต่างๆ ในสมอง ทำให้ผู้เสพยาแบบเม็ดหรือแคปซูลจะมีอาการเมายาอยู่ประมาณหลายชั่วโมง
MDMA จะส่งผลต่อสารเคมี 2 ชนิดภายในสมอง คือ เซโรโทนินและนอร์อิพิเนฟริน ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิบเคลิ้ม รู้สึกดี ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ อาการง่วง ความไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด และความก้าวร้าว โดยตัวยาจะเพิ่มระดับอารมณ์ของผู้เสพ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์สุข ทุกข์ หรือโกรธ นอกจากนี้ MDMA อาจยังทำให้ผู้เสพรู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้น และอาจส่งผลต่อประสาทสัมผัสและระบบการรับรู้ของสมองได้ ยาอีถูกจัดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เนื่องจากเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์รุนแรงและมีอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังไม่มีประโยชน์ใดๆ ทางการแพทย์ ดังนั้น ผู้ที่ผลิต จำหน่าย ครอบครอง และเสพ ต้องได้รับโทษทางกฎหมายทั้งถูกปรับและจำคุก

ส่วนยาเค หรือ เคตามีนเป็นยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อใช้เป็นยาสลบซึ่งออกฤทธิ์เร็ว นำมาใช้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์เพื่อการรักษาและการผ่าตัด ยาเคที่เป็นยาเสพติดผิดกฎหมายจะถูกผลิตออกมาในรูปแบบของผงสีขาวหรือสีขาวนวลใช้สูดเข้าทางจมูกหรือใช้ผสมกับใบยาหรือกัญชาเพื่อสูบ นอกจากนี้ ยาเคยังถูกนำมาใช้เพื่อก่ออาชญากรรมหรือเพื่อการกระทำชำเราทางเพศโดยการนำไปผสมกับเครื่องดื่มต่างๆ ยาเคถูกจัดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 นั่นหมายถึง ยาเคยังสามารถใช้ในทางการแพทย์ได้แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์และต้องใช้โดยผ่านใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก และเสพ ต้องระวางโทษปรับและจำคุก เช่นกัน

ถ้าถามว่าโทษของยาสองตัวนี้ ตัวใหนหนักกว่ากัน ก็ต้องตอบว่า ยาอี เพราะเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1


แล้วตามที่ถามมาเพื่อนจะติดคุกป่ะ?

ตอบว่า ไอ้ ุ6+2 ที่ว่าน่ะ เป็นครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือเพียงเสพ หากเป็นเสพ ยาอีก็ จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปีและปรับ 5,000-100,000 บาท
ส่วนยาเค ก็โทษเท่ากัน แต่ถ้าเป็นครอบครองยาอี อันนี้โทษจะหนักขึ้นโดยต้องดูที่ปริมาณสารบริสุทธิ์ (นั่นก็หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องส่งยาไปสกัดหาสารบริสุทธิ์เสียก่อนจึงจะทราบได้) คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000บาท  หากคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษก็จะหนักขึ้นไปอีก
ส่วนยาเค คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หากคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 100 กรัม ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษก็จะหนักขึ้นเหมือนกันครับ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนผิดจริงก็รับสารภาพแบบแมนๆเลย อาจจะรอลงโทษหากศาลตัดสินไม่เกินห้าปี และไม่เคยต้องโทษมาก่อน แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดก็สู้ไปครับ อาจจะรอดหรือติดเต็มก็เป็นได้ครับ

ถามมาสั้นๆ ทนายตอบซะยาว...เอาน่าเพื่อเป็นความรู้ครับ หรือถ้าอยากจะรู้มากกว่านี้ ก็ศึกษาได้ที่ พรบ.ยาเสพติดฯ ครับ

ทนายพร

498
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามเรื่องคดี
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2018, 12:58:21 am »
ทนายคงตอบฟันธงไปไม่ได้ละครับ เพราะทนายไม่ใช่ผู้พิจารณาคดีหรือศาล แต่ก็จะใช้ประสบการณ์ที่ทำคดีมานานตอบคำถามเพื่อเป็นแนวให้ได้รับทราบนะครับ
ก่อนอื่น ต้องดูก่อนว่าพนักงานอัยพนักงานอัยการบรรยายฟ้องไว้ว่าอย่างไร? ขอให้ลงโทษฐานไม่หลาบจำหรือไม่? หากใช่ก็เรื่องยาวละครับ อาจจะได้ไปพักแต่ก็ไม่นานครับถ้าเป็นครอบครองเพื่อเสพ(คาดว่าจะไม่เกิน ๑๐ หน่วยการใช้) ซึ่งโดยหลักแล้ว หากเป็นข้อหานี้และพนักงานอัยการไม่ขอให้ลงโทษฐานไม่หลาบจำก็มีโอกาศที่จะรอดละครับ เอาเป็นว่าทำใจไว้หน่อยก็ดีครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

