29/03/24 - 06:49 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ค้ำประกันในสหกรณ์ ผู้ค้ำอีกคนเสียชีวิต  (อ่าน 6649 ครั้ง)

นัยนา

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
    • ดูรายละเอียด
ขออนุญาตเรียนถามทนายพรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีสมาชิกสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเสียชีวิต หากผู้กู้ไม่สามารถหาผู้ค้ำรายใหม่ได้ ควรดำเนินการอย่างไรดีคะ สามารถให้ผู้ค้ำที่เหลือทำบันทึกยินยอมรับผิดเฉพาะผู้ค้ำที่เหลืออยู่ได้หรือไม่คะ

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
Re: ค้ำประกันในสหกรณ์ ผู้ค้ำอีกคนเสียชีวิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2019, 08:33:08 am »

การค้ำประกัน
  ตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ผู้ค้ำประกัน ย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น ตาม ปพพ. ม.681  ถ้ามีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ( ปพพ. ม.681/1)...ตามที่ถาม   ถ้าผู้ค้ำประกันที่ยังมีชีวิตอยู่  ยินยอมรับผิดในหนี้ของลูกหนี้  ในส่วนของผู้ค้ำฯที่เสียชีวิต  ก็ย่อมสามารถทำได้  ก็ต้องแจ้งเจ้าหนี้ และต้องทำสัญญาค้ำประกันขึ้นมาใหม่  แต่ผู้ค้ำฯ  ต้องไม่รับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วม...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ค้ำประกันในสหกรณ์ ผู้ค้ำอีกคนเสียชีวิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2019, 11:18:17 pm »
เป็นคำถามที่นักกฎหมายก็ยังมีความเห็นเป็นสองแนวทางครับ

โดยทางหนึ่งมองว่าการค้ำประกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว หากผู้คำประกันเสียชีวิต การค้ำประกันนั้นก็ควรจะสิ้นผลไป แต่อีกแนวหนึ่ง มองว่า การค้ำประกันเป็นมรดกตกทอดแต่ทายาท ถึงเเม้ผู้ต้ำประกันตาย ทายามก็ยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นต่อไป ซึ่งเป็นไปตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๖๘/๒๕๕๕ ที่วินิจฉัยว่า แม้ผู้ค้ำประกันจะถึงแก่ความตายก่อนลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ ความรับผิดก็ยังคงต้องตกแก่ทายาทของผู้ค้ำประกัน

แต่กรณีที่ถามมานี้ ไม่เกี่ยวกับที่ยกข้อกฎหมายมาอธิบายข้างต้น...ฮา...

ถ้าตอบตามที่ถาม ก็ตอบได้ ๒ แนวทางเช่นกันในวิธีปฎิบัติ

ถ้าเป็นสหกรณ์ฯ ก็ปล่อยให้เวลามันเดินไป หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ก็ฟ้องผู้กู้และผู้ค้ำที่เหลืออยู่ให้รับผิดชอบ โดยจะฟ้องทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ค้ำประกันรายที่เสียชีวิตด้วยก็ได้ หรือ

เรียกผู้กู้และผู้ค้ำประกันมาตกลงกัน โดยให้ผู้ค้ำประกันทำหนังสือสัญญาค้ำประกันใหม่ โดยยึดถือตามยอดหนี้คงเหลือ ณ เวลานั้นๆ ก็สามารถทำได้ครับ แต่ถ้าผู้ค้ำไม่ยอม ก็ไปเลือกแนวทางแรก ซึ่งหากลูกหนี้มีวินัยและชำระหนี้ครบถ้วน ก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเบี้ยวก็ไม่มีทางเลือกตัองไปใช้สิทธิทางศาล หรือจะทำสัญญายอมรับสภาพหนี้ให้ผู้ค้ำประกันที่เหลืออยู่ลงลายมือชื่อรับผิดก็ทำได้เช่นกันครับ

หากสงสัยก็ถามมาเพิ่มเติมได้นะครับ

ทนายพร.