26/04/24 - 20:12 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40 ... 50
556
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คำถาม 4 ข้อ กฏหมาย
« เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2017, 02:12:25 pm »
เอาล่ะ..งานนี้ ทนายพรต้องมาทำข้อสอบอีกรอบ..ฮา

ถ้าตอบแล้ว ขอปริญญาอีกใบนะ..คริ คริ

ต้องเรียน ท่านผู้ที่จะตั้งคำถามทุกท่านนะครับ เว็บนี้ มุ่งเน้นตอบคำถามที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ และต้องการคำตอบไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ส่วนข้อกฎหมาย ที่มุ่งจะนำไปสอบนั้น อยากจะให้นักศึกษาหรือผู้กำลังศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง เพราะนั่นจะเป็นพัฒนาสมองของเรา ซึ่งปัญหาที่ถามมานี้ หากใครเรียนนิติศาสตร์มาก็จะตอบได้ เพราะไม่ได้ซับซ้อนอะไร

ดังนั้น อยากจะให้ใช้ความพยายามให้ถึงที่สุดในการศึกษาค้นคว้า แล้วองค์ความรู้ที่ได้ท่านจะภูมิใจ อันส่งผลในการทำงานด้านกฎหมายของท่านในอนาคตต่อไปครับ
ให้กำลังใจครับ

อนึ่ง ขอบคุณท่านมโนธรรม ที่มาตอบคำถามแทนทนาย ซึ่งคำตอบนั้นแสดงให้เห็นว่า ท่านมโนธรรมก็เป็นคนที่มีความรู้ด้านกฎหมายดีเลยทีเดียว ชื่นชมครับ

ทนายพร

557
กัญชา ถือเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งกัญชาจัดอยู่ในประเภท ๕
โดยโทษของประเภท ๕ มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างนี้ครับ

มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นราย ๆ ไป
การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๖/๑ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษไม่ถึงสิบกิโลกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคสองนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

สรุปเลยว่า หากครอบครองเพื่อเสพ ไม่ติดคุกหรอกครับ  รอลงอาญา  แต่ถ้ามีปริมาณมากและเพื่อจำหน่าย อันนี้ก็แล้วแต่บุญทำกรรมแต่งนะครับ ส่วนใหญ่มักจะไม่รอดครับ ดังนั้น ทำใจให้สบายๆ ไปตามที่ศาลนัด และห้ามหนีนะครับ ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร



558
เวลาน้อย เข้าเรื่อง ตอบตามคำถามเลยนะครับ
ถามว่า บริษัทสามารถฟ้องร้องดิฉันได้หรือไม่ค่ะ?   

แสดงว่าผู้ถามเป็นผู้หญิง เพราะมีคำว่า "ค่ะ" ใช่มั๊ยครับ..อิอิ...ตอบดังนี้ครับ ถ้าบริษัทจะฟ้องนะก็ฟ้องได้แน่ครับ หากมีการตกลงกันไว้ ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริษัทที่จะพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายอย่างไร เพียงใด หากพิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่ต้องรับผิด หรือพิสูจน์ได้ก็เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาจะเป็นผู้กำหนดครับ ซึ่งเป็นกรณีๆไปไม่มีสูตรตายตัวครับ

ถามต่อว่า เงื่อนไขว่าตามสมควร มันกว้างมากๆ ปกติแล้ว ค่าเสียหายจะพิจารณาอย่างไรค่ะ?

ทนายตอบว่า.. อยู่ที่ดุลพินิจของผู้พิพากษา แต่ให้แนวการต่อสู้ในข้อกฎหมายนิดเดียวว่า ให้ต่อสู้เรื่องข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ครับ ลองไปศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ

ถามต่ออีกว่า ตอนนี้เซนต์สัญญาทำงานที่ใหม่ไปแล้ว ไม่รู้จะทำไงต่อดี รบกวนคุณทนายด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ?
ืทนายก็ตอบว่า.. ก็ไปทำงานที่ใหม่ให้สบายใจเลยครับ อย่าได้กังวล เพราะกังวลไปก็ไม่ช่วยอะไร เอาเป็นว่า หากบริษัทฟ้องมาก็ต่อสู้ไป เชื่อว่าศาลก็คงจะพิจารณาตามความเหมาะสม คงไม่มากไม่มายหลอกครับ สบายใจได้ และยินดีตอบคำถามทุกคำถาม แต่ว่าก็จะช้าๆ แต่พยายามจะหาเวลาเข้ามาตอบทุกคำถามครับ...