499
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ตอบข้อ ๑. เมื่ออายุครบอายุเกษียณตามข้อบังคับ (บางแห่งกำหนดอายุเกษียณไม่เท่ากัน อาจจะ ๕๕ หรือ ๖๐ ปี) ถือเป็นการสิ้นสุดสัญญาจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุ จึงมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แต่หากไม่ได้กำหนดอายุเกษียณไว้ในข้อบังคับให้ถือว่าลูกจ้างครบอายุเกษียณอายุเมื่อครบ ๖๐ ปี โดยลูกจ้างจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วันจึงมีสิทธิ์จะได้รับเงินค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ หากลูกจ้างไม่ได้ทำหนังสือเเจ้งนายจ้างให้ถือว่าเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง ยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าลูกจ้างจะใช้สิทธิ์หรือลาออกหรือตายไปข้างหนึ่งละครับ

ตอบข้อ ๒.ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยอยู่ครับ

ตอบข้อ ๓.ถ้าเป็นกรณีอย่างนี้ จะไม่ได้รับเงินค่าชดเชยนะครับ เพราะการสิ้นสุดเกิดจากฝ่ายลูกจ้างที่ขอลาออก ถ้าหากอยากจะได้เงินชดเชยจะต้องทำหนังสือแจ้งนายจ้าง โดยต้องมีข้อความสำคัญที่แสดงว่าจะสงค์จะเกษียณอายุเพื่อขอรับเงินค่าชดเชยครับ

ตอบข้อ ๔. ก็อยู่ที่ลูกจ้างจะตัดสินใจเลยครับ หากเป็นกรณีที่ครบอายุเกษียณแล้วนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแล้ว นายจ้างยังจ้างต่อก็ถือว่าโชคดีไปหรือจะทำงานไปเรื่อยๆ เบื่อเมื่อใหร่ก็ทำหนังสือแจ้ง ก็เป็นทางเลือกที่ดีอยู่นะครับ เอาเป็นว่าเอาตามที่คุณพี่สบายใจเลยครับ..อิอิ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร


500
ถามมาเป็นข้อๆ ก็ตอบเป็นข้อๆ อย่าเสียเวลามาเข้าเรื่องกันเลย

1. การคิดค่าคอมมิชชั่นพนักงาน/เดือน ควรคิดจากยอดขายที่พนักงานแต่ละคนทำได้ตามหลักเกณฑ์ถูกต้องไหมคะ??
ตอบ เงินค่าคอมมิชชั่น คือเงินพิเศษที่นายจ้างตกลงจ่ายเพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานนอกเหนือจากเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ อย่างไรก็ตาม เงินค่าคอมมิชชั่น มิใช่เงินที่บังคับให้นายจ้างต้องจ่าย แต่เป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจึงถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติ ดังนั้น การที่จะคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันครับ

2. การคิดค่าคอมฯ ควรคิดจากยอดที่พนักงานทำได้จำนวณเต็ม หรือต้องหักค่าอะไรไหม อย่างเช่นที่ทำอยู่จะหักค่า ( ค่าเช่าสถานที่ประกอบการ,ค่าน้ำ,ค่าไฟ,ค่าเน็ต,หักเงินที่ต้องจ่ายพนักงานรายเดือนรายวีก,หักค่าแต่งหน้า,หักค่าช่างภาพ,) รายการที่แจ้งหักมาเป็นเพียงคร่าวๆที่หักจากยอดขายเป็นรายจ่ายต่อเดือน และคงเหลือยอดสุทธิเพื่อคิดยอดค่าคอมมิวชั่นให้พนักงาน ???แบบนี้ถูกแล้วใช่ไหมคะ
ตอบ ข้อนี้ก็เป็นไปตามการอธิบายในข้อแรกนะครับ ส่วนที่ถามมาว่าก่อนการนำมาคำนวณต้องนำไปหักนั่น นี่ โน้น และฯลฯ..บร้าๆๆๆ ทนายคิดว่ามันก็เกินไปอยู่นะครับ เอาเป็นว่า ทนายแนะนำว่าจับเข่านั่งปรึกษาหาข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายรับกันได้ดีกว่ามั๊ยครับ มิเช่นนั้น ทำงานไปก็จะไม่สบายใจ และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจในอนาคตได้นะครับ เอาใจช่วยครับ

