17/04/24 - 03:36 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกเลิกจ้าง เพราะเศรษฐกิจตกต่ำ พร้อมกับสถานะการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019  (อ่าน 3235 ครั้ง)

ลักษมี

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
บริษัทฯดำเนินกิจการ ขายเสื้อผ้าที่ห้างแพลตตินั่มแฟชั่นมอล  นายจ้างต้องการเลิกกิจการ ร้าน 2 สาขา (บริษัทฯมีหลาย สาขา ) อันเนื่องมาจากผลประกอบการลดลงไม่มีคนซื้อเสื้อผ้าโดยเฉพาะเดือน ก.พ. และเดือนมี.ค.63 ที่ผ่านมา  เพราะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 เจ้าของกิจการแจ้งว่าจะปิดทั้งสองร้าน สิ้นเดือน มี.ค. 63 และได้แจ้งว่าไม่มีร้านค้าให้ดูแลแล้ว

วันที่ 19 มี.ค. 63 นายจ้าง แจ้งให้หางานใหม่ทางไลน์  ต่อมา ได้มีการพูดคุยกันว่า งานส่วนอื่นๆที่โรงงานก็ไม่มีอะไรให้ทำ   และวันที่ 21 มี.ค. 63  ผู้ว่าฯกทม. มีคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้า ทำให้ร้านค้าที่บริษัทฯตั้งใจว่าจะปิด ต้องปิดเร็วขึ้น   เรามีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการกระจายสินค้า เปิดบิล  เบิก-โอน-ย้ายระหว่างโรงงานและหน้าร้าน  หน้าที่ในการทำงานจึงหมดเร็วขึ้นถึงแม้ว่ายังต้องดูในส่วนของการขายออนไลน์อยู่   
ดิฉันทำงานมา 2 ปี 6 เดือน เศษ นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างวดสุดท้ายให้และไม่ให้เงินชดเชยและค่าตกใจ  ภายหลังต่อรอง ได้รับเงินชดเชย  1 เดือน  โดยนายจ้างอ้างว่ากิจการขาดทุน แต่เมื่อปีก่อนนายจ้าง เพิ่งเปิดกิจการโรงแรม ขนาดเล็ก และเมื่อเดือน ก.พ. 63 นายจ้างเพิ่งขยายร้านนวดสปา และขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างโกดังเก็บของใกล้บ้านนายจ้าง
นายจ้างต้องการให้เซ็นรับเงินโดยมีเงื่อนไขไม่ให้ฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง จึงจะเซ็นในหนังสือเลิกจ้างให้  ไม่อย่างนั้นจะไม่เซ็น ซึ่งวันที่ 27 ทำงานวันสุดท้าย ก่อนที่โรงงานจะเปิดอีกที วันที่ 4 พฤษภาคม 63

-   อยากทราบว่า หาก เรารับเงิน 1 เดือนพร้อมค่าจ้างวดสุดท้ายตามเงื่อนไขของนายจ้างมาแล้ว แต่นายจ้างไม่ได้จ่ายชดเชยถูกต้องตามกฎหมาย  เรายังสามารถ ฟ้องเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่   ทั้งในส่วนของเงินชดเชยเลิกจ้างและค่าตกใจ
-   มีข้อควรระวังอะไรในหนังสือเลิกจ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
-   ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการ ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง หากทำได้
[/size][/size]

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาแรงงาน

  ถ้าถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ไม่มีความผิด) นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 กรณีที่ถาม  จะได้เงินชดเชย 90 วัน ตาม ม.118(2)(ถ้ารับเพียง 30 วัน ถือว่าเสียเปรียบเกินไป)...และตามข่าวจะได้เงินชดเชยจากรัฐ 3 เดือน เดือน ละ  5,000  บาท ( เมษายน  พฤษภาคม  มิถุนายน )ก็ต้องติดตามหาช่องทางรับการช่วยเหลือ...

