27/04/24 - 03:27 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14
136
การเลิกจ้าง

1. จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ

ตอบ...ถ้าทำสัญญาจ้างเป็นรายเดือนชัดเจน  "เมื่อครบสัญญาจ้าง สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกล่าวล่วงหน้า"    ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.17 วรรคแรก กรณีนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย....แต่การจ้างรายเดือน ทำนองเป็นการจ่ายค่าจ้างรายเดือน เรื่อยๆไป น่าจะเข้าข่ายเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน  เมื่อถูกเลิกจ้าง  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม ม.118..(คือทำงาน 120 วัน ไม่ครบปี ต้องจ่ายเงินชดเชย 30 วัน...ทำงานหนึ่งปีไม่ถึงสามปี จ่ายฯ 90 วัน...ทำงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายฯ 180วัน ..ทำงาน ครบ6 ปี ไม่ถึง 10 ปี ต้องจ่ายเงินชดเชย 240 วัน  เป็นต้น).นายจ้างน่าจะทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ดี   จึงพยายายามจะเจรจาต่อรองขอจ่ายเงินชดเชย เพียง  50 %  ถ้าการเจรจาไม่ลงตัว  ก็ควรร้อง พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ที่ทำงาน...


2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ

ตอบ....ก็คงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา แต่นายจ้างพยายาม  จะให้เป็นการที่มีกำหนดเวลาที่แน่นนอน  เพื่อให้มีผลตามกฎหมายว่า ถ้าเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย  อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย  ถ้ามีข้อพิพาทคงต้องให้ศาลแรงงานวินิจฉัย ครับ

137
ถาม...หนู ขอสอบถามหน่อยค่ะ
คดีขับเสพ ผู้ต้องหาฝากขังอยู่ถ้าศาลตัดสิ้น ให้เสียค่าปรับ จะหักลบกับที่ผู้ต้องหา ติดอยู่ในระหว่างฝากขังไหมค่ะ หรือ เริ่มนับใหม่

ตอบ...การรับโทษในคดีอาญา...  ตาม ปอ. ม.30 วรรคสอง  "ในการคำนวณระยะเวลานั้น  ให้นับวันเริ่มกักแทนค่าปรับรวมเข้าด้วย....ฯ"  โดยหลักต้องหักวันที่ถูกกักขังออก  แต่..การฝากขัง  อาจจะไม่เข้าข่ายการกักขังแทนค่าปรับ  เมื้่อศาลลงโทษให้กักขัง อาจต้องนับเวลากันใหม่ก็ได้  เรื่องแบบนี้ ค่อนข้างจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย  ก็ต้องอยู่ที่ดุลพินิจของศาลเป็นสำคัญ....
 

138
การเลิกจ้าง
  คุณคงไม่ได้รับเงินชดเชย  เพราะทำงานไม่ถึง 120 วัน ส่วนเงินค่าจ้างคุณต้องได้รับตามสิทธิ์ จะ 5 วันหรือ  10 วัน เป็นข้อเท็จจริงต้องหาทางพิสูจน์ให้เห็นจริงว่ากี่วันกันแน่...ส่วนค่าเสียหาย  บริษัทก็มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า คุณทำให้เกิดความจริง มูลค่าเสียหายเท่าไร...  ใช้วิธีร้องเรียน พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ทำงาน ให้ช่วยเหลือ...

139
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สวัสดีค่ะ ทนายพร
« เมื่อ: เมษายน 02, 2020, 01:29:16 am »
การซื้อขาย

  เมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าที่สั่งซื้อครบถ้วน  ถือว่าได้ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว ส่วนของแถม ถ้าไม่ได้รับตามที่ตกลงกัน  อาจจะมีช่องทางฟ้องร้องได้   ถ้าของแแถมนั้นมีส่วนจูงใจให้ซื้อสินค้านั้น  แต่เป็นเรื่องการผิดสัญญาทางแพ่ง  ถ้าจะฟ้องน่าจะไม่คุ้ม  ก็ลองร้อง สคบ. ดู....สายด่วน 1166...