3.ทำงานเข้างาน 9:00 เลิกงาน 20:00 ทุกวัน หยุดได้เดือนละ 2 ครั้ง แบบนี้เราทำงานเยอะเกินไปรึเปล่า
ตอบ ถ้าเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ ก็เยอะไปครับ ถ้ามีการทำงานล่วงเวลาก็ไม่เยอะ ส่วนหยุดเดือนละ ๒ ครั้ง อันนี้ก็น้อยไปหน่อยครับ ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดครับ เว้นแต่จะเป็นการทำงานในวันหยุดเพิ่มและได้เงินเพิ่มก็สามารถทำได้ครับ

4.ไม่มีสวัสดิการ?
ตอบ อืมมม....ทำงานมานานแล้วหรือยังครับ ทนายแนะนำลองขยับขยายเป็นเจ้าของกิจการเองดีกว่าไหมครับ?

5.ไม่มีประกันสังคม?
ตอบ กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างต้องแจ้งการเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคม หากนายจ้างใดไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย มีโทษทางอาญาและมีโทษปรับค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ดังนั้น คุณสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซด์ประกันสังคมครับ

6.สตาทเงินเดือนเพียง 7,000
ตอบ เท่าที่ทนายเคยให้คำปรึกษา กรณีเป็นพนักงานขาย ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมักจะไม่ได้ใช้คำว่า “พนักงานขาย” แต่มักจะใช้คำว่า “ที่ปรึกษางานขาย” โดยพยายามเลี่ยงคำว่า “ลูกจ้าง” โดยหาช่องว่างเพื่อจะได้ไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั่นเอง เช่น ที่ปรึกษางานขาย (Sale) ของโชว์รูมรถยนต์ต่างๆ ดังนั้น กรณีของคุณที่ถามว่าเงินเดือนเจ็ดพัน โอเครหรือไม่นั้น ก็ต้องกลับไปดูข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อความชัดเจนนะครับ

ทนายพร

501
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ถูกบอกเลิกจ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2018, 02:52:06 am »
สัญญาจ้างแรงงานมีด้วยกันหลายประเภท ทั้งรายวัน รายเดือน ชั่วคราว ฤดูกาล รายชั่วโมง และฯลฯ สุดแท้แต่จะตกลงกัน

แต่ในทางกฎหมาย จะมีสัญญาเพียงสองประเภทคือ สัญญาจ้างแบบ "มีระยะเวลา" กับแบบ "ไม่มีระยะเวลา"

แล้วมันต่างกันตรงใหน?

ขออธิบายอย่างนี้ครับ สัญญาจ้างแบบมีระยะเวลาก็หมายถึง การตกลงทำสัญญาจ้างกันที่มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดที่เเน่นอน เช่น เริ่มจ้างกันวันที่ ๑ ก.ค.๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ มิ.ย.๖๑ เมื่อก่อนหรือถึงกำหนดก็เพียงแต่แจ้งว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว ไม่ต่อสัญญา กรณีอย่างนี้ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติค้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑

แต่ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าจะจ้างกันระยะเวลาเท่าใด ให้ถือเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาจ้าง ซึ่งหากจะเลิกสัญญาจ้างต่อกันก็จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และต้องจ่ายค่าชดเชยทุกกรณี ยกเว้นกระทำความผิดตามมาตรา ๑๑๙

เอาล่ะ แล้วที่ถามมา เป็นสัญญาจ้างแรงงานแบบมีระยะเวลาหรือแบบไม่มีระยะเวลาล่ะทนาย????

ขอตอบว่า เดิมเป็นสัญญาจ้างแบบมีระยะเวลา แต่เมื่อกาลผ่านไป ได้แปรเปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างแบบไม่มีระยะเวลาเสียเเล้ว เพราะตามกฎหมายแล้ว ในการทำสัญญาจ้างกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาจ้างสามารถตกลงกันด้วยวาจา เป็นหนังสือ หรือโดยปริยายก็ได้ ซึ่งกรณีของผู้ถามมานี้ ให้ถือว่าเป็นสัญญาจ้างโดยปริยาย กล่าวคือ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้ว วันถัดมาลูกจ้างมาทำงานปกติ นายจ้างทราบก็ไม่ได้ว่าอะไรยังคงให้ทำงานต่อไป จึงถือได้ว่านายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างทำงานต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลานั่นเอง หากนายจ้างเลิกจ้างก็ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดด้วยนั่นเอง

