29/03/24 - 14:38 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกกลั่นแกล้ง  (อ่าน 2305 ครั้ง)

ถูกกลั่นแกล้ง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 07:59:22 am »
ผมทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย เมื่อวันที่ 26 กันยายน2561 ทำงานอยู่ที่คอนโดแห่งหนึ่ง และในวันนั้นผมได้แจ้งทางสายตรวจว่า ขอเบิกเงินในส่วนที่หาคนเข้าทำงานเป็น รปภ ได้ทำงานครบ1เดือน และจะได้ค่าตอบแทน1000บาท แต่ทางสายตรวจกับ ผจก ไม่ให้คำตอบ ผมจึงแจ้งกลับไปว่าถ้าผมไม่มีเงินไปทำงาน ขอลาหยุด วันที่27ก.ย เป็นเวลา1วันเพื่อหาเงินไปทำงานพอตอนเย็นผมโทรติดต่อ  สายตรวจไปว่าเช้าวันที่28 ก.ย ผมจะกลับไปทำงานตามปรกติ แต่เค้าตอบกลับมาว่าให้ผมหยุดพักงานไปก่อนเดี๋ยวจะหาหน่วยงานที่ อยู่ใกล้บ้านและเหมาะสมให้ ผมก็รอคำตอบจนถึงวันที่ 4 ต.ค61 ทางสายตรวจแจ้งให้ผมไปเข้าเวรที่ ซอยอ่อนนุช46 ผมจึงตอบตกลงที่จะไปเข้าให้ และได้ถามกลับไปว่าให้ไปประจำหรือชั่วคราว ถ้าให้ไปช่วยชั่วคราวผมไปให้ได้ แต่ถ้าไปประจำผมคงไปไม่ได้หรอกเพราะมันไกลจากจุดที่ผมเคยอยู่มาก ผมพักอยู่ตรง สี่แยกเทพารักษ์ จุดเดิมทำงานอยู่ที่สุขุมวิท76 จนมาถึงทุกวันวันนี้ สายตรวจก็ยังไม่่่ติดต่อเรียกกลับเข้าทำงานเลย เป็นเวลา1เดือนแล้ว ผมจะสามารถเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานได้หรือป่าวครับ เรื่องเงินชดเชย

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ถูกกลั่นแกล้ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2018, 03:22:59 am »
จากที่เล่ามาก็น่าเห็นใจอยู่นะครับ

อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัยต้องทำงานด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่างานทั่วไป และเป็นกลุ่มอาชีพที่น่ายกย่องชื่นชมครับ

จากคำถามสรุปได้ประมาณว่า บริษัทได้มีนโยบายว่า หากผู้ใดหาคนมาทำงานและบุคคลนั้นทำงานได้เกิน ๑ เดือน ก็จะให้เงินเป็นค่าคอมมิชชั่น ๑ พันบาท ต่อมาผู้ถามได้หาเงินให้บริษัทได้ จึงได้ทวงถามเงินค่าคอมฯ แต่บริษัทกลับเพิกเฉย มิหนำซ้ำ กลับไม่มอบหมายงานให้ทำ เป็นเวลากว่า ๑ เดือน จึงถามว่า จะเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง? ประมาณนี้

ทนายก็ขอตอบว่า ตามมาตรา ๑๑๘  วรรคสองว่า "การกระทําใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป"

ดังนั้น ในกรณีของผู้ถามนี้ ก็เข้าองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว เพราะไม่มอบหมายงานให้ทำ และน่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย จึงถือเป็นการเลิกจ้างตามนัยของกฎหมายแล้ว

เมื่อถือว่าเป็นการเลิกจ้าง คุณพี่ก็มีสิทธิที่จะได้รับความชดเชยตามอายุงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๘ ตั้งแต่ อนุ(๑) ถึง อนุ(๕) โดยขอให้คุณพี่ไปยื่นคำร้อง (คร.๗) ต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่ทำงานอยู่เพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่อไป

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร