ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย > ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

สอบถามเรื่องเงินชดเชยในกรณีหมดสัญญจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา

(1/2) > >>

nongyllow:
สวัสดีค่ะ ก่อนหน้านี้หนูทำงานที่บริษัทเอาท์ซอสแห่งหนึ่ง ตำแหน่งล่ามประจำนายญี่ปุ่น

ซึ่งบริษัทนี้ได้ทำธุกิจลักษณะจัดหาล่ามให้แก่บริษัทอื่นๆ

ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนคือ 23/11/2016-23/11/2017

ซึ่งก่อนที่จะหมดสัญญา บริษัทได้แจ้งมาว่าจะให้หนูต่อสัญญาได้1เดือนจนกว่่านายญีปุ่น

จะกลับประเทศ ซึ่งนายมีวาระในการกลับคือสิ้นเดือนธันว่าปี2017

หนูจึงปฏิเสธที่จะต่อสัญญา1เดือนเพราะเห็นว่าหางานที่อื่นน่าจะดีกว่ามาต่อแค่เดือนเดียวจะได้เป็นการพักผ่อนด้วย


แต่ก่อนที่จะทำสัญญาในตอนแรกทางบริษัทแจ้งว่านายมีวาระอยู่จนถึงเดือนธันวาคม 2017 แต่อาจจะอยู่ก็ได้ยังม่ชชัดเจน

แต่บริษัททำสัญญาเป็นลักษณะปีต่อปี หนูมารู้ทีหลังตอนที่เข้ามาทำงานซักพักแล้วว่านายจะกลับญี่ปุ่นสิ้นปีแน่นอนและหนูจะไม่ได้ต่อสัญญา

ไม่ทราบว่าในกรณีนี้แล้วจริงๆหนูต้องไปรับเงินชดเชยด้วไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

มโนธรรม:
เงินชดเชย
   กรณีของคุณมีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น   คุณจึงไม่ได้รับเงินชดเชย  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 วรรคสาม..

ทนายพร:
การที่ทำสัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคท้าย ได้กำหนดลักษณะงานที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ คือ "การจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง"

ดังนั้น จึงต้องมาพิจารณาว่า งานที่ทำนั้น เป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือไม่?

หรือ งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือไม่?

หรือ งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นหรือไม่?

ซึ่งงานทั้ง ๓ ประเภทนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน ๒ ปี

เมื่อรู้ข้อกฎหมายแล้ว สิ่งที่จะพิจารณาต่อไปว่า บริษัทเอาท์ซอสที่คุณทำงานนั้นทำธุรกิจอะไร? เกี่ยวกับล่ามแปลภาษาโดยเฉพาะหรือไม่?

ถ้าใช่...ก็ถือเป็นงานปกติ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย 

รวมทั้งต้องพิจารณาต่อไปตามข้อกฎหมายต่อไปอีกว่า งานที่คุณทำเป็น "งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือไม่"

ซึ่งในที่นี้หมายถึงงานโครงการใหม่ๆ อันมิใช่ธุรกิจปกติของนายจ้าง เช่น การจ้างนักวิจัยมาทำการวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือการโปรแกรมเมอร์มาสร้างระบบงาน อย่างนี้เป็นต้น

เมื่อข้อเท็จจริงบริษัทเอาท์ซอสประกอบธุรกิจล่ามแปลภาษา(เดาเอานะว่าประกอบธุรกิจนี้ หากไม่ใช่ คำตอบก็จะเป็นไปอีกแนวหนึ่ง) จึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว อันจะเข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินค่าชดเชยเช่นกัน

ดังนั้น จากข้อเท็จจริงที่ให้มาวิเคราะห์ได้ว่า คุณมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ครับ

ทนายพร.

palawast:
เป็นกรณีศึกษา ที่น่าสนใจดีครับ


Torotazaza:
ขอบคุณครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version