ทนายพร

559
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนลดเงินเดือน
« เมื่อ: เมษายน 06, 2017, 12:36:33 am »
ทนายมาแล้ว ตอบช้ายังดีกว่าไม่ตอบ...จริงมั๊ย...อิอิ

ตอบเป็นข้อเพื่อให้เครียร์ตามคำถามเลยนะครับ
1.ผมจะไปเขียนใบลาออกดีไหม?

ตอบ ไม่รู้จะทันเวลาหรือเปล่านะครับ เพราะหากหายหน้าหายตาไปเกินสามวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างก็ยกเหตุละทิ้งหน้าที่มาเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินใดๆเลยอ่ะครับ

2.ผมจะฟ้องร้องค่าเสียหายได้หรือเปล่า?

ตอบ คงยากแล้วล่ะครับในขณะนี้ เว้นแต่ เรากลับไปทำงานตามปกติแล้ว นายจ้างลดค่าจ้างเรา , ไม่จ่ายสวัสดิการที่เคยได้ หรือที่เรียกรวมๆว่า กระทำการอันใดอันไม่เป็นคุณกับเรา เราก็ฟ้องได้ แต่ถ้าเราหายหน้าหายตาไปตามข้อหนึ่ง ทำได้ตอนนี้ก็คือทำใจครับ

3.ผมต้องใช้หลักฐานอะไรในการฟ้องบ้าง เพราะออกมาด้วยอาการสับสนและเครียด ไม่มีหลักฐานอะไรเลย?

ตอบ..อืมมมมม....จริงๆแล้ว คดีแรงงานใช้ระบบไต่สวน ศาลจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงเองและพิจารณาตัดสินใปตามรูปคดี แต่ปัญหาของคุณก็คือ นายจ้างยังไม่ได้แจ้งเลิกจ้างคุณนี่ดิ คือปัญหาสำคัญที่ทำให้คุณเสียสิทธินะครับ ฉะนั้น ลูกจ้างทั้งหลายจำไว้ว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ห้ามเขียนใบลาออก หรือเดินออกมาโดยไม่มีเหตุผล เพราะสิ่งที่คุณทำจะทำให้คุณเสียสิทธิตามกฎหมาย ก็ขอเตือนไว้อีกเป็นครั้งที่ร้อยครับ

4.วันหยุดประจำปี หรือวันอาทิตย์ ผมก็ไม่ได้หยุด ต้องไปคอยดูบริษัท (ไห้ข้าวสุนัข เปิดปิดไฟ)?

ตอบ อันนี้สู้ได้นะครับ แต่ต้องทำความจริงให้ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่า การไปให้ข้าวสุนัข เปิดปิดไฟ คือการทำงานให้กับนายจ้าง และนายจ้างเป็นผู้สั่งให้ทำงานดังกล่าว แต่หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปจากนี้ ก็ลำบากอยู่ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

560
ติดต่อเรา

สำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย พรนารายณ์และเพื่อน
Lawyer and Legal Advisor Pornnarai And Friends

 

75 หมู่ 2 สองคอนเหนือ ซอย 10 ถนนอดิเรกสาร

ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110

 
โทรศัพท์ : 081-3424263

(09.00 - 18.00 น. นอกเหนือจากเวลาดังกล่าวนี้ให้ติดต่อผ่านทาง email โดยตรงเท่านั้น)


Email : pornnarai2516@gmail.com

561
ก็มีโอกาสติดอยู่นะครับ โดยเฉพาะคดียาเสพติด ศาลมักจะไม่ค่อยปราณีซักเท่าใหร่ แต่ปัจจุบัน มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก้ไข กฎหมายเดิมหลายประการ ซึ่งกรณีของผู้ถาม ถ้าเพียงครอบครองก็จะเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๖๗ "ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาต
ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ” แต่หากรับสารภาพและเป็นความผิดครั้งแรกศาลอาจปราณี รอลงอาญาก็ได้นะครับ
ประมาณนี้ครับ
ทนายพร

562
อัยยะ...ถามสั้นดี..งั้นตอบสั้นๆละกัน..อิอิ

การก่อเกิดของสรรพสิ่งในโลกนี้ ย่อมมีที่มาที่ไป และผู้ใดเป็นผู้สร้างให้สันนิฐานว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ
ฉันใดก็ฉันเพล..ฮา

ถ้าผู้ถามไปสร้างร้านอาหารโดยเอาแบบมาจาก "หนังสือการ์ตูน" โดยรูปแบบนั้น ได้จดสิขสิทธิ์ไว้ ก็ผิดแน่ละครับ

ส่วนผิดแล้วจะทำอย่างไร?

ทนายแนะนำว่า ถ้ายังไม่สร้าง ให้ติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อขออนุญาตก่อน แต่ถ้าสร้างไปแล้ว นี่แหละปัญหาเกิดแหละ ยังงัยก็ยังต้องไปติดต่อเจ้าของลิขสิทธิอยู่ดี แล้วค่อยไปเจรจาค่าเสียหายกัน หรือถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์ยังไม่รุ้ ทนายแนะนำให้ (กระซิบๆ) รื้อแล้วสร้างแบบใหม่ แค่นี้ก็จบครับ ดูเหมือนแนะนำง่าย แต่ก็มีทางนี้ละครับที่เป็นทางออกไม่ต้องนอนสะดุ้งไปตลอดครับ

อนึ่ง สามารถตรวจสอบลิขสิทธิ หรือสิทธิบัตร ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร


563
ขอเข้าเรื่องและขอตอบเป็นข้อๆตามคำถามเลยนะครับ

1.บริษัทประกันภัยรถยนต์บรรทุกพ่วง ของบริษัท ก.พยามเลี่ยงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่างๆ อ้างว่ารอผลวิทยาการจาก ตำรวจ ผลวิทยาการคือผลอะไรใช้เวลานานเท่าไรกว่าผลจะออกมา

ตอบ ผลวิทยาการ คือการใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ในการชันสูตรศพถึงสาเหตุการตาย โดยปกติการตายผิดธรรมชาติ (เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุก็ถือว่าตายผิดธรรมชาติ) ต้องมีการส่งศพไปตรวจพิสูตร นั่นเองครับ ปกติใช้เวลาไม่นานครับ

2.พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาผู้ตายประมาทร่วมทั้งๆที่ผู้ตายได้สวมใส่หมวกกันน็อคและถุงมือนิรภัยป้องกันตนเองแล้ว อีกอย่างก่อนถึงจุดเกิดเหตุเป็นทางโค้งนิดๆเหลือระยะทางอีกประมาณ 70-80เมตรก็จะเลี้ยวซ้ายเข้าทางเข้าหมู่บ้าน ไม่ว่าใครๆขับรถมาก็ต้องขับชิดซ้ายเพื่อจะเลี้ยวเข้าหมู่บ้าน มีผลกับรูปคดีไหมหากโดนแจ้งประมาทร่วมจะต่อสู้อย่างไร

ตอบ มีผลต่อรูปคดีครับ หากเป็นประมาทร่วม เนื่องจากจะส่งผลต่อค่าเสียหาย หรือค่าสินใหมทดแทน ดังนั้น จึงต้องหาทางให้พนักงานสอบสวนเปลี่ยนสำนวนใหม่ ให้ได้ครับ หรือหากพนักงานสอบสวนไม่เปลี่ยนสำนวนให้ คงต้องออกแรกฟ้องเป็นคดีแพ่งแยกต่างหาก เพื่อให้เจ้าของรถบรรทุกรับผิดค่าสินใหมทดแทน ทั้งนี้ ต้องดูสถานที่เกิดเหตุจริงๆอีกครั้งว่าเป็นประมาทร่วมหรือไม่ โดยพิจารณาหลัก เรื่องความเร็ว วิธีการขัดขี่ อุปกรณ์ของรถ ไฟแสงสว่าง ลักษณะเส้นทาง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่าหลักวิญญูชนครับ

3.รถยนต์บรรทุกพ่วงคู่กรณีทางพนักงานสอบสวนได้ปล่อยให้บริษัท ก. นำกลับไปยังบริษัทแล้ว จะมีผลต่อรูปคดีไหมครับ

ตอบ ไม่มีผลหรอกครับ เพราะคดีนี้เป็นคดีอาญาเกี่ยวเนื่องคดีแพ่ง คดีอาญา คือ กระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ส่วนคดีแพ่ง คือละเมิด เรียกค่าสินใหมทดแทนครับ ดังนั้น ในชั้นศาลอย่าลืมสะกิดพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการให้เรียกค่าเสียหายให้ด้วยนะครับ หรือจะแยกฟ้องเรียกร้องเองก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดครับ

4.พอจะหาทนายให้ผมต่อสู้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและขอทราบค่าใช้จ่ายของทนายคร่าวๆด้วยครับ

ตอบ ค่าตอบแทนทนายความในการว่าความนั้น ไม่มีมาตรฐานตายตัว อยู่ที่ความยากง่าย ระยะทาง  โดยปกติสภาทนายความจะมีทนายอาสาให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนอยู่แล้ว ซึ่งท่านสามารถติดต่อได้ที่ศาลทุกศาลหรือจะติดต่อที่สภาทนายความก็ได้ครับ หรืออยากจะให้สำนักงานฯช่วยเหลือทางคดีให้ต้องมาคุยรายละเอียดกันอีกครั้งครับ โทรมาก็ได้ครับเดี๋ยวทนายพรแนะนำให้

ด้วยความเคารพผมเป็นบิดาของผู้ตายไม่รู้จะพึ่งใครแล้วนอกจากท่านทนายพร

ตอบ ต้องขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ คิดซะว่าทำบุญร่วมกันมาเท่านี้ และเค้าก็ไปสบายแล้ว เป็นลิขิตฟ้าที่ไม่อาจฝืนได้ และทุกอย่างก็จะก้าวไปตามเวลาที่ไม่มีวันย้อนกลับครับ ให้กำลังใจครับ

ทนายพร

564
อืมมม...ก็น่าเห็นใจคุณผู้ถามนะครับ

ข้อแนะนำของทนายคือ เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ยอมรับสารภาพในชั้นพนักงานสอบสวน และชั้นศาล ซึ่งก็จะได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่งของโทษที่ได้รับ และหากไม่เคยต้องโทษมาก่อนและโทษที่ศาลจะลงแก่แฟนของคุณไม่เกิน ๕ ปี ก็มีโอกาสที่ศาลจะรอการลงโทษก็อาจเป็นได้ครับ

ไม่มีทางเลือกอื่นใดครับ หากทำผิดจริงก็ต้องยอมรับผิดและรับผลของการกระทำตามกบิลเมืองต่อไป

คุณทำได้อย่างเดียวต้อนนี้ คือทำใจครับ และพยายามหาเงินมาประกันตัวออกไปก่อนในช่วงนี้ และห้ามหนีนะครับ 

และหากไม่มีเงินประกันตัวก็อาจจะต้องกัดฟันหาเงินเพื่อซื้อประกันอิสระภาพกับบริษัทรับประกันที่อยู่ที่ศาลก็ได้นะครับ(ให้เช่าหลักประกัน) ซึ่งเค้าจะคิดที่ร้อยละ ๑๐ ของหลักทรัพย์ที่ศาลหรือพนักงานสอบสวนเรียกครับ ลองติดต่อดูครับ

ทนายพร

565
ต้องขออภัยที่ตอบช้านะครับ แต่เครสนี้ ได้ตอบทางโทรศัพท์จนเป็นที่กระจ่างแล้ว...

อย่างไรก็ตามเพื่อให้แฟนๆเว็บไซด์นี้ได้รับรู้ด้วยก็จะขอตอบให้ได้รับรู้กันโดยทั่วไปครับ


ก่อนอืื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า "ทำงานไม่คุ้มเงินเดือน" หมายถึงอะไร? เอาอะไรมาวัด? และนายจ้างจะขอลดเงินเดือนได้หรือไม่? เพียงใด?
คำตอบคือ การทำงานคุ้มหรือไม่คุ้มก็อยู่ใครเป็นคนประเมิน..อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการตกลงเรื่องค่าจ้างกันแล้ว อยู่ๆ จะมาลดค่าจ้างนั้นกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า ลดไม่ได้ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์บริษัทขาดทุนจวนจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ก็ได้มีการประชุมพนักงาน,ผู้บริหาร ร่วมกันหาทางออก ท้ายที่สุด ก็มีมติว่า จะลดค่าจ้างทุกคนๆละ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ และพนักงานทุกคนก็เห็นชอบด้วย อย่างนี้ถือบังคับใช้ได้ แต่การปฎิบัติก็ต้องเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฎิบัติ หลักการเป็นอย่างนี้ครับ