ว.๒ ว.๘ นะครับ ทราบแล้วเปลี่ยน...แคว๊กๆๆๆ

ทนายพร



502
โห อ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจนะครับ
อย่างนี้ครับ กรณีถ้าเป็นการเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าจะเป็นการเลิกสัญญาจ้างปกติ (ลาออก,เลิกจ้าง,เกษียณ) ถือเป็นการเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ โดยการจ่ายเงินค่าชดเชยนั้น จะต้องจ่ายภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างครับ หากเกินระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างจะต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี และเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วันครับ

จากคำถาม
ถามว่า แบ่งจ่ายได้มั๊ย?...อืมมม....กฎหมายไม่ได้เขียนห้ามไว้เด็ดขาด เอาเป็นว่าถ้าลูกจ้างยินยอมรับเงินค่าชดเชยแบบแบ่งจ่าย ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าลูกจ้างไม่ยอมก็เป็นไปตามข้อกฎหมายด้านบนเลยครับ

ถามต่อว่า ไม่เซ็นต์เอกสารได้มั๊ย? เพราะเงินยังไม่ได้เลย จะให้หนู่เซ็นต์ได้งัย???....นั่นนะซิ เมื่อไม่ได้เงินก็ไม่ต้องไปเซ็นต์ครับ และไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้เงิน หากนายจ้างไม่จ่ายให้ไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือในเขตพื้นที่ ไปเขียนคำร้อง (คร.๗) ต่อพนักงานตรวจแรงงาน ให้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานก็จะใช้เวลาประมาณ ๖๐ วันก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายแล้วนะครับ และอย่าลืมว่าให้บอกพนักงานตรวจแรงงานไปด้วยว่า ต้องการดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ ด้วยล่ะครับ

เอาเป็นว่า ให้ลองไปคุยกับนายจ้างดูครับว่าจะหาทางออกกันอย่างไร อ่อนมาก็ไม่ไหว ตึงมากก็ไม่ดี ลองหาทางสายกลางที่จะประนีประนอมกันได้ และจากกันด้วยมิตรภาพดีกว่าครับ หากบริษัทมีกำไรก็คงไม่ปิดกิจการ (หรือเปล่า) ดังนั้น ก็ลองประเมินวิเคราะห์ดูว่าช่องทางใดจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน แต่ยืนยันฟันธงได้ว่า คุณต้องได้รับเงินค่าชดเชยแน่นอนครับ

อย่างไรก็ตาม ทนายก็เชื่อว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ วันข้างหน้าคุณผู้ถามอาจจะได้งานใหม่เป็นผู้บริหารได้เงินเดือนเป็นแสนก็ได้นะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร


503
ทนายเคยเห็นแต่ไม่เคยลองนะครับ เจ้าบุหรี่ไฟฟ้าเนี๊ยะ แต่เท่าที่เห็นสูบแต่ละทีนี่นึกว่าไฟใหม้ อุแม้เจ้า ทำใมควันมันมากมายมหาศาลเช่นนี้....เจอทีใรอยากจะยกถังดับเพลิงไปดับซะจริงเชียว..ฮา

เอาล่ะ..มาเข้าเรื่องเลย

ไม่ว่าบุหรี่ไฟฟ้า หรือ บารากุ ขณะนี้ถ้าใครนำเข้ามาหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย มีความผิดนะครับ และโทษค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

ซึ่งโทษก็เป็นไปตามที่คุณ PaaN Kanchanadith ได้ให้ข้อมูลไว้เลยครับ

ทนายพร

504
ทนายมาตอบแล้วคร๊าบบ...

สำหรับคำถามนี้ คงตอบแบบฟันธงไม่ได้ เพราะข้อมูลไม่เพียงพอ อย่างที่คุณ paan ได้ตั้งคำถามไว้เลยครับ เพราะการเป็นเจ้าของกิจการก็จะใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง ส่วนผู้ที่เข้ามาทำงานก็จะใช้กฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ดังนั้น ขอให้ผู้ถามให้ข้อมูลเพิ่มเติมมา ทนายจะวิเคราะห์ให้ครับ

ทนายพร

505
ถามมาสั้นๆแต่ได้ใจความ
เอาเป็นว่า ถ้ารับสารภาพและไม่เคยต้องโทษมาก่อนก็จะได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษจากโทษหนักเป็นเบาลง ซึ่งปกติก็น่าจะลดลงกึ่งหนึ่ง
ส่วนศาลจะสั่งจำคุกและปรับเงินจำนวนเท่าใดนั้น ให้หาอ่าน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ โดยเฉพาะบทลงโทษให้ดูที่หมวด ๑๒ ซึ่งบทกำหนดโทษที่จะลงมีตั้งแต่ ๑ ปี ถึงประหารชีวิตละครับ ส่วนศาลจะลงโทษเท่าใดก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลครับ

ทนายพร

506
ต้องขออภัยที่ทนายเข้ามาตอบช้าไปหน่อยนะครับ ภารกิจเยอะจริงๆครับช่วงนี้ เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยดีกว่า

ถามมาว่า

“๑. หากว่าบริษัทเลิกจ้างแต่ไม่สามารถตกลงเรื่องค่าชดเชยได้ ดิฉันไม่เซ็นเอกสารบริษัทก้อจะไม่จ่ายชดเชย ดิฉันจะนำเอกสารใดเป็นหลักฐานการเลิกจ้างคะเพื่อแจ้งกับผู้ตรวจแรงงานเขต และยื่นขอชดเชยจากประกันสังคมคะ ดิฉันต้องยื่นเอกสารแบบฟอร์มแจ้งบริษัทถึงการเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรมั้ยคะ?”
ตอบ อย่างที่เคยแนะนำไว้ว่าหากตกลงกันไม่ได้และประสงค์จะสู้ให้ได้เงินค่าชดเชยและสิทธิ์ต่างๆตามกฎหมายแรงงานนั้น ก็อย่าเซ็นต์เอกสารใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือลาออก มิเช่นนั้นการต่อสู้ทางคดีก็จะยากมากขึ้น
ส่วนเมื่อมีการแจ้งการเลิกจ้างแล้ว ก็เอาเอกสารหนังสือเลิกจ้างนั่นแหละครับไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (ไปเขียนคำร้อง คร.๗) หรือหากบริษัทไม่ยอมให้หนังสือเลิกจ้าง ก็ต้องสอบถามยืนยันกันให้แน่นอนว่ามีการเลิกจ้างแล้ว และผู้แจ้งเลิกจ้างก็ต้องมีอำนาจตามข้อบังคับด้วยนะครับ หากบันทึกเสียงได้ก็บันทึกเพื่อจะได้ตัดปัญหาโต้แย้งว่ามีการเลิกจ้างกันแล้วหรือไม่เมื่อใด
ส่วนการยื่นขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ก็นำเอกสารหนังสือเลิกจ้าง(หรือหากไม่มีก็ขอสำเนาคำร้อง คร.๗ จากพนักงานตรวจแรงงานไป) ไปยื่นเรื่องที่กรมจัดหางานเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน เสร็จแล้วก็ไปแจ้งขอใช้สิทธิว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมต่อไปครับ

ถามต่อในข้อ๒. ว่า “กรณีที่มีการขึ้นศาลเพื่อไต่สวน ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่คะถึงจะมีคำพิพากษาเพื่อเตรียมเรื่องค่าใช้จ่ายช่วงไม่มีรายได้?”
ก็ขอตอบว่า... คงจะตอบแบบฟันธงไปไม่ได้นะครับว่าจะใช้เวลานานเพียงใด เพราะแต่ละศาลจะมีคดีค้างพิจารณาไม่เท่ากัน เอาเป็นว่าโดยปกติในศาลแรงงานชั้นต้นจะใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ถึง ๑ ปี

ถามมาในข้อสุดท้ายว่า “บริษัทสามารถหาข้ออ้างว่าดิฉันไม่ทำงานที่ได้รับในการไม่จ่ายชดเชยได้มั้ยคะ?”
ตอบว่า หากบริษัทอยากจะอ้างก็อ้างได้ครับเพราะเป็นสิทธิที่จะอ้างได้ แต่การอ้างดังกล่าวนี้จะทำให้ศาลรับฟังหรือไม่นั้นก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง และขออธิบายเพิ่มเติมว่า ในการสั่งงานนั้น เป็นอำนาจของนายจ้างที่จะสั่งงานได้ตามกฎหมาย แต่งานนั้นจะต้องเป็นงานที่ตกลงกันในรายละเอียดของงาน (เช่น จ้างมาให้ทำงานบัญชีก็มีหน้าที่ทำบัญชีหรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับบัญชี หากสั่งงานให้เราไปทำอาหารแทนแม่ครัว หรือให้เราไปจ่ายของแทนพนักงานสโตร์ อย่างนี้เป็นคำสั่งที่มิชอบเป็นต้น) หากไม่ใช่ก็ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไปครับ ซึ่งหากเป็นคำสั่งโดยมิชอบเมื่อมีการเลิกจ้างก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร[/size]


