16/04/24 - 11:04 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าบอกล่วงหน้า/ค่าตกใจ กรณีถูกเลิกจ้างกระทันหัน  (อ่าน 4051 ครั้ง)

Apple

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สอบถามค่ะกรณีถูกเลิกจ้างกระทันหัน ปกติเป็นพนักงานประจำบริษัทจ่ายค่าจ้างทุกวันที่2ของเดือน
2พค. รับเงินเดือนปกติ แต่เมื่อวันที่10 พค.ที่ผ่านมามีหนังสือเลิกจ้างจากนายจ้างแจ้งว่าจะปิดกิจการ
และในส่วนนี้คือให้พนักงานทำงานปกติจนถึงวันที่ 25พค.63
โดยจะจ่ายค่าชดเชยให้คนละ1เดือน แต่ค่าบอกล่วงหน้าไม่ได้แจ้งในเอกสาร
แต่มาเจรจาด้วยการพูดคุยว่าจะขอจ่ายค่าบอกล่วงหน้าที่1หมื่น (ปกติเงินเดือน30,000)
อยากทราบว่าค่าบอกล่วงหน้าหรือค่าตกใจกรณีนี้ จริงๆคือได้เท่าไหร่ กี่เดือน?
ข้อมูล : เริ่มงานตั้งแต่เดือน7/62 จนถึงปัจจุบัน (วันนี้13 พค.63)
**ปล.เหมือนจงใจเลิกจ้างก่อนอายุงานจะครบ1ปีเลยค่ะ จริงๆก็จงใจแหละ**
แล้วให้เขียนใบลาออก+บังคับให้ใช้พักร้อน+แถมจะไม่จ่ายค่าล่วงหน้าแบบนี้ไม่OK.เลยค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าบอกล่วงหน้า/ค่าตกใจ กรณีถูกเลิกจ้างกระทันหัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2020, 02:57:13 am »
ประเด็นที่ทนายรู้สึกไม่ชอบมาพากล คือ "แล้วให้เขียนใบลาออก" นี่แหละ มันจะเป็นประเด็น เพราะถ้าเราเขียนใบลาออก ก็ลืมเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไปได้เลย ไม่ได้แน่นอน

เอาล่ะ เมื่อยืนยันว่าเลิกจ้าง ก็ย่อมมีสิทธิได้รับสิทธิตามกฎหมาย นั่นคือ ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือเรียกโดยทั่วไปว่าค่าตกใจ วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมและตามส่วนในปีที่ถูกเลิกจ้าง รวมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หากการบอกเลิกจ้างนั้นไม่มีเหตุผลอันสมควรและเราไม่ได้ทำผิด

แต่เอาล่ะ เมื่อถามมาก็จะสรุปข้อกฎหมายเกี่ยวกับการบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนะครับ

อันว่าบอกกล่าวล่วงหน้านี้ได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งกำหนดไว้ว่า "...ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้..."

ดังนั้น ถ้ากำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ ๒ ของเดือน และบอกเลิกจ้างวันที่ ๑๐ วิธีนับว่าจะมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากี่วัน ก็คือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๑ เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๒ ก.ค. ก็จะได้ ๕๓ วัน (๒๑+๓๐+๒)

แต่จากที่เล่ามาก็ไม่ได้บอกว่า ที่ให้ทำงานปกติจนถึงวันที่ ๒๕ พ.ค. ๖๓ นั้น ในระหว่างวันที่ ๑๐ ถึงวันที่ ๒๕ นี้ นายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้หรือไม่ ถ้าจ่ายค่าจ้างให้ก็หักออก ๑๕ วัน คงเหลือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน ๓๘ วัน

ส่วนจะ OK. หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามนี้ล่ะครับ ;D

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2020, 03:00:22 am โดย ทนายพร »