และกรณีนี้ นายจ้างก็รู้กฎหมายดีว่า หากคุณไม่ยอมลดเงินเดือนแน่ๆ นายจ้างจึงได้ "กัดฟัน"จ่ายเงินเต็มจำนวนนั่นเอง

ส่วนประเด็นว่า นายจ้างได้เลิกจ้างแล้วหรือยัง? ประเด็นนี้ ถือว่านายจ้างได้แจ้งเลิกจ้างคุณแล้ว (แม้บอกด้วยวาจาก็ถือว่าเป็นการแจ้งแล้ว) ยิ่งมีหลักฐานเป็นคลิปด้วยแล้ว ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ในชั้นศาล หรือในชั้นพนักงานตรวจแรงงานครับ

ก็หลังจากนี้ ก็ไม่ต้องไปทำงาน และมีทางเลือกให้ ๒ ทาง คือ ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย หรือทางเลือกที่สอง ไปฟ้องศาลแรงงาน เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า , ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ

และกรณีของคุณนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีว่า ถึงแม้จะถูกกดดันต่างๆนาๆ แต่ไม่ก้มหัวต่อความอยุติธรรม จึงไม่ยินยอมเซ็นต์ใบอะไรซักอย่าง ซึ่งเมื่อคุณไม่เซ็นต์คุณก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตนเองต่อไปได้ครับ

แต่ถ้าหากคุณเซ็นต์ใบลาออกเสียแล้ว..ทุกอย่างก็จบครับ..

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร

566
อืมม...ปลูกกัญชา ไม่ทราบวัตถุประสงค์ว่าปลูกเพื่ออะไร แต่ทนายพออนุมานได้ว่า คงจะปลูกเอาไว้ไส่ต้มไก่ใช่ป่ะ...ซดไปขำไปไรงี้...แต่ถ้าไม่ใช่ (หรือใช่ก็ไม่แตกต่างกัน..ฮา) ก็ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดครับ

ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่า เจ้ากัญชาที่ว่ามันผิดกฎหมายอะไรบ้าง? และมันเป็นยาเสพติดหรือไม่?

มาดูนิยามกัน...ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาชนิดใด ๆ หรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายสมองและจิตใจ

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษ (มาตรา7) ออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

 ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มี 38 รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี

ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา) ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)

ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย

ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ , อาเซติค คลอไรด์

ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม และพืชเห็ดขี้ควาย

ส่วนโทษของการปลูก(ผลิต)ก็คือ จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (ม.75ว.1)
และโทษของการคลอบครอง ก็คือจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ม.76 ว.1)
ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.26ว.2) จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (ม.76ว.2)

เข้าใจตรงกันนะครับ

ทนายพร


567
เอาเป็นว่าไม่พูดพร่ำทำเพลงล่ะ ตอบเป็นข้อๆตามที่ถามเลย (เวลามีน้อยๆ..อิอิ)

1. ตรวจเจอสาร ครั้งที่ 1 เซ็นต์รับทราบใบเตือน ผ่านมา 3-4 วัน ตรวจซ้ำ เจอสารปริมาณลดลง กรณีนี้ คือ การตรวจเจอสาร 2 ครั้งหรือไม่ค่ะ หรือเป็นแค่การ ติดตามผล เพราะ ระยะเวลาในการตรวจ สารยังคงตกค้างในร่างกาย

ตอบ สารเสพติดหากมีการเสพเข้าสู่ร่างกายแล้ว สารดังกล่าวสามารถอยู่ในร่างกายได้ประมาณหนึ่งเดือน ซึ่งหากตรวจภายหลังที่เสพใหม่ๆ สีของสารที่ตรวจได้ก็จะเป็นสีเข้ม และเมื่อวันเวลาผ่านไป สีก็จะจางลงเรื่อยๆ จนหมดไปตามปริมาณที่เสพเข้าไปครับ ซึ่งจากคำถามก็คงตอบได้ว่าเป็นสารตกค้างครับ

2. ตรวจครั้งสุดท้าย คือครั้งที่ 4 ทางบริษัท ฯ ไม่แสดงผลตรวจที่ชัดเจน และไม่แจ้งรายละเอียดใด ๆ บอกแค่ว่ามีสารในร่างกาย พนักงานมีการร้องขอให้แยกสาร แต่บริษัท ฯ ไม่ดำเนินการใดๆ แต่ให้พนักงานเขียนใบลาออกและสิ้นสุดการทำงาน ทันที แบบนี้ บริษัท ฯ ปฎิบัติถูกต้องหรือไม่

