20/04/24 - 20:35 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: โดนหักเงินโดยไม่ยินยอม  (อ่าน 5775 ครั้ง)

sxlxe

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
โดนหักเงินโดยไม่ยินยอม
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2019, 11:47:13 pm »
สวัสดีค่ะ อยากรบกวนปรึกษา พอดีว่า เรื่มทำงานกับบริษัทตั้งแต่ 1ก.พ. - 31 ต.ค. โดยเริ่มต้นขอเงินเดือนสตาร์ทที่ 20,000 บาท แต่ทางเจ้าของบริษัทได้ขอให้สตาร์ทเท่าที่เก่าคือ 18500 บาทก่อน ผ่านโปร 4 เดือนจึงจะปรับเพิ่มให้ค่ะ

แต่ทางบริษัทได้จ่ายเงินเดือนให้เดือนแรกที่ 22,000 บาท ซึ่งตัวผู้ถามได้เข้าใจว่าบริษัทให้เอง จึงไม่ได้ทวงถามกับบริษัทไป ตัวผู้ถามได้รับเงินเดือน เดือนละ 22,000 เป็นเวลา 5 เดือน (ก.พ.-มิ.ย.)

จนกระทั่งผ่านไปถึงกลางเดือนกรกฎาคม ทางบริษัทได้เข้ามาคุยบอกว่า ขอลดเงินเดือนลงเหลือตามที่ตกลงกันตอนแรก เนื่องจากเป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายการเงินจึงทำให้สั่งจ่ายเงินเดือนผิดไป ทางตัวผู้ถามก็ไม่พอใจเล็กน้อย แต่ก็ต้องยอมเนื่องจากจะต้องทำงานต่อไป

จนถึงวันเงินเดือนออก ทางบริษัทได้มีการหักเงินของผู้ถามไป ตัวผู้ถามจึงได้มีการสอบถามทางบริษัทว่าหักด้วยสาเหตุใด ได้รับคำตอบว่าเป็นการหักเงินค่าจ้างที่ทางบริษัทได้จ่ายเงินเดือนเกินให้กับทางผู้ถามเป็นจำนวนเดือนละ 4000 บาท ระยะเวลารวม 5 เดือน = 20,000 บาท ซึ่งจะหักทุกเดือนจนกว่าจะหมด โดยที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าว่าจะหัก

ทางผู้ถามจึงได้ท้วงถามว่าทำไมถึงต้องหัก ในเมื่อไม่ใช่ความผิดของตัวผู้ถาม ซึ่งทางบริษัทแจ้งตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. ว่าเป็นความผิดของฝ่ายการเงิน ถ้าจะมีคนโดนหักเงิน ต้องหักกับฝ่ายการเงินหรือไม่ ทางตัวแทนบริษัทได้ตอบว่า ต้องถามเจ้าของบริษัท ซึ่งตัวผู้ถามได้ทักแชทไลน์ไปถาม และโทรถาม ก็ไม่ได้รับการตอบกลับใดๆทั้งสิ้น

ตัวผู้ถามโดนหักเงินทุกเดือนจนเดือนสุดท้ายของการทำงานคือ ตุลาคม รวมยอดหักทั้งหมด 17000 บาท และในอาทิตย์แรกของการทำงานได้มีการเซนต์เอกสารหักเงินค้ำประกันตัวผู้ถามด้วยเป็นจำนวน 5 เดือน เดือนละ 1000 บาท รวม 5000 บาท ทางบริษัทก็ไม่คืนให้ อ้างว่าหักรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเกินให้กับทางผู้ถาม

รวมยอดทั้งหมด 22,000 บาท

โดยการทำงานนี้ไม่มีเอกสารสัญญาจ้างใดๆ

มีแต่สลิปเงินเดือนที่ได้รับผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์เท่านั้น

และทางบริษัทได้แจ้งชื่อออกจากประกันสังคมให้ก่อนกำหนดการ โดยแจ้งชื่อออกวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา และจ่ายประกันสังคมให้ครั้งสุดท้ายคือเดือนมิถุนายน แต่ทางผู้ถามได้ลาออกและมีใบลาออกระบุวันสุดท้ายของการทำงานคือ 31ต.ค. 

ตัวผู้ถามจะลงทะเบียนขอรับเงินว่างงาน แต่ทำไม่ได้เนื่องจากว่าบริษัทลงชื่อออกจากประกันสังคมก่อนกำหนด ทางผู้ถามจึงได้โทรไปให้บริษัทแก้ไขวันที่ลาออกให้ตรงกับความจริง ซึ่งทางบริษัทก็ได้แก้ไขให้ และจ่ายประกันสังคมย้อนหลังให้แค่เดือนตุลาคม ซึ่งหมายถึงเดือน ก.ค.-ก.ย. ทางบริษัทไม่ได้จ่ายให้ แต่ทางตัวผูุ้ถามโดนหักเงินไปทุกเดือนค่ะ

อยากสอบถามว่ากรณีนี้สามารถเอาผิดกับทางบริษัท เรียกร้องเงินที่ทางบริษัทหักไปทั้งหมดคืนมาได้หรือไม่คะ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: โดนหักเงินโดยไม่ยินยอม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2019, 12:56:06 pm »
นายจ้าง/ลูกจ้าง

.....สัญญาจ้างเพียงตกลงกันก็ได้....การหักเงินเดือน  ก็คงหักเงินคืน ให้เท่ากับที่เคยตกลงจ้างในครั้งแรก  ส่วนเรื่องอื่น ใช้วิธีสอบถาม พนักงานตรวจแรงงานท้องที่...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: โดนหักเงินโดยไม่ยินยอม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 04, 2020, 01:19:39 pm »
เรื่องนี้ยาวววว....หมายถึงเล่ารายละเอียดได้ดีครับ โดยสรุปแล้ว ผู้ถามได้ลาออกเป็นที่เรียบร้อย โดยให้มีผลในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ซึ่งขณะที่เริ่มทำงานได้ตกลงเริ่มสตาร์ทอยู่ที่ ๒๒,๐๐๐.- บาท ต่อมามีการตกลงกันให้สตาร์ทที่ ๑๘,๕๐๐.- บาท (นี่ขนาดแค่สตาร์ทยังได้ตั้ง ๒ หมื่น ถ้าไส่เกียร์เหยียบคันเร่ง น่าจะประมาณ ๓ หมื่นได้มั๊ง ทนายว่า..อิอิ หยอกครับหยอก) และในระหว่างทำงาน ฝ่ายการเงินน่าจะคำนวนจ่ายเงินผิดจึงจ่ายให้ ๒.๒ หมื่น ผู้ถามได้รับและไม่คัดค้าน ต่อมาจึงได้มีการทักท้วงจากฝั่งนายจ้างว่าไม่ถูกต้อง จึงปรับลด มิหนำซ้ำถูกหักย้อนหลังเดือนละห้าพัน พร้อมกับเงินประกันอีกห้าพัน เบ็ดเสร็จ ๒.๒ หมื่น เกินกว่าที่หักไปอีก

 แล้วถามว่า....กรณีนี้สามารถเอาผิดกับทางบริษัท เรียกร้องเงินที่ทางบริษัทหักไปทั้งหมดคืนมาได้หรือไม่คะ?

ทนายก็ตอบว่า...เอาผิดกรณีที่ไม่คืนเงินค้ำประกันได้ แต่กรณีการหักเงินที่จ่ายเกินนั้น ถ้ามีการตกลงกันว่าค่าจ้างเดือนละ ๑๘,๕๐๐.-บาท จริง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เซ็นต์สัญญาจ้างเป็นหนังสือก็ตาม ก็คงต้องบังคับตามที่คู่สัญญาตกลงกันอย่างแท้จริง

ดังนั้น เมื่อบริษัทได้จ่ายเงินให้เกินกว่าสิทธิที่ลูกจ้างพึงได้รับ นายจ้างก็มีสิทธิติดตามเงินนั้นคืนได้ครับ แต่ที่นายจ้างทำไม่ถูกก็คือ ไม่มีการพูดคุยหรือตกลงกันให้ดีก่อน เพื่อลดข้อขัดแย้ง แต่ใช้วิธีให้ฝ่ายบัญชีหักดิบอย่างนี้ ไม่ถูกต้องครับ และยิ่งมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัตคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ได้กำหนดเงินที่นายจ้างสามารถหักจากค่าจ้าง ก็ไม่เข้าองค์ประกอบกับการหักเงินตามกรณีนี้ ถ้าตีความเงินที่หักนี้คือค่าจ้าง นายจ้างจึงไม่สามารถหักได้ นอกจากนี้ ในมาตราที่ ๗๗ ยังกำหนดไว้ด้วยว่า หากนายจ้างจะหักเงินใดๆจากค่าจ้าง ต้องทำเป็นหนังสือและลูกจ้างต้องยินยอมไว้โดยชัดเเจ้งด้วยแล้ว การกระทำของนายจ้างจึงเป็นความผิดตามมาตรา ๗๖ ประกอบ ๗๗ ดังกล่าวครับ

แล้วมีคำถามต่อว่า..เมื่อนายจ้างทำผิดจะทำอะไรได้บ้าง? (ข้อนี้ทนายถามให้เลย..ฮา) อย่างแรก ก็ต้องไปเรียกร้องเงินที่ถูกหักคืน โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) ให้มีการสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัย ซึ่งทนายเชื่อว่าก็คงไม่แตกต่างไปจากข้อกฎหมายที่ทนายได้อธิบายไว้ หรือถ้าพนักงานตรวจแรงงานมีคำวินิจฉัยว่า นายจ้างทำถูกต้องแล้ว หากลูกจ้างไม่เห็นด้วย ลูกจ้างก็มีสิทธิไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งนั้นต่อศาลได้ แพ้ชนะก็ว่ากันด้วยพยานหลักฐานล่ะทีนี้ ซึ่งท่านอาจจะเสียเปรียบในรูปคดีเพราะท่านก็ยอมรับเองว่าได้ตกลงค่าจ้างอยู่ที่ ๑๘,๕๐๐.- บาท หรือท่านอาจจะชนะคดีกรณีที่นายจ้างหักค่าจ้างท่านโดยไม่ชอบ แต่ท้ายที่สุดท่านอาจถูกฟ้องแย้งให้คืนเงินที่ท่านไม่มีสิทธิได้รับดังกล่าวให้กับนายจ้าง ซึ่งบทสรุปก็คือ ต้องคืนเงินดังกล่าวนั่นเอง ทนายจึงขึ้นหัวว่าง เรื่องนี้ยาววววว.....

ส่วนประเด็นประกันสังคม คงสิ้นปัญหาไปแล้วเพราะได้รับการแก้ไขแล้ว ทนายก็ขอละไว้ในที่นี้นะครับ

หากยังสงสัยก็ถามเข้ามาใหม่ได้นะครับ

ทนายพร.