19/04/24 - 08:15 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
16
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดีขับเสพ
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2021, 12:13:37 pm »
การถูกดำเนินคดี...

   ข้อหาเสพแล้วขับ โทษคง 1 ปี อายุความก็ 5 ปี....โทษตาม พรก.ฉุกเฉินฯ  ก็คง 2 ปี  อายุความก็  10 ปี....ก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องอายุความ คือคิดว่า หมดอายุความแล้วก็คงพ้นโทษ ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่เขาคงไม่ปล่อยคดีให้ขาดอายุความง่ายๆแน่นอน...ประเด็นเรื่องการคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ไปอยู่ทะเบียนบ้านกลาง  ก็แปลกใจว่า เขาทำได้หรือ   ถ้าทำได้ น่าจะมีเหตุผลอื่นแน่นอน  ต้องสอบถาม เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ ให้ชัดเจนอีกที
.


17
ร้องผู้ตรวจการแรงงาน ในท้องที่ คงช่วยได้..

18
การจ้างงาน
 เ้มื่อมีกำหนดวันจ้างชัดเจน  คือ 120 วัน เมื่อครบสัญญาจ้าง ก็สามารถเลิกจ้างได้  เรื่องความผิด ไม่น่าจะมี....เรื่องคลิปเสียงถ้านำไปเปิดเผย  กลุ่มนายจ้างอาจจะมองว่า เป็นคนเจ้าปัญหา  การหางานทำน่าจะลำบาก  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

19
กฎหมายและสังคม

1.ต้องทำยังไง มีขั้นมีตอนยังไงบ้าง

ตอบ....แจ้งเตือนแล้ว  ไม่ได้ผล  ก้ต้องแจ้งท้องถิ่น (เทศบาล)  ให้เจ้าหน้าที่ช่วยตักเตือน
2.ทำให้เป็นอาญาไม่ได้หรือ หรือถ้าเรามีคลิปเสียงก็ทำอะไรไม่ได้หรือ หรือต้องใช้หลักฐานอื่นๆอีกฃ

ตอบ....ความผิดอาญา  ก็พอมี คือ ปอ. ม.370 "ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตึอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท" ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ  คือโทษเล็กๆน้อยๆ   ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า เสียงนั้นเดือดร้อนเกินควร  ถ้ามีความเดือดร้อนจริง  ตำรวจอาจจะเปรียบเทียบปรับ 2-3 ร้อยบาท หรือ 500  บาท.... หรือจะใช้วิธีฟ้องทางแพ้่งฐายนละเมิด  ให้ยุติการกระทำ และเรียกค่าสินไหมฯ  แต่ต้องฟ้องร้องเอง หรือจ้างทนายความดำเนินการให้ จึงบอกแต่แรกว่า มันคงไม่คุ้ม...
3.แล้วถ้ากฏหมายพึ่งไม่ได้จริงๆ เราลงบันทึกประจำวัน และร้องทุกข์เอาไว้แล้วให้ตำรวจมาเตือน ถ้าไม่หยุดไม่แจ้งซ้ำอีกจะมีความแตกต่างจากครั้งแรกหรือไม่ หรือจะวน loop ซ้ำซากไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วเราเลือกแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ด้วยวิธีที่ผิดกฏหมาย ไร้คุณธรรม เช่น ทำเสียงรบกวนคืนไป หรือทะเลาะวิวาท หรืออื่นๆ แต่ไม่รุนแรงมาก หลังจากนั้นฝ่ายเขาสามารถเอาผิดเราทางกฏหมายได้ไหม เช่น ข้อหาทำร้ายร่างกาย และอื่นๆ เพราะเราลงบันทึกประจำวันไว้แล้วแปลว่าเรามีหลักฐานว่าเราไม่ได้เริ่มเรื่อง และได้พยายามหาคนช่วยแล้ว แต่ไม่สำเร็จ
ตอบ...ถ้าเราไปก่อเหตุ ดังที่บอก ก็คงถูกดำเนินคดีตามกรรมที่กระทำลงไป  เช่นทำร้ายร่างกาย  หรือพยายามฆ่า บุกรุก เป็นต้น   การแจ้งตำรวจไว้ คงไม่สามารถช่วยคุ้มภัยได้ว่า จะไม่ถูกดำเนินคดี ถ้ามีการกระทำความผิด....ท่านศึกษาธรรมะมาจนแตกฉาน  ย่อมเข้าใจดีว่า โลกนี้ มันโหด อำมหิต...มีคำพูดของผู้สันทัดกรณีว่าไว้  "ผู้ดีเดินตรอก  ขี้ครอกเดินถนน " กระเบื้องเฟื่องฟูลอย   น้ำเต้าน้อยจะถอยจม" สรุปคือคนดี ต้องอยู่แบบหลบๆซ่อนๆ  ส่วนคนชั่วเดินกร่างเต็มถนน  ไม่มีใครกล้าตอแย  เพราะคนเหล่านี้ ทราบขั้นตอนของกฎหมายดี   คือถ้ากระทำความผิด มีหมายเรียกไปพบตำรวจ 
ก็ขอประกันตัว  เลื่อนไปเลื่อนมา กว่าจะถึงศาลอาจข้ามเดือนข้ามปี  ถ้าสารภาพ ก็ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง  ถ้าจำคุกไม่เกิน 5 ปี กฎหมายก็เปิดช่องให้มีการรอการลงโทษ (รออาญา) ออกมาเดินกร่างเต็มถนน  และด่าแช่งผู้คนได้ตามอำเภอใจ ดังที่เห็นๆ  เราสาธุชน ก็ต้องหลบๆเลี่ยงๆไปวันๆ...เอวัง