ตอบ ก็คงตอบตรงๆ ไม่ได้ว่าถูกหรือผิดนะครับ ก็อย่างที่บอกว่า เมื่อรู้ว่าตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย ถ้าเราไม่ได้เสพจริงก็ควรจะหาวิธีมายืนยันว่าสารสีม่วงที่พบไม่ใช่สารเสพติดแต่เป็นยาปฎิชีวนะ เราก็จะต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้โรงพยาบาลนำฉี่เราไปตรวจหาว่าที่เป็นสีม่วงนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งตัวเราเองจะรู้ว่าทำอะไรไว้ และนำผลการตรวจนี้มายืนยันและปกป้องตนเองได้ และที่สำคัญไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากเราคิดว่าเราบริสุทธิก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องไปเขียนใบลาออกครับ
 
3.  บริษัท ฯ แจ้งว่า มีการตรวจสารทั้งหมด 4 ครั้ง ตรวจเจอสาร 3 ครั้ง ให้ออกจากงาน เป็นข้อเท็จจริง หรือป่าวค่ะ 
 
ตอบ   อืมมมม...ข้อนี้ ทนายงง...ครับ ...เอางี้ ให้ถามใหม่ๆ...อิอิ

4.  ล่าสุด ทางที่ปรึกษาบริษัท ฯ กล่าวหาว่า ลูกจ้างมีการจำหน่ายยาเสพติด ....???

ตอบ  ถ้าการกล่าวหานั้นเอ่ยชื่อเรา และคิดว่าเราเสียหาย (ไม่ได้ขายจริง) ก็สามารถฟ้องต่อศาลข้อหาหมิ่นประมาทได้ครับ

5.อยากทราบว่า สิ่งที่บริษัท ฯ กระทำกับลูกจ้างแบบนี้ ถูกต้องหรือไม่ค่ะ และหากลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม จะฟ้องร้อง อะไรได้หรือไม่ค่ะ  ??????

ตอบ บริษัทก็คงจะทำไม่ถูกซะทีเดียว แต่ประเด็นปัญหาก็คือ การที่แฟนคุณไปเซ็นต์ใบลาออกนี่ซิคือปัญหา เพราะเป็นการตัดช่องทางที่จะไปใช้สิทธิในทางศาลในการเรียกร้องความเป็นธรรม ซึ่งทนายก็ได้พร่ำบอกอยู่เสมอๆว่า หากคิดว่าเราไม่ได้ทำผิด ก็ไม่ต้องเซ็นต์ใบลาออก ถ้าลาออกเมื่อไหร่ ทุกอย่างก็คือจบครับ

หากยังสงสัยก็สอบถามเข้ามาได้ใหม่นะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

568
นี่ก็เป็นอีกเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี่ ที่ส่งผลต่อการทำงาน
ไม่ว่ากัน เมื่อโลกทันสมัยขึ้น เราก็ต้องก้าวตามให้ทันกับความทันสมัย เดี๋ยวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนล้าสมัย...

แต่ทนายพรก็ไม่มี Line หรือ FB นะครับ...ฮา (โครตล้าสมัยแต่มันดีต่อใจนะคร๊าบบบบ)

จากปัญหา ก็เป็นส่ิงที่ลูกจ้างประสบพบเจออยู่เป็นประจำ ถูกกดขี่ ถูกขูดรีด และถูกบีบบังคับ ทำอย่างกับลูกจ้างไม่ใช่คน ซึ่งก็ต้องยอมรับเมื่อเราเข้าไปอยู่ในวังวนของระบบทุนนิยม ที่ยังต้องใช้เงินในการดำรงชีวิตอยู่ครับ และจากคำถามที่ถามว่า "จะขอลาออกได้ใหม?"

