28/03/24 - 23:44 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกเลิกจ้างและนายจ้างเหมือนจะเลี่ยงจ่ายค่าชดเย  (อ่าน 2299 ครั้ง)

seehmok

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
อยากสอบถามเกี่ยวกับกฏหมายที่มีความรู้สึกว่าจะถูกเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม ผมได้ทำงานเข้าสู่ปีที่6 โดยได้มีการเซ็นสัญญากันแบบปีต่อปีในช่วง2-3ปีแรก อต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการเซ็นสัญญากันอีกแต่ว่ายังคงทำงานตามปกติ มีการหักภาษีในรูปแบบบริษัท และจ่ายประกันสังคมแบบเดิม เพียงแต่แค่ไม่มีการเซ็นสัญญาแบบเคย แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่6 ได้มีการบอกเลิกว่าจ้าง โดยอ้างว่าบริษัทประสบภาวะขาดทุน จึงต้องหยุดจ้างแต่บริษัทไม่ได้ปิดตัวลงเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบใหม่ในตัวเนื้องานนั้น(เดิมทีงานจะเป็นในรูปแบบโชว์ แต่ได้ปรับเปลี่ยนเนื้องานใหม่และมีการเลิกจ้างนักแสดงที่ทำงานและถูกหักภาษีในรูปแบบบริษัท) และได้มีจดหมายแจ้งลงมา โดยไม่ได้ลงวันที่และไม่มีชื่อและลายเซ็นของประธานบริษัท และจดหมายที่แจ้งที่เป็นลายลักอักษรที่แจ้งไม่ถึง30วัน และทางบริษัทไม่ได้มีการพูดถึงการจ่ายค่าชดเชยอยากสอบถามว่าเราสามารถฟ้องต่อศาลแรงงานได้ไหมในกรณีนี้ และในรูปแบบคดีถือว่านายจ้างเลี่ยงที่จะจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงาน ถือว่านายจ้างมีความผิดหรือไม่ในประเด็นนี้ คิดว่าคนที่ร่วมกันฟ้องนายจ้างน่าจะมีเกิน 6–10 คนขึ้นไป อย่างนี้มีสิทธิ์ที่เราจะชนะคดีที่ฟ้องนายจ้างไหมครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด

คำถามสรุปว่า เดิมทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ต่อมาไม่ได้เซ็นต์สัญญาแบบระบุระยะเวลา หลังจากทำงานมาแล้ว ๔ ปี ต่อมาเข้าปีที่ ๖ ถูกเลิกจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถึง ๓๐ วัน ไม่จ่ายค่าชดเชย ถามว่าจะฟ้องได้มั๊ย นายจ้างผิดมั๊ย จะชนะมั๊ย? ประมาณนี้

ทนายก็ตอบว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นลูกจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา เมื่อไม่กำหนดระยะเวลากัน หากนายจ้างจะเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ งวดการจ่ายค่าจ้าง ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญํติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  (ไม่ใช่ ๓๐ วันนะครับ) ดังนั้น การที่จะบอกได้ว่าบอกกล่าวล่วงหน้าถูกต้องหรือไม่ ต้องอธิบายมาว่า ปกติจ่ายค่าจ้างกันวันที่เท่าใด และนายจ้างบอกเลิกจ้างวันที่เท่าใด ทนายจึงจะตอบได้ว่า นายจ้างมีการบอกกล่าวล่วงหน้าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ถามว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ ฟ้องศาลได้มั๊ย? ก็ตอบว่า มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๘ ครับ และแน่นอนว่าในการเรียกร้องสิทธินี้สามารถฟ้องศาลได้ หรือถ้าไม่อยากไปศาลก็ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องเสียค่าทนาย เสียดายตังค์แทนครับ

ส่วนที่ถามว่าจะชนะคดีมั๊ย..อืมมมม...ทนายก็ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ด้วยซิ  เอาเป็นว่าถ้าได้เป็นผู้พิพากษาแล้วจะมาตอบให้นะครับ เพราะผู้ที่จะตอบได้คือผู้พิพากษาครับ แต่ถ้าในความเห็นของทนาย คดีนี้รูปคดีของคุณสวยมากครับ..อิอิ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.