20/04/24 - 19:02 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
31
อัตราโทษ

  บอกไม่ชัดเจนว่า ปริมาณยาฯ มากน้อยเพียงใด  เพราะจะมีโทษมากน้อยเพียงใด  อยู่ที่ปริมาณยาฯ  แต่ตามที่เล่า น่าจะมีปริมาณไม่่มาก  จึงมีการให้คุมประพฤติ  ซึ่งคงไม่ต้องมีหลักประกันตัว  ที่เรียกว่า ประกันตนเอง  ถ้าปริมาณไม่มาก  น่าจะมีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000  บาท( ม.71/1 วรรค 1) การรับสารภาพแต่แรก คงไรับการบรรเทาโทษ ...... แต่....อาจให้มีการคุมประพฤติ  คือไม่ต้องถูกจำคุก  เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขฯ น่าจะพ้นผิด...

32
คดียาเสพติด

  ปริมาณยาฯ คงไม่มากนัก  ศาลจึงให้มีการคุมประพฤติ  ถ้าทำตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด  ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร....ขณะนี้ก็ควรฟังคำสั่งศาลว่า จะให้คุมประพฤติ  หรือเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี ตามปกติ...เรื่องการเกณฑ์ทหาร  ก็ไม่ต้องไปกังวลอะไรมากมาย  รอคำฟังคำสั่งศาลก่อน  เรื่องทหาร เขาก็มีแนวทางปฏิบัติไปตามขั้นตอนอยู่แล้ว...

33
จ่ายเงินช้า
  ใช้วิธีขอความช่วยเหลือ  จากพนักงานตรวจแรงงาน  ในท้องที่นั้นๆ  อาจจะมีช่องทางแก้ไขได้...

34
การเลิกจ้าง

  ถ้าการให้พักงาน  7 วัน ถ้า.. ไม่มีเอกสารชัดเจนว่า เป็นการพักงาน  อาจจะเข้าข่ายการขาดงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร ที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย(กรณีที่ถาม คงได้รับเงินชดเชย 240 วัน  จึงอาจเป็นแรงจูงใจ ที่จะหาทางให้ถูกออกโดยมีความผิด)...เรื่องนี้ ค่อนข้างไม่ชอบมาพากล  คงต้องหาทนายความช่วยเหลือ  เพื่อหาทางเรียกร้องสิทธิที่พึงมีต่อไป...

35
ระเบียบข้อบังคับฯ

● จะถือว่ามีความผิดถึงขั้นเลิกจ้างไหมคะ ?

ตอบ...ตามข้อเท็จจริงถือเป็นการทำผิดระเบียบข้องคับของบริษัท  แต่จะรุนแรงมากน้อยเพียงใด  คงตอบไม่ได้   ก็คงแล้วแต่ นโยบายของบริษัทนั้นๆ  แต่ตามความเห็นส่วนตัว  ถือว่า เป็นความผิดรุนแรง ที่อาจถูกเลิกจ้างได้  เพราะการเข้าออกจากบริษัท โดยไม่เหตุอัควร ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทเสียหายได้ (ขออภัย นะ ว่าไปตามข้อเท็จจริง  ไม่ต้องการซ้ำเติม ครับ)
 ● มีจนท.บุคคลร่วมด้วยในการออกไป เลยไม่ได้ลงโทษทางวินัยใครถือว่าทำได้ใช่มั้ยคะ?

ตอบ...ก็ต้องมาดูว่า  จนท.นั้น อยู่ระดับไหน สำคัญอย่างไร  การยกเว้นความผิด สามารถทำได้เสมอ  เพราะเป็นเรื่องภายในของบริษัท ทุกสังคม ระบบเส้นสาย  ระบบอุปถัมภ์ ย่อมมีอยู่เสมอ  เขาทำได้  แต่ถ้าทำไปทำอาจซวย เพราะไม่มีแบ็ค   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

36
การปลอมแปลงเอกสาร

●อยากสอบถามว่าควรเซ็นใบยินยอมลาออกมั้ยคะ?