20
เสียงรบกวน

1.ต้องมีขั้นตอนเดินเรื่องทางกฏหมายให้ถึงที่สุดอย่างไรบ้าง

ตอบ...ก็ใช้การเจรจาพูดจาขอร้องกัน หรือไลน์ไปบอกเขา แต่ก็พึงระมัดระวัง เพราะการไม่รู้นิสัยใจคอกัน การไปพูดคุย หรือไลน์คุยกัน อาจจะมีปัญหาอื่นๆตามมาได้

2.ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ตอบ..เรื่องแบบนี้ ก็คงไม่ต้องไปใช้หลักฐานอะไรมากมาย เพียงระบุวันเวลาที่มีเสียงรบกวน

3.มีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง
ตอบ...เรื่องที่คุณประสบอยู่ แม้จะเป็นเรื่องหนักหนาพอสมควร เพราะการพักผ่อนอาจไม่เพียงพอ หงุดหงิดรำคาญใจ แต่ในทางกฎหมาย ถือเป็นการละเมิด ( ม.420 ม.421 ม.432 )ตามที่คุณยกมา ซึ่ีงเป็นความรับผิดทางแพ่ง ในทางกฎหมายถือเป็นเรื่องเล็กน้อย ถ้าไปแจ้งความ ตำรวจก็คงให้เจรจาไกล่เกลี่ยกัน ซึ่งอาจจะไม่คุ้มกับวันเวลาที่ต้องเสียไป ถ้าไปเจอคนมีสามัญสำนึก รู้ชั่วดี เพียงเขาขอร้อง ก็หยุดการกระทำแล้ว แต่ถ้าเป็นประเภท นักเลงหัวไม้ ใจคออำมหิต อาจจะปองร้ายเราได้... เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมโลกกับคนดี คนชั่ว คนบ้า คนโหด คนไม่รู้ภาษา(ไม่รู้ว่าอะไรควรไม่ควร)ฯลฯ ก็ต้องใช้เทคนิคเอาตัวรอดไปวันๆ เรื่องแบบนี้ ก็เข้าใจดีว่าคุณเดือดร้อน แต่กฎหมายก็คงเยียวยาไม่ได้เท่าที่ควร ด้วยความปรารถนาดี ครับ

21
ครูกับนักเรียน

  การเคยถูกสอบข้อเท็จจริง เรื่องชู้สาว  และไม่มีการลงโทษ  จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  ถือว่าเรื่องราวยุติลงไปแล้ว....การจะกลับมาคบหากันใหม่ ก็ไม่มีข้อห้ามใดๆ  ก็ต้องพยายามรักษากรอบ ในการคบหากัน  ให้อยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย  บทเรียนครั้งก่อน  ก็ต้องนำมาเป็นสิ่งเตือนใจ  ถ้ารักกันมั่นคง   ก็สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้   แต่อายุเพียง 17 ปี ต้องให้ผู้ปกครองยินยอมด้วย  จึงจะจดทะเบียนสมรสกันได้....แต่อยู่ๆจะไปจดทะเบียนสมรสกัน ในฐานะฝ่ายหญิง น่าจะเสียเปรียบ การรักกันชอบกัน เป็นเรื่องดีงาม แต่ต้องมีขั้นตอน ตามประเพณีไทย   คือต้องมีการทาบทามสู่ขอ  หมั้นหมาย แต่งงานตามประเพณี ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายรับรู้ ให้ศีลให้พร  เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  ในการใช้ชีวิตคู่... การจดทะเบียนสมรส เป็นขั้นตอนหลังสุดก็ได้...ถ้าไม่ทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย   ก็สามารถทำได้ ไม่มีกฎหมายห้ามไว้  แต่สังคมย่อมซุบซิบนินทา เราจำเป็นต้องอยู่ในสังคม  แต่ถ้าคิดว่า  ช่างมันฉันไม่แคร์   ก็ย่อมได้ ด้วยความปรารถนาดี ครับ