 ตอบได้เลยความว่า ถ้าคุณทำงานแล้วไม่สบายใจ ก็ลาออกเถอะครับ ไปตั้งต้นชีวิตใหม่ ซึ่งการขอลาออกนั้น เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย เว้นแต่ว่า มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้ลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือก่อนก็วันก็ต้องปฎิบัติไปตามนั้น มิเช่นนั้น หากเกิดความเสียหายลูกจ้างก็ต้องรับผิดชอบ แต่นายจ้างต้องพิสูจน์ว่าเสียหายอย่างไร

นี่แหละครับ การพูดตรง บ้างครั้งก็เกิดผลกระทบเหมือนกัน ถ้านายจ้างใจไม่กว้างไม่กล้ารับความจริง ก็จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ล่ะครับ

ส่วนข้อแนะนำก็คือ เข้าไปคุยตรงๆว่าเราทำอะไรให้ไม่ถูกใจก็ขอโทษขอโพยไป หรือถ้าไม่อยากได้เราเป็นลูกจ้างแล้วก็เลิกจ้างเราซะและจ่ายค่าชดเชยมา หรือไม่อยากขอโทษ และไม่สนใจค่าชดเชย ก็คงมีทางเลือกเดียวก็คือ "ลาออก"

และไปหาความท้าทายใหม่ๆ และนึกไว้เสมอว่า ทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสเสมอ ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

569
ทนายให้คำปรึกษาได้ แต่จะถูกใจในคำแนะนำหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องนะครับ เพราะคำแนะนำของทนายพรตั้งอยู่บนหลักความเป็นจริง ไม่สร้างความฝันในอากาศ อันใหนสู้ได้ ก็จะบอกว่าสู้ได้ หรือถ้าสู้ไม่ได้ก็จะบอกแบบตรงไปตรงมา
กรณีปัญหาที่เล่ามานั้น ก็มีข้อแนะนำว่า "ให้รอ" เพราะทำอะไรตอนนี้ก็ไม่ได้ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(ไม่ใช่แรงงานจังหวัด) นั้น ก็ได้แนะนำถูกแล้วครับ เนื่องจากในระหว่างนี้ นิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างยังบังคับใช้อยู่ หากอยากออกไปทำงานที่ใหม่ก็ต้องลาออกเอง นั้นก็หมายความว่า ค่าชดเชยก็จะไม่ได้รับ เว้นแต่คุณจะไปคุยกับนายจ้างให้จ่ายให้ อันนี้ก็เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับบริษัท ถ้าคุยเเล้ว โอเคร คุณก็ไปเร่ิมงานที่ใหม่ได้เลย แต่จะไม่ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมนะครับ
หรืออีกทางเลือกก็ทำงานต่อไป แล้วรอหนังสือเลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย เมื่อได้หนังสือเลิกจ้างมาแล้วก็ไปนอนตีพุง พักซักเดือนสองเดือน(แบบว่าตอนทำงานไม่ค่อยมีโอกาสได้หยุดงานยาวๆ อะไรงี้) โดยนำหนังสือเลิกจ้างนี้ไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานที่จัดหางานจังหวัด เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างจำนวน ๖ เดือน
ข้อแนะนำของทนายก็มีประมาณนี้ครับ
ทนายพร

570
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: แรงงานต่างด้าว
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2017, 08:22:21 am »
จากเรื่องที่เล่ามา ให้ยึดหลักการกฎหมายเป็นสำคัญครับ ไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติหรือคนไทย ก็ถือว่าเป็นลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ทั้งนี้ให้พิจารณาว่าตามระเบียบขั้นตอนว่ามีขั้นตอนการลงโทษอย่างไรก่อนที่จะมาถึงการเลิกจ้าง ถ้าเตรียมเอกสารในส่วนนี้ไปศาลด้วยได้ในวันไกล่เกลี่ยจะดีมาก

นอกจากนั้นแล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ นอกจากค่าจ้างที่ค้างจ่ายแล้วที่นายจ้างต้องจ่ายแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามอายุงานโดยลูกจ้างที่มีทำงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย ๙๐ วัน รวมทั้งค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีก ๑ เดือน

จริงๆแล้วในเบื้องต้น หากลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายสามารถยื่นคำร้องที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ที่ลูกจ้างปฏิบัติงานได้ตลอดครับ หรือหากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในการปฏิบัติตามกฎหมายสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครเขต ๑ - ๑๐ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน ๑๕๔๖

เอาเป็นว่า คุณมีสิทธิได้รับค่าแรงที่ได้ทำมาแล้ว นายจ้างจะอ้างโน้นอ้างนี่เพื่อที่จะไม่จ่ายไม่ได้ หากนายจ้างไม่จ่ายคุณก็มีสิทธิที่จะได้เงินเพิ่มร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วันครับ...ฟันธง

ทนายพร

หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40 ... 50