140
การถูกเลิกจ้าง

  ถ้าถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ไม่มีความผิด) ต้องได้รับเงินชดเชย   แต่ถ้าไปลาออกเอง  สิทธิการรับเงินชดเชย คงไม่มี....การเซ็นเอกสาร  อาจเป็นการลาออก  การจะพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า ไม่มีเจตนาลาออก ย่อมลำบากพอสมควร

141
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามครับ
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2020, 08:28:39 am »
ลิขสิทธิ์
  ผู้ขายคงจะอ้าง พรบ.ลิขสิทธิ์  เพื่อปรามไม่ให้คุณนำไปเผยแพร่  แต่ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ก็มีข้อยกเว้นความผิดไว้ ตาม ม.32  เช่น การใช้ประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท... นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและการตอบในการสอบ ตาม ม.32 (1) (8) เป็นต้น  ทางแก้ไข  ถ้ามีการแบ่งปันให้เพื่อน  ก็ไม่ต้องไปแจ้งใครๆ แม้จะไม่มีความผิด แต่ถ้ามีการฟ้องร้องก็ย่อมยุ่งยาก

142
ควรหารือพนักงานตรวจแรงงานก่อน...

143
ปัญหาแรงงาน

  ถ้าถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ไม่มีความผิด) นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 กรณีที่ถาม  จะได้เงินชดเชย 90 วัน ตาม ม.118(2)(ถ้ารับเพียง 30 วัน ถือว่าเสียเปรียบเกินไป)...และตามข่าวจะได้เงินชดเชยจากรัฐ 3 เดือน เดือน ละ  5,000  บาท ( เมษายน  พฤษภาคม  มิถุนายน )ก็ต้องติดตามหาช่องทางรับการช่วยเหลือ...

-   มีข้อควรระวังอะไรในหนังสือเลิกจ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ตอบ...ถ้าเป็นหนังสือเจตนาลาออก  สิทธิในการรับเงินชดเชยจะหมดไป  ก็ต้องอ่านให้เข้าใจก่อน ลงลายมือชื่อ  ถ้ายังไม่เข้าใจ ควรปรึกษาผู้รู้จริงก่อน
-   ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการ ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง หากทำได้

ตอบ...ถ้ามีปัญหาเจรจาไม่ได้ข้อยุติ ควรร้องเรียน ต่อ พนักงานตรวจแรงงาน  ในท้องที่ที่ทำงาน ตาม ม.123 เรื่องฟ้องร้อง  คงมีการแนะนำจากเจ้าหน้าที่...

144
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กฏหมาย
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2020, 09:10:23 am »
คดียาเสพติด

  แม้จะมีการแก้ไข พรบ.ยาเสพติดฯ บางมาตรา  แต่โทษคงไม่มีการลดลง  ถ้ามีการกระทำความผิด  ทางรอดก็คือถ้าทำผิดจริง ก็ควรรับสารภาพแต่แรก  ย่อมเป็นเหตุบรรเทาโทษ  อาจจะ....โชคดีไม่ถูกจำคุกก็ได้  ก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลเป็นสำคัญ...

145
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การประกัน
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2020, 07:33:33 am »
คดียาเสพติด
  การขังสามวัน  น่าจะเป็นการฝากขังฯ  น่าจะยังไม่่มีคำพิพากษาออกมา  ควรตรวจสอบให้ชัดเจนอีกที...ถ้าศาลยังไม่มีคำพิพากษา  ก็ยังไม่ถึงขั้นต้องยื่นอุทธรณ์
  ถ้าศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา  ก็ต้องยื่นอุทธรณ์...สำหรับการขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัว โดยหลักสามารถทำได้  ต้องยื่นเรื่องไปตามขั้นตอน  ก็สอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาลได้....การรับสารภาพ ย่อมเป็นเหตุบรรเทาโทษ  ถ้าทำผิดจริง  ก็ไม่ต้องไปต่อสู้คดี...

146
คดียาเสพติด
  ต้องสอบถามข้อมูลจากพนักงานสอบสวนก่อนว่า ถูกตั้งข้อหาอะไร  เพราะโทษฯขึ้นอยู่กับการตั้งข้อหา...แต่มีปริมาณไม่มากนัก  อาจจะ...ถูกตั้งข้อหาครอบครอง มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000  บาท - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( ม.67  พรบ.ยาเสพติดฯ) ในเมื่ออายุน้อย และรับสารภาพ คงมีเหตุบรรเทาโทษ แต่จะให้ตอบให้ชัดเจนว่า ศาลจะลงกี่ปี   คงตอบไม่ได้  เพราะเป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น...การขอปล่อยตัวชั่วคราว(ประกันตัว) โดยหลักสามารถทำได้  ติดต่อสอบถามฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศาลได้...