-   มีข้อควรระวังอะไรในหนังสือเลิกจ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ตอบ...ถ้าเป็นหนังสือเจตนาลาออก  สิทธิในการรับเงินชดเชยจะหมดไป  ก็ต้องอ่านให้เข้าใจก่อน ลงลายมือชื่อ  ถ้ายังไม่เข้าใจ ควรปรึกษาผู้รู้จริงก่อน
-   ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการ ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง หากทำได้

ตอบ...ถ้ามีปัญหาเจรจาไม่ได้ข้อยุติ ควรร้องเรียน ต่อ พนักงานตรวจแรงงาน  ในท้องที่ที่ทำงาน ตาม ม.123 เรื่องฟ้องร้อง  คงมีการแนะนำจากเจ้าหน้าที่...

ลักษมี

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ 27 มี.ค. นายจ้างต้องการให้เซ็นรับเงินชดเชย 1 เดือน โดยมีเงื่อนไขไม่ให้ฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง ถ้าไม่เอา ก็ไม่ให้หนังสือเลิกจ้าง  และให้รอก่อน
ไม่ทราบว่าให้รออะไรทั้งที่วันนี้ทำงานวันสุดท้าย ก่อนบริษัทหยุด 1 เดือน  และถามเราว่าต้องการทำงานต่อไหม ซึ่งเราแจ้งว่าไม่แล้ว

-ถ้าเป็นในกรณีนี้ นายจ้างอ้างได้หรือไม่ว่า  ไม่ได้ให้ออก พนักงานต้องการออกเอง เพราะนายจ้างมีงานให้ทำแล้ว แต่พนักงานปฏิเสธ
-เรายังคงมีสิทธิเรียกร้องเงินชดเชย อยู่หรือไม่ค่ะ รวมทั้งค่าตกใจด้วย

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ควรหารือพนักงานตรวจแรงงานก่อน...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
นี่ก็เกิดจากผลกระทบจากไวรัสโควิด - ๑๙  โดยถามว่า...
อยากทราบว่า หาก เรารับเงิน 1 เดือนพร้อมค่าจ้างวดสุดท้ายตามเงื่อนไขของนายจ้างมาแล้ว แต่นายจ้างไม่ได้จ่ายชดเชยถูกต้องตามกฎหมาย  เรายังสามารถ ฟ้องเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่   ทั้งในส่วนของเงินชดเชยเลิกจ้างและค่าตกใจ
ตอบ ฟ้องอ่ะฟ้องได้ครับ ถ้านายจ้างเลิกจ้างก็ฟ้องได้ครับ

-   มีข้อควรระวังอะไรในหนังสือเลิกจ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
ตอบ อย่างแรกที่ควรระวัง คือห้ามเซ็นใบลาออกโดยเด็ดขาด หรือหากนายจ้างนำหนังสือมาให้เซ็นโดยมีข้อความว่าจะไม่เรียกร้อง/ฟ้องร้องใดๆ อีก อย่างนี้ก็ต้องไม่เซ็นนะครับ ถ้าเซ็นก็จะมีผลเป็นว่าเราได้สละข้อต่อสู้แล้ว

-   ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการ ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง หากทำได้
ตอบ ก็ให้เตรียมหลักฐานการเป็นลูกจ้าง สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการจ่ายค่าจ้าง วันเข้าทำงาน และวันที่ถูกเลิกจ้าง โดยไม่ต้องไปกังวลว่าในการเลิกจ้างจะต้องได้หนังสือเลิกจ้างเสมอไป แต่ขอให้มีหลักฐานยืนยันว่านายจ้างได้เลิกจ้างแล้ว อาจจะมีการบันทึกเสียง หรือมีข้อความสนทนายืนยันว่ามีการเลิกจ้างแล้ว และข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากนายจ้างยังไม่มีคำสั่งเลิกจ้างก็ต้องไปทำงานตามปกตินะครับ ห้ามปฎิเสธ มิเช่นนั้น จะเป็นว่าท่านไม่ไปทำงานเกินกว่าสามวัน ถือเป็นละทิ้งหน้าที่ นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินใดๆได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร.[/size]