ตอบ...(ความเห็นของผู้ตอบ) ควรลาออก เพราะทำความผิดอาญา ที่มีโทษทั้งจำและปรับ (ปอ. ม.264) เพื่อให้โอกาสไปหางานใหม่ที่ ไม่ระบุประวัติที่เคยกระทำความผิด
●สั่งพักงานต้องมีหนังสือแจ้งมั้ยคะหรือวาจาได้เลย?
ตอบ...ความผิดนี้(ปลอมแปลงเอกสาร) ถือเป็นควรผิดร้ายแรงที่ไม่ต้องมีการแจ้งเตือน ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม119(4)
● เคสแบบนี้สามารถที่จะตักเตือนก่อนหรือว่านายจ้างสามารถเลิกจ้างได้เลยโดยที่ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าคะ?
ตอบ..ใช่
●ถ้าโดนไล่ออกแล้วจะเรียกร้องค่าอะไรได้บ้างมั้ยคะในกรณีนี้
ตอบ...ไม่น่าจะเรียกร้องอะไรได้ การไม่ถูกดำเนินคดี ถือว่า มีโชคดีพอสมควร
●มีเคสพนง.ท่านอื่นที่ทำผิดในเรื่องเกี่ยวกับเงิน,ขาดงานเกิน,แต่โดนแค่หนังสือเตือนเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมในบทลงโทษนี้ค่ะ
ตอบ..อาจจะ....เป็นความผิดที่ถือว่าไม่ร้ายแรงก็ได้...ตอบคำถามนี้ด้วยความเห็นใจ และไม่สบายใจ  เพราะการแนะนำให้ลาออกเป็นเรื่องใหญ่มากของชีวิต  แต่เมื่อกระทำความผิด ก็ต้องมีผลลัพทธ์ตามมมาที่อาจจะคาดไม่ถึง ขอยืนยันว่า ตอบคำถามด้วยเจตนาดี และ ประสงค์ดี มีเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ครับ

37
การจ้างทำของ
     เมื่อไม่จ่ายเงินตามที่ตกลง  ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาล....การจ้างทำของแม้เพียงตกลงด้วยวาจาก็ฟ้องได้  ปัญหาอยู่ที่ ฟ้องแล้วจะคุ้มหรือไม่ เท่านั้น.. 

38
คดียาเสพติด

  ที่จริงไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้   เพราะการลงโทษมากน้อยเพียงเป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น....ก็ตอบได้เพียงว่า โทษที่กำหนดไว้ตามกฎหมายมีมากน้อยเพียงใด...คือการครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่าย (ยาเสพติดประเภท 5)ถ้าปริมาณ  10 กก. ขึ้นไป โทษจำคุก 2-15 ปี  ปับ 200,000  -1,500,000 บาท( ม.76/1 วรรค2) ควรมีทนายความช่วยเหลือ ช่องทางบรรเทาโทษ หรือ ให้ศาลปรานีก็พอมีอยู่  เพื่อรับโทษน้อยลง  ทนายความน่าจะมีช่องทางแนะนำได้...

39
ใบผ่านงาน

    ก็ต้องเป็นไปตาม ปพพ. ม.585  คือ...."มาตรา ๕๘๕  เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร่และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร"....ส่วนเรื่องความผิดที่ต้องถูกเลิกจ้าง  จะมีระบุไว้หรือไม่  คงเป็นไปตาม นโยบายของบริษัทนั้นๆ....หลักการสำคัญ  ที่กฎหมายให้มีใบผ่านงาน เพื่อ ประโยชน์ของลูกจ้าง เป็นสำคัญ  เพื่อให้มีโอกาสไปสมัครงานใหม่  กรณีเคยผ่านงานมา คงได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ.....กรณีแบบนี้คงต้องใช้การเจรจาปราศรัยกับ  นายจ้างหรือตัวแทน  แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ให้เขา เพียงระบุว่า ทำงานงานนานเท่าไร และงานนั้นคืองานอะไร  ตามที่กฎหมายกำหนด  ถ้ามีพฤติกรรมแบบจากกันด้วยดี นายจ้างไม่น่าจะมีความอาฆาตมาดร้าย ขอให้โชคดี ครับ

