27/04/24 - 03:57 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ค้ำประกันสหกรณ์ออมทรัพย์ครู  (อ่าน 2825 ครั้ง)

Salis

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ค้ำประกันสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
« เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2020, 09:45:43 am »
สวัสดีคะ​ ดิฉันเป็นผู้ค้ำประกันสหกรณ์ออมทรัพย์ครู​ แต่ตอนนี้ผู้กู้ไม่ชำระเลยคะ​ ทางศาลมีจดหมายมาให้ดิฉันเป็นผู้จ่าย​ ดิฉันจะทำไงดีคะเครียดมากเลยตัวเองก็ยังจ่ายสหกรณ์อยู่​ ดิฉันจะยังไงดี​ เครียดมาก​ ค้ำจำนวน250, 000บ.​ ดิฉันจะทำไงดีคะ​

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ค้ำประกันสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2020, 03:17:37 pm »
การค้ำประกัน
  ผู้ถามน่าจะเป็นครู  ดังนั้นน่าจะพอทราบคำตอบแล้ว เพราะเรื่องราวก็ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร   คือเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้  ผู้ค้ำประกันก็คงต้องรับผิดในหนี้นั้น  ตามข้อเท็จริงบอกว่าศาลให้ชำระหนี้...คงมีการฟ้องศาลมาแล้ว  คงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้แต่แรก โอกาสนั้นอาจจะหลุดลอยไปแล้วก็ได้...  เพราะการค้ำประกัน ตามที่แก้ไขใหม่ มีสาระสำคัญคือ  ผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องเป็นลูกหนี้ร่วม  ดังนั้นจึงขอให้เจ้าหนี้ไปเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนได้   และผู้ประกันจะรับผิดเฉพาะจำนวนที่ระบุไว้เท่านั้น  ไม่ต้องร่วมรับผิดทั้งหมด  คือไม่เป็นลูกหนี้ร่วม  ดังเดิม  แต่ไม่ทราบว่ามีการทำสัญญาฯก่อนมีการแก้ไขกฎหมายหรือไม่(แก้ไข 10 พ.ย 57)...เมื่อถูกฟ้องถ้ามีทนายช่วยเหลือแต่แรกคงช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่า....เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้  คงต้องใช้หนี้ตามคำพิพากษา  และใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากลูกหนี้  แต่ถ้าลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินใดให้บังคับคดี ก็คงลำบาก  คงต้องยอมรับสภาพ....ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ค้ำประกันสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2020, 02:55:19 pm »
อย่างแรกที่อยากจะบอกเพื่อไม่ให้เครียดก็คือ เงินเดือนของข้าราชการครู จะไม่ถูกอายัดเพื่อชดใช้หนี้ตามคำพิพากษา

แต่จะถูกสหกรณ์ฯหักหน้าซอง จากการไปทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาข้อความในสัญญานั้น

ซึ่งจากที่เล่ามา ก็เข้าใจว่า ถูกสหกรณ์ฟ้องแล้ว (ที่สงสัยคือ ทำไมสหกรณ์ถึงฟ้อง...มีช่องทางที่จะไม่ฟ้องแต่ได้รับเงินคืนแน่นอน เช่น การไกล่เกลี่ย การปรับโครงสร้างหนี้ การรับสภาพหนี้ ซึ่งเหล่านี้ สหกรณ์ฯจะไม่เสียประโยชน์ และไม่ต้องตั้ง "หนี้สงสัยจะสูญ" อันจะส่งผลให้ "กำไร" ที่จะมาแบ่งปันให้กับสมาชิกลดลง)

และผ่านขั้นตอนในชั้นศาล และมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อในวันอ่านคำพิพากษา เราไม่ไปศาล ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลับหลัง (ในทางปฎิบัติ ศาลจะไม่อ่านหรอก แต่จะให้ทนายโจทก์ไปขอคัดคำพิพากษาในวันหลัง) เมื่อลับหลังจึงถือว่า เรายังไม่ทราบคำพิพากษา ดังนั้น โจทก์จึงต้องขอให้ศาล "ออกคำบังคับ" มาให้จำเลยทราบ ซึ่งเข้าใจว่า น่าจะอยู่ถึงขั้นตอนนี้

ดังนั้น ข้อแนะนำ ก็คือ ให้ถือคำพิพากษานี้ไปหาสหกรณ์ และเขียนคำร้องขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยรวมหนี้นี้เข้าไปในหนี้เรา อาจจะต้องเจ็บตัวในการชำระหนี้แทนผู้กู้ โดยให้สหกรณ์ฯออกใบเสร็จรับเงินเต็มยอด แล้วไปใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้กู้ได้ เพราะถ้าไม่ใช้สิทธิตรงนี้ เดี๋ยวจะขาดอายุความอีก แต่ทั้งนี้ สหกรณ์ฯจะให้ปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่นั้น ก็อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการดำเนินงานและระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกนะครับ

ถ้าช่องทางนี้ไม่ได้ ก็ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องๆไปล่ะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.