507
ก่อนอื่นต้องนับถือผู้ถามก่อนนะครับ ที่ผู้ถามยังลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ถึงแม้ว่า ปลายเส้นทางจะดูตีบตันก็ตาม

ทนายคงตอบไม่ได้หรอกครับว่าโอนกลั่นแกล้งหรือไม่ เพราะการที่นายจ้างสั่งให้เราทำงานก็เป็นอำนาจที่นายจ้างหรือหัวหน้างานสามารถสั่งได้ ซึ่งในภาษาทางการเรียกว่า "มีอำนาจบังคับบัญชา" ตราบใดที่เรายังเป็นลูกจ้างอยู่ ลูกจ้างก็ยังต้องมี "หน้าที่" ทำงานให้นายจ้าง ส่วนนายจ้างก็มี "หน้าที่" เช่นกัน คือต้อง"จ่ายค่าจ้าง" ให้กับลูกจ้างนั่นเอง ที่กล่าวมานี้ คือข้อกฎหมายในเรื่อง สิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายละครับ

และจากที่อ่านเรื่องราว คงไม่ได้เกิดกรณีอย่างนี้กับผู้ถามคนเดียวหรอกครับ ในโลกแรงงานจะพบเจอเครสอย่างนี้เยอะครับ ซึ่งหากมาปรึกษาทนาย ทนายก็จะถามก่อนที่ะจะแนะนำว่า "คุณพร้อมที่จะรับแรงกดดันได้มากน้อยเพียงใด" เพราะแนะนอนว่า เมื่อเราไปร้องเรียนตามหน่วยงานต่างๆ ก็ย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับบริษัท ยิ่งถ้าต้องร่วมงานกันต่อไป แน่นอนว่า บริษัทหรือหัวหน้างานก็ต้องจัดเต็ม ตามอำนาจที่กฎหมายรับรองไว้ เช่นการสั่งงาน ซึ่งต่อไปในอนาคต ทนายก็คาดการณ์ได้ว่า คุณจะต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพื่อหาทางจับผิด ซึ่งคงมีซักวันที่คุณต้องทำผิด บริษัทก็จะออกใบเตือนก่อน และจับตามองคุณต่อไปหากทำผิดอีกครั้งก็เป็นผิดซ้ำคำเตือนและเลิกจ้างคุณหรือหากเป็นกรณีร้ายแรงก็เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อให้คุณพ้นเส้นทางไปนั่นเอง

เอาเป็นว่า หากตอบตามที่ถามมา ถ้าตอบในฐานะนักกฎหมายก็ตอบว่า คุณไม่ได้ถูกกลั่นแกล้งหรอกครับ เป็นอำนาจการสั่งการของนายจ้างที่สามารถทำได้
แต่ถ้าตอบแบบชาวบ้านๆ ก็ตอบว่า คุณโดนแล้วละครับ และจะถูกจัดหนักไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะทนไม่ได้แล้วลาออกไป 

ประมาณนี้ครับ

ก็ขอให้กำลังใจ สู้ต่อไปครับ

ทนายพร


508
อ่านดูแล้วก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อยนะครับ แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการโยกย้ายงานและการสิ้นสุดสัญญาจ้างก็มีกฎหมายกำหนดไว้ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.๒๔๖๘ บรรพ ๓ ลักษณะ ๖ ว่าด้วยเรื่องจ้างแรงงาน หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
ซึ่งในประเด็นการโยกย้ายงานไปทำงานกับบริษัท "ในเครือ" กับ การสั่งให้ไปทำงานที่สำนักงาน "สาขา" มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ หากเป็นบริษัทในเครือหมายความว่าบริษัทมากกว่าหนึ่งบริษัทม่ีความเกี่ยวพันกันอาจจะด้วยมีกรรมการบริษัทคนหนึ่งคนใดไปเป็นกรรมการบริษัทในอีกบริษัทหนึ่งหรือมีธุรกิจที่ต่อเนื่องกันกรณีเช่นนี้เรียกว่าบริษัทในเครือ
แต่หากมีบริษัทแมี และมีการขยายกิจการไปเปิด ณ สถานที่แห่งอื่น โดยเจ้าของเป็นคนๆเดียวกันหรือชุดเดียวกัน กรณีอย่างนี้เรียกว่า บริษัทสาขา
ซึ่งการที่นายจ้างสั่งให้ไปทำงาน ณ สำนักงานสาขา นั้น เป็นอำนาจที่นายจ้างสามารถสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานได้ แต่ตำแหน่งงานต้องไม่ต่ำกว่าเดิม
แต่ถ้าสั่งให้ไปทำงานในบริษัทในเครือนั้น ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม

แต่เมื่ออ่านจากที่เล่ามา ดูเหมือนว่าจะเป็นการโอนย้ายไปทำงาน ณ สำนักงานสาขา เพราะบอกว่าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน กรณีอย่างนี้ ไม่จำเป็นต้องเขียนใบลาออก แต่ควรใช้วิธีเขียนใบขอโอนย้าย เพื่อทำให้สิทธิไม่ว่าจะเป็นอายุงาน หรือสวัสดิการอื่นๆ เดินหน้าต่อไป

แต่ถ้าไปขอลาออก จะทำให้สิทธิตามที่กล่าวมาข้างต้นสิ้นสุดลงในทันที ความเป็นลูกจ้าง-นายจ้างระหว่างกันก็สิ้นสุดไปด้วย

เมื่อความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็มีอิสระต่อกัน จะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฎิบัติตามที่ตนต้องการหรือให้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาไม่ได้อีกต่อไป

ทีนี้ ก็ต้องอยู่ที่อำนาจการต่อรองว่าฝ่ายใดจะมีเหนือกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทย่อมมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะรับผู้สมัครใดเข้าทำงาน และถึงแม้ว่าเราอยากจะเป็นลูกจ้างของบริษัทนั้นๆมากเพียงใด กฎหมายก็ไม่สามารถไปบังคับให้บริษัทนั้นๆต้องรับเราเข้าทำงาน

ซึ่งบริษัทก็คงอยากจะรับเราเข้าทำงานอยู่หรอกเพียงแต่ว่า บริษัทอาจจะมีข้อสงสัยว่า รับเราเข้าไปแล้วเราจะลาออกหรือมั๊ยอ่ะ ซึ่งบริษัทก็คงจะมีความคาดหวังว่าพนักงานจะรักในองค์กรและอยู่กันนานๆเพื่อจะได้บริหารจัดการง่าย เพราะการรับพนักงานใหม่หนึ่งคน มีค่าใช้จ่ายทั้งค่าฝึกอบรมและอื่นๆอีกมากมาย

มันจึงเกิดเหตุการที่ผู้ถามประสบอยู่ในขณะนี้ล่ะครับ

ซึ่งตามที่ผู้ถามถามมาว่า "หนูสามารถทำอะไรได้บ้างคะ" ?

ก็คงตอบว่า คงทำอะไรไม่ได้ นอกจากทำใจ หรือไม่ก็ไปคุยกับหัวหน้า(คนใหม่)ว่าขอให้ช่วยสนับสนุนรับเราเข้าทำงานด้วย แต่ถ้าไม่เป็นผล ทนายก็แนะนำว่าให้ไปหาสมัครงานที่ใหม่เถอะครับ ยังมีบริษัทอีกมากมายที่ต้องการรับพนักงานอยู่

และขอให้คิดบวกไว้นะครับ ว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ ไม่แน่นะครับ อนาคตท่านอาจจะได้งานที่ดีกว่าที่ท่านคาดหวังไว้ในขณะนี้ ซึ่งหลายๆคนก็เจอสถานการณ์เช่นนี้แล้วไปหางานใหม่ ปรากฎว่าได้งานดีกว่าเดิม เงินดีกว่าเดิม เพื่อนร่วมงานดีกว่าเดิม หัวหน้าดีกว่าเดิม จนอดคิดไม่ได้ว่า รู้งี้ออกตั้งนานแล้ว

เอาเป็นว่าทนายใด้กำลังใจ สู้ต่อไปนะครับ

ทนายพร

509
ถามมาพอสรุปได้ว่า
ข้อ ๑. ถ้าไม่ได้เงินชดเชยตามที่ กม.กำหนด ผมจะต้องทำอย่างไรบ้างคับ?
ตอบ ก็เรียกร้องสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดช่องทางไว้ ห้ามไปทำร้าย, ข่มขู่ หรือกระทำการใดอันเป็นการผิดกฎหมายเพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายให้นะครับ มิเช่นนั้นงานจะงอกอ่ะครับ