 

40
การบริหารงานในบริษัท

   จะมีการแต่งตั้งตัวแทนฯ มาบริหารจัดการเรื่องต่างๆในบริษัท คือผู้จัดการ ดังนั้นการกระทำการของ ผจก.  ย่อมได้รับไฟเขียวจาก ซีอีโอ (ประธานกรรมการบริหาร) และน่าจะเป็น นโยบายของบริษัท...ส่วนเรื่องเอกสารการเลิกจ้าง ควรรับจากบริษัท  เพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน...

41
การเลิกจ้าง 

  มีระบุไว้ ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  ม.119  คือ....

มาตรา ๑๑๙  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ในกรณี (๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

    การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

ตามข้อเท็จจริง   การเล่นมือถือ   หรือ แอบหลับนอนฯ  นายจ้างอาจจะถือว่า เป็นกรณีร้ายแรง  ที่นายจ้างไม่ต้องเตือน ตาม ม.119(4) จึงสามารถเลิกจ้างได้....จะร้ายแรงหรือไม่ เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง  และปัญหาข้อกฎหมาย ประกอบมุมมองของแต่ละคน โดยเฉพาะนายจ้าง เรื่องแบบนี้ ต้องใช้การเจรจาต่อรองกัน   ถ้าไม่ได้ผล   คงต้องฟ้องศาลแรงงานให้วินิจฉัยว่า เป็นการเลิกจ้างที่ชอบหรือไม่....

42
การขอปล่อยตัวชั่วคราว

      เรื่องนี้ ถามตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ศาล  คงให้คำตอบที่ชัดเจนได้...    ก็มีคำสั่งของประธานศาลฎีกา (ปี 2548)  เรื่องหลักประกันในการปล่อยตัว (สรุป)...โทษสูงเกิน 5 ปี การปล่อยตัวชั่วคราวต้องมีประกัน  และจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ได้...โดยถือเกณฑ์วงเงินประกันไม่เกิน 20,000  บาท ต่อโทษจำคุก  1 ปี...โทษการครอบครอง ยาเสพติดฯ ถ้าสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 20 กรัม จะมีโทษจำคุก 1-10 ปี  ดังนั้นตามที่ถาม  น่าจะใช้วงเกินประกัน ประมาณ  200,000  บาท หรือตามดุลพินิจของศาล...

43
การลักลอบเข้าเมือง

   ก็ย่อมมีความผิด  การจะหาทางช่วยเหลือ  ขอแนะนำให้ ติดต่อ สถานทูต หรือสถานกงสุลของไทย  ที่ประจำอยู่ ณ ประเทศที่ถูกควบคุมตัว...

44
ใบผ่านงาน 

  นายจ้างต้องออกใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร  ตาม ปพพ. ม.585..

45
คดียาเสพติด
  การตั้งข้อหา  อยู่ที่ปริมาณยาฯ และผลการสืบสวนและสอบสวน ของ พงส.....ดังนั้นต้องฟังความเห็นของ พงส. เป็นสำคัญว่า  ตั้งข้อหาอะไร  เพราะแต่ละข้อหามีอัตราโทษแตกต่างกัน  ถ้าคิดว่า ถูกตั้งข้อหาไม่ถูกต้อง ก็สามารถโต้แย้งได้ ส่วนผลจะเป็นอย่างไร  ก็อยู่พยานหลักฐานเป็นสำคัญ  การรับสารภาพแต่แรก  และถ้าสามารถให้ข้อหาที่สำคัญและเป็นประโยชน์ ในการปราบปราม ขบวนการค้ายาเสพติด  คงมีเหตุอันควรปรานี และมีเหตุบรรเทาโทษ แต่จะให้ตอบชัดเจนว่า ศาลจะลงโทษอย่างไร  คงตอบไม่ได้  และปัญหาแบบนี้ เขาไม่ตอบกัน  เพราะเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น...

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14