147
ผู้รับจ้างทิ้งงาน

  เป็นการจ้างทำของ  แม้ไม่มีสัญญาเพียงตกลงกันด้วยวาจาก็ได้บังคับได้...คือฟ้องร้องได้.....การจ้างทำงานแบบนี้ต้องรัดกุมรอบคอบ  คือมีข้อตกลงกันชัดเจนในแต่ละงวดที่จะจ่ายเงินว่า มีเนื้องานในแต่ละงวดอะไรบ้าง  เมื่องานสำเร็จตามข้อตกลง จึงจ่ายเงินเป็นงวดๆไป....การจ่ายเงินล่วงหน้า 2 งวด สามารถทำได้  แต่ถ้าผู้รับจ้างเล่นไม่ซื่อคือทิ้งงานไป  ถ้าการเจรจาไม่ได้ผล  ก็ต้องฟ้องทางแพ่งเท่านั้น....(ความเห็น)ก็ใช้วิธีหักกลบหนี้  เนื้องานที่ผู้รับจ้างทำลงไป ให้คงเหลือไม่เกินสามแสนบาท  เพื่อให้สามารถฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ ที่มีค่าใช้จ่ายไม่เกินหนึ่งพัน ซึ่งมีช่องทางฟ้องด้วยวาจาได้  ซึ่งค่าใช้จ่ายคงน้อยลง....แต่จะฟ้องเรียกเต็มจำนวนก็ได้  ค่าขึ้นศาลก็ประมาณ หมื่นเศษๆ ส่วนค่าทนายความ ก็เจรจาตกลงกันเอาเอง...ส่วนด้านตำรวจ  ที่เขามีการติดต่อให้  ก็คงต้องการให้มาเคลียร์ปัญหากัน  ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องฟ้องศาล ครับ

148
พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  พ.ศ. 2562

  พรบ.นี้ เพิ่งประกาศใช้ใหม่ ยังไม่ถึงปี  มีรายละเอียดและข้อปฏิบัติมากมายพอสมควร ควรดาวน์โหลดมาอ่านทำความเข้าใจให้ถ่องแท้  แต่หลักการหนึ่งที่พึงยึดถือไว้ให้มั่นคง  คือ หลักสุจริต  ตาม ม.22 ม.23  และการได้รับความยินยอมจากเจัาของข้อมูลเป็นสำคัญ  ถ้ากระทำการใดๆโดยสุจริต  ย่อมเป็นเกราะคุม้ภัยได้เสมอ...
   ข้อเท็จจริงที่บอกมา ถึง มาตรการรักษาความปลอดภัยของนิติฯของหมู่บ้าน ถือเป็นมาตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  คงไม่มีความผิด   แต่อยากแสดงความเห็น ขอให้ลด ความเข้มงวดลง เพื่อความพึงพอใจของผู้เข้าออก หรือมาติดต่อในหมู่บ้าน เช่น ไม่จำเป็นต้องแลกบัตรฯ เพียงขอดูบัตรฯ และขอนุญาตเจ้าของบัตรฯ ถ่ายสำเนาเก็บไว้ และมีตรายางประทับสำเนาบัตรฯว่า ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านเท่านั้น และระบุไว้ชัดเจนว่า สำเนาบัตรฯนี้ จะเก็บไว้ไม่เกิน 30 วัน เป็นต้น โดยระบุระบบการทำลายเอกสารที่ชัดเจน...การนำบัตรฯไปส่องที่กล้องฯ ไม่ควรจะต้องทำ  เพราะคงเกิดความรู้สึกไม่ดีกับผู้มาติดต่อ เพียงมีสำเนาบัตรฯ ก็น่าจะป้องกันปัญหาต่างๆ ได้พอสมควร  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

149
อำนาจของศาล
 ตามข้อเท็จจริง  เมื่อถูกตั้งข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย   ในเมื่อนำหนักไม่เกิน 10 กก. จะมีโทษจำคุก 2-10 ปี  ปรับ 40,000 -200,000  บาท  แต่จะให้ตอบว่าศาลจะลงโทษอย่างไร หรือรอดหรือไม่ คงตอบไม่ได้  เพราะเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น...การรับสารภาพย่อมเป็นเหตุบรรเทาโทษ...

150
ค่าสินไหมทดแทน
 เรื่องค่าเสียหายทางแพ่ง  ถ้าคู่กรณีไม่จ่ายหรือจ่ายไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา  ถ้าเจรจากันไม่เป็นผล  ก็ต้องบังคับคดี  เพื่อยึดทรัพย์สินไปขายยทอดตลาด เพื่อใช้หนี้ตามคำพิพากษา  ควรมีทนายช่วยเหลือ ครับ

หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14