22
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กฎหมายอาญา มาตรา 10 11
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2021, 09:38:48 am »
ถือเป็นการเสวนากันในปัญหาข้อกฎหมาย

  ขอยกฎีกา ที่เทียบเคียง  ปอ. ม.(1) มาให้ศึกษาดู  อาจจะพอเข้าใจได้

ฎีกาที่4901/2555

ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษจำเลยข้อหาค้าประเวณี แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดข้อหาเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อการอนาจาร และเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีเป็นคนละข้อหากันและการกระทำต่างกัน การห้ามมิให้ลงโทษจำเลยในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 10 ต้องเป็นการลงโทษเพราะการกระทำเดียวกัน คือ เมื่อลงโทษข้อหาใดในต่างประเทศแล้วจะลงโทษข้อหาเดียวกันซ้ำในราชอาณาจักรอีกไม่ได้
 
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 283, 310 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคแรก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 5 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 282 วรรคแรก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือไม่ จำเลยถูกจับกุมวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ข้อหาค้าประเวณี และเมื่อพิจารณาโทรสารของกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ที่ส่งถึงงานพิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แผ่นที่ 3 และที่ 4 ประกอบสำเนาโทรเลข สอท. (สถานเอกอัครราชทูต) แล้วได้ความว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา ว่าจะดำเนินการส่งตัวหญิงไทยจำนวน 11 คน (ดังรายชื่อแนบ) ซึ่งถูกชักชวนไปค้าประเวณีที่ประเทศบาห์เรนพร้อมกับจำเลยซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ชักชวนหญิงไทยไปค้าประเวณีให้เดินทางกลับประเทศไทย และสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นแม่แท็กหรือแม่เล้า ดังนั้น การที่จำเลยเดินทางเข้าประเทศบาห์เรน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 และที่ 2 ไปค้าประเวณี ครั้งที่ 3 ไปทำงานในโรงแรมฟาร์คอลตำแหน่งบริกรทั่วไปและได้รับบัตรลงทะเบียนประชาชนประเทศบาห์เรน แต่จำเลยยังคงค้าประเวณีจนถูกจับกุมส่งตัวกลับประเทศไทย แม้นางสาวอุไรพร พยานจำเลยซึ่งถูกจับกุมข้อหาเดียวกันและถูกส่งตัวกลับพร้อมกันจะเบิกความว่า จำเลยชอบช่วยเหลือคนไทย ที่ไปทำงานในโรงแรมฟาร์คอล และตอบโจทก์ถามค้านว่า ผู้หญิงไทยในโรงแรมขาดเหลืออะไรจะโทรศัพท์หาจำเลยและติดขัดเรื่องใดจำเลยสามารถพูดภาษาอาหรับช่วยประสานงานให้ก็ตาม พฤติการณ์จำเลยตามที่ได้ความมาเชื่อว่าจำเลยมีอาชีพบริกรทั่วไปหรือแม่บ้านบังหน้า จำเลยไปรับผู้เสียหายที่สนามบินประเทศบาห์เรนพามาโรงแรมฟาร์คอลซึ่งมีหญิงไทยประมาณ 10 คนค้าประเวณี และพาผู้เสียหายไปห้องอื่นให้ค้าประเวณีกับชาวต่างชาติ ฟังได้ว่า จำเลยเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเป็นธุระจัดหาเพื่อให้ผู้เสียหายกระทำการค้าประเวณี พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงรับฟังลงโทษจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
จำเลยฎีกาประการต่อมาว่า ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและจำเลยได้พ้นโทษแล้ว ห้ามมิให้ลงโทษจำเลยในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 10 เห็นว่า ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษจำเลยข้อหาค้าประเวณี แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดข้อหาเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อการอนาจารและเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีเป็นคนละข้อหากัน และการกระทำต่างกันการห้ามมิให้ลงโทษจำเลยในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 10 ต้องเป็นการลงโทษเพราะการกระทำเดียวกันคือ เมื่อลงโทษข้อหาใดในต่างประเทศแล้วจะลงโทษข้อหาเดียวกันซ้ำในราชอาณาจักรอีกไม่ได้ ดังนั้น คดีนี้ย่อมลงโทษจำเลยได้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
จำเลยฎีกาประการสุดท้าย ขอให้รอการลงโทษ เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อการอนาจารและเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีนอกราชอาณาจักร เป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียงหญิงไทยและประเทศไทย ชาวต่างชาติในประเทศบาห์เรนอาจคิดว่าหญิงไทยเดินทางมาเพื่อต้องการค้าประเวณี ตามพฤติการณ์ไม่มีเหตุรอการลงโทษ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รอการลงโทษชอบแล้ว แต่คำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา สมควรลดโทษให้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า คำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 9 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
 

23
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนจับรับจ้างส่งยา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2021, 09:27:14 am »
ข้อหา...ยาเสพติด

  เมื่อถูกจับ ก็ต้องฟัง พงส.ว่าถูกตั้งข้อหาอะไร  ตามข้อเท็จจริง  น่าจะถูกตั้งข้อหา ครอบครอง เพื่อจำหน่าย (เป็นเพียงความเห็น) ก็ต้องสอบถาม พงส. จะถูกต้องที่สุด  ถ้าถูกตั้งข้อหาดังกล่าว ตามข้อเท็จจริงน่าจะมีปริมาณสารบริสุทธิ์ เกิน 20 กรัม คงมีโทษตาม พรบ.ยาเสพติดฯ ม.66 วรรคสาม คือ จำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1-5 ล้านบาท หรือประหารชีวิต และการเคยต้องโทษมาไม่เกิน 5 ปี  ก็จะถูกเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง ของโทษที่ลงในคดีหลัง  ตาม ม.97...คดีนี้ค่อนข้างร้ายแรง  ควรมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดี อย่างจริงจัง  การตอบปัญหา ณ ที่นี้ คงช่วยเหลืออะไรไม่ได้ อาจจะยิ่งเพิ่มความทุกข์ใจยิ่งขึ้นก็ได้  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

24
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: มาตรา4วรรค2
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2021, 09:15:12 am »
ปอ. ม.4 วรรคสอง

  ก็ตีความอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษร    ดูแนวคำพิพากษา  อาจจะพอเข้าใจได้

ฎีกาที่ 8335/2547

จำเลยมี 3,4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยเมื่อจำเลยลงจากเครื่องบินของสายการบินที่จำเลยโดยสารมาจากเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเปลี่ยนเครื่องบินไปยังเมืองไทเป ดินแดนไต้หวัน ขณะจำเลยเดินผ่านห้องผู้โดยสารขาออกของท่าอากาศยานกรุงเทพ จำเลยจึงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้ว เมื่อจำเลยมียาเสพติดให้โทษดังกล่าวไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งตามกฎหมายไทยบัญญัติว่าเป็นความผิด จำเลยจึงเป็นผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร
 

25
การขอปล่อยตัวชั่วคราว(ประกันตัว)

   หลักการสามารถร้องขอต่อศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้เสมอ....ถ้าไม่มีพฤติกรรมหลบหนี   ไม่ไปยุ่งเหยิงพยาน  ไม่ไปก่อเหตุร้าย  หลักประกันน่าเชื่อถือ  การปล่อยฯ ไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินคดี...  น่าจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว   วงเงินประกัน สอบถามเจ้าหน้าที่ศาล จะได้คำตอบชัดเจนที่สุด ครับ

26
การย้ายสถานประกอบการ...

  มีพรบ.คุ้มครองวแรงงานฯ บอกขั้นตอนในเรื่องนี้ ชัดเจนพอสมควร  ลองอ่านดู และนำไปใช้ประโยชน์เท่าที่จำเป็น...

มาตรา ๑๒๐[๕๘]  นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

      ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

       ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

 

มาตรา ๑๒๐/๑[๕๙]  เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคำร้องตามมาตรา ๑๒๐ วรรคห้าแล้ว เห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบคำสั่ง

     ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ

       ในการพิจารณาและมีคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง

        คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

        การส่งคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้นำมาตรา ๑๔๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา ๑๒๐/๒[๖๐]  ในกรณีที่นายจ้างได้อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๑๒๐/๑ วรรคสี่ และได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป

 

27
สัญญา...

  ถ้ามีกำหนดเวลาชัดเจน ก็ต้องเป็นตามสัญญานั้น  ถ้าลาออกก่อน ก็ต้องมจ่ายบี้ยปรับตามสัญญา ถ้ามีเงื่อนไว่า ถ้าแจ้งภายใน...วัน  ถ้าทำตามเงื่อนไข ก็คงไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับ...

28
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: มรดกที่ดิน
« เมื่อ: มิถุนายน 25, 2021, 08:53:54 am »
การจัดการมรดก

  ในเมื่อพี่ชาย  เป็นผู้จัดการมรดก  ผู้จัดการมรดก เป็นเพียงตัวแทนของเจ้ามรดก (บิดาที่เสียชีวิต) มีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกของบิดา มาแบ่งปันทายาท  คือบุตรสามคน คนละเท่าๆกัน หรือตามที่ทายาททุกคนยินยอม  การแบ่งปันมรดก  ควรมีการแบ่งปันภายใน 1 ปี  เพราะถ้าปล่อยไว้เนิ่นนาน จะมีปัญหาตามมามากมาย  ดังกรณี นี้ ทำไม ทายาท(น้องๆ) จึงปล่อยปละละเลยให้วันเวลาล่วงเลยไปถึง 9 ปี....พี่ชายในฐานะผู้จัดการมรดก ก็สามารถนำที่ดินอันเป็นมรดก ไป จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน  เพื่อกู้ยืมเงืนได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่มากๆ  เพราะถ้าทายาทรับโอนที่ดินมา  ก็ต้องรับหนี้สินมาด้วย  หรือถ้าจะไปไถ่จำนอง ก็คงเป็นเงินก้อนโตแน่นอน  ก็ต้องใช้การเจรจากันระหว่าพี่น้องว่า จะหาทางออกอย่างไร  จะไปให้พี่ชายไปไถ่จำนอง คงเป็นเรื่องยากเย็น  เพราะจำนวนเงินคงสูงพอสมควร....กรณีนี้ ถือว่า ทายาท ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ที่ปล่อยเวลาผ่านไป ถึง 9 ปี เป็นเวลากว่า สามพันวัน  ทำไมจึงนิ่งนอนไป ไม่แจ้งผู้จัดการมรดกให้แบ่งปันมรดก ถ้าไม่แบ่งปันมรดก   ในเวลาอันควร ก็สามารถร้องศาลให้ถอดถอนผู้จัดการมรดก หรือให้ศาลแบ่งปันมรดกตามที่สิทธิของแต่ลคนได้  ไม่ได้มีเจตนาตำติเตียน  แต่ติติงด้วยเจตนาดี  เพื่อเป็นอุทาหรณ์  ผู้ประสบปัญหารายอื่นๆ ให้ตระหนัก ในการรักษาสิทธิของตน  อย่าปล่อยวันเวลาให้เนิ่นนานเกินควร  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

29
การเลิกจ้าง

   ตามข้อเท็จจริง ถือเป็นการเลิกจ้างที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม  นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย ตามมม .118 (ก็อย่าไปเขียนใบลาออก เพราะจะทำให้ไม่มีสิทธิ ได้รับเงินชดเชย)  ก็ควรรวมตัวกันฟ้องศาลแรงงาน ตามที่เขาแนะนำ  เพราะขั้นตอนในการฟ้องไม่ได้ยุ่งยากอะไร มากนัก...

30
การเลิกสัญญา

  ตามสัญญาข้อ  9  ก็ระบุไว้ชัดเจนแล้ว ให้บอกเลิกสัญญาได้ฯ  กรณีนี้ ผู้ว่าจ้าง ก็คงอ้างว่า ผู้รับจ้างทำผิดสัญญา  จึงบอกยกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย...เรื่องนี้ ค่อนข้างจะป็นปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมาย  ตามความเห็น  สัญญาแบบนี้ อาจจะ...ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน  น่าเป็นสัญญาจ้างทำของ  แต่การบอกเลิกสัญญา ถ้าเกิดความเสียหาย  ก็ฟ้องร้องได้  ควรมีทนายความช่วยเหลืออย่างจริงจัง  เพื่อตั้งรูปคดีให้ถูกต้อง  เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดได้  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14