แล้วถามต่อไปในประเด็นที่ ๒ ว่าไปร้องได้ที่ไหน และใช้หลักฐานอะไรรึป่าวคับ เคยเซ้นสัญญาไว้นานมากแล้วและนายจ้างเก็บไว้ มีการโอนค่าจ้างกันทุกเดือน ๒ ครั้ง กลางและสิ้นเดือนตลอดมาคับ
ทนายก็ขอตอบว่า คุณอยากไปทางใหนล่ะ ถ้าอยากได้แค่ค่าชดเชย ก็ไปร้องพนักงานตรวจแรงงาน(เขียนคำร้อง คร.๗) ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ ซึ่งช่องทางนี้ก็จะเร็วหน่อยโดยพนักงานตรวจแรงงานก็จะมีคำสั่งอย่างช้าไม่เกินเก้าสิบวันครับ (๖๐+๓๐) ซึ่งถ้าถามว่ามันอยู่ตรงใหนล่ะทนาย ....ก็หาใน Google เลยครับ
หรือถ้าไม่อยากไปสำนักงานสวัสดิการ ก็ไปฟ้องที่ศาลแรงงานครับ ซึ่งช่องทางนี้ไม่ค่อยอยากจะแนะนำ เพราะจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า และใช้เวลานานกว่าคดีจะสิ้นสุดครับ เลือกเอาครับ

ข้อ ๓. ถามต่อว่า และถ้าเียกได้ ค่าคอมมิชชั่น สามารถนำมานับรวมได้มั้ยคับ
ตอบ คงจะหมายถึงจะเอาค่าคอมฯมารวมเป็นฐานค่าจ้างในการคิดคำนวณค่าชดเลยว่าต้องนำมาคิดรวมได้มั๊ย น่าจะประมาณนี้ เอาเป็นว่า ตอบแบบฟันธงไม่ได้ว่าจะรวมได้หรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบของค่าคอมมิชชั้นที่คุณได้รับว่า ๑. เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เสมอๆ(หมายถึงปริมาณเท่ากันทุกเดือน) ๒. เงินที่นายจ้างจ่ายให้ประจำๆ (หมายถึงระยะเวลา) และ ๓.เงินที่นายจ้างจ่ายให้โดยไม่มีเงื่อนไข หากครบองค์ประกอบดังกล่าว คือเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แต่เท่าที่ดูฏีกา ส่วนใหญ่ ค่าคอมมิชชั่นจะไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อไม่ใช่ค่าจ้างจึงไม่สามารถนำมารวมคำนวนค่าชดเชยได้ครับ

เครียร์นะครับ..ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร


510
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนตำรวจยึดรถ
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2018, 01:45:24 am »
ทนายบอกได้คำเดียวว่า ซวยแระ... เอาเป็นว่า หากมีหมายเรียกมาก็ไปตามหมายเรียกนั้นและก็เล่าความจริงให้กับพนักงานสอบสวนฟัง ซึ่งขณะที่พบตำรวจก็สามารถหาบุคคลที่ไว้ใจหรือทนายความเข้าไปรับฟังได้นะครับ เป็นสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย และให้เตรียมหลักทรัพย์ไปประกันตัวด้วยนะครับ น่าจะ 9 หมื่นบาท
ส่วนข้อหา ก็คงจะเป็นรับของโจรละครับ ส่วนเพื่อนคุณก็คงไม่พ้นข้อหาลักทรัพย์หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าขโมยละครับ

เอาให้เข้าใจกฎหมายง่ายๆ ลักทรัพย์ คือ การที่เราไปเอาทรัพย์สินของคนอื่นเค้ามาโดยที่เจ้าของเขาไม่เห็นในขณะเอามา อย่างนี้เป็นลักทรัพย์ หรือขโมยนั่นแหละ
แต่ถ้า ตอนเอาทรัพย์เขามาในลักษณะใช้กำลังบังคับเอามา เรียกว่า ชิงทรัพย์ (ไม่ใช่ชิงโชคนะ..อิอิ)
หรือพาพักพวกไปตั้งแต่สามคนขึ้นไปใช้กำลังบังคับเอาทรัพย์เขามา อย่างนี้จะเรียกว่าปล้นทรัพย์ แต่ถ้าไปแค่สองคน จะเรียกร่วมกันชิงทรัพย์

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร



หน้า: 1 ... 32 33 [34] 35 36 ... 50