19/04/24 - 17:22 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: วินัยตำรวจ  (อ่าน 3347 ครั้ง)

นัท

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
วินัยตำรวจ
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2019, 02:54:02 am »
ขอสอบถามหน่อยค่ะในกรณีที่​ตำรวจเอากุญแจมือมาหั้ยประชาชนมาใช้มีความผิดทางวินัยหรือป่าวค่ะและประชาชนคนนั้นจะมีความผิดด้วยรึป่าวค่ะ

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
Re: วินัยตำรวจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2019, 05:19:26 am »

  เป็นความเห็น
 กุญแจมือ เป็นทรัพย์สินของราชการ มีไว้เพื่อใช้ในราขการเท่านั้น  การให้ประชาชนนำไปใช้  ก็คงเข้าข่าย มีความผิด ตาม ปอ. ม.147 (เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์) มีโทษจำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท..ถ้าไม่มีความผิดตาม มาตรานี้ ก็คงมีความผิด ตาม ปอ. ม.157 (บททั่วไป) ฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โทษจำคุก  1-10 ปี ปรับ สองหมื่นถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ... ดังนั้นก็ต้องรับโทษทางวินัยด้วย(เช่น ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก  ไล่ออก) ส่วนประชาชนที่รับกุญแจมือมา คงมีความผิด ตาม ปอ. ม.357 (รับของโจร)โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่ีงแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: วินัยตำรวจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2019, 03:20:50 am »
ถามสั้นๆ แต่ได้ใจความ เสมือนว่ามีประสบการณ์ตรงประมาณนั้น

เอาเป็นว่า สิ่งที่ควรจะรู้ก็คือ กุญแจมือ มิใช่ "ยุทธภัณฑ์" นั่นก็หมายความว่า บุคคลทั่วไปก็สามารถซื้อหามาใช้ได้ แต่จะใช้เพื่อการใดก็แล้วจะจุดประสงค์ของบุคคลนั้นๆ แม้แต่เว็บขายสินค้าออนไลน์ชื่อดังก็ยังมีขายเลย

แต่กรณีที่ถามนั้น ต้องพิจารณาก่อนว่า การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำกุญแจมือมาให้ประชาชนใช้นั่น ใช้อย่างไร? ต้องดูลักษณะการใช้เป็นสำคัญ ถ้าเจ้าหน้าที่กำลังปฎิบัติหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดและเรียกให้ประชาชนเข้าช่วยเหลือโดยส่งมอบกุญแจมือให้ประชาชนนำไปใส่กับคนร้าย กรณีเช่นนี้ถือเป็นการช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ย่อมไม่มีความผิด และกระทำได้

แต่ถ้าตำรวจให้กุญแจมือของตนกับประชาชนไป แล้วบุคคล คนนั้น เอาไปโชว์โก้ๆ โดยที่ยังไม่ได้นำไปใช้พันธนาการกับใคร อันนี้ก็ยังถือว่ายังไม่มีความผิด

แต่ถ้านำกุญแจมือไปไส่ใครต่อใครโดยพละการ อันนี้แหละ มีปัญหาแน่ เพราะถือเป็นการกระทำความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว มีโทษสูงทีเดียว

เอาเป็นว่า หลักกฎหมายเกี่ยวกับการไส่เครื่องพันธนาการหรือการใส่กุญแจมือ โซ่ตรวน นั้น แม้จะเป็นเจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้เอง ก็ต้องมีเหตุว่าผู้ต้องหาหรือผู้ก่อการร้ายมีลักษณะจะหลบหนี หรือดุร้าย ก็ให้ใส่เครื่องพันธนาการ แต่ถ้าเป็นคดีเล็กน้อยแล้วไปไส่เครื่องพันธนาการก็จะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลได้เคยมีคำพิพากษาที่สำคัญคือ คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๓๔๔/๒๕๐๑ ที่เป็นคดีเกี่ยวกับการพนันแล้วตำนวจควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีการพนันโดยใส่กุญแจมือล่ามโซ่เดินไปตามถนนให้ผู้ต้องหาอับอายนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ป.วิ.อ มาตรา ๘๖ เป็นต้น

คงหายสงสัยนะครับ

ทนายพร.