29/03/24 - 07:11 am


ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับแรงงาน  (อ่าน 2179 ครั้ง)

Wittaya rattans

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับแรงงาน
« เมื่อ: กันยายน 01, 2020, 07:08:36 pm »
กราบสวัสดีท่านทนายพรที่เคารพ กระผมนั้นเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการงานที่ทำอยู่ในขณะนี้ ที่เหมือนจะโดนเอาเปรียบอยู่ประจำ
อันดับแรก ค่าแรงที่ผมได้รับคือ 350บาท เข้างาน 08:00น. มาสาย 7นาที (โดนหัก 20บาท) เลิกงาน 17:30น.
แต่... ไปส่งสินค้า กลับมาไม่ทัน 17:30น. ไม่ได้โอที จนถึง 19:00น. ซึ่งเหมือนจะโดนเอาเปรียบมากๆ
อันดับ2 ว่าด้วยเรื่องประกันสังคม พนักงานทุกคน เป็นลูกจ้างรายวัน วันละ 350บาท ต้องจ่ายประกันสังคม 600บาท/เดือน ที่ฐานเงินเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท ซึ่งเงินรายวันที่รวม30วันแล้วจะได้ 10,500บาท ซึ่งยังไม่รวม ค่าส่งของรอบละ 15บาท ค่าติดตั้งงานละ 50บาท ผมไม่รู้นะ ค่าส่งของ กับค่าติดตั้ง จะรวมกับค่าแรง เป็นฐานเงินเดือนหรือป่าว
อันดับที่3 การพักเที่ยง พนักงานมีสิทธิ์พักเที่ยง 1ชั่วโมง หรือป่าว
          สำหรับวันนี้ ผมก็มีคำถามเพียงเท่านี้ ขอขอบคุณสำหรับความรู้ และคำตอบ ขอบพระคุณครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับแรงงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 13, 2020, 12:55:49 am »
โหยยย...ถามเฉยๆก็ได้ครับ ไม่ต้องถึงกับกราบหรอกครับ ตอบให้ทุกคำถาม (ถ้ามีเวลาว่าง..อิอิ)

ตอบเลย

อันดับแรก น่าจะถามว่า ทำงานปกติเข้า ๘ โมงเช้า เลิกงาน ๑๗.๓๐ น. หากต้องไปส่งสินค้ากลับแล้วเลยเวลาเลิกงาน ไม่ได้โอที แต่ถ้ามาสายถูกหักตังค์ แล้วบอกว่าซึ่งเหมือนจะโดนเอาเปรียบ...ทนายอ่านแล้วดูเหมือนจะไม่ใช่คำถาม แต่น่าจะเป็นการเล่าให้ฟังมากกว่า ใช่ป่ะ..อิอิ  เอาเป็นว่า ถ้ากำหนดเวลาเลิกงาน ๑๗.๓๐ น. หากเกินเวลาดังกล่าวก็ต้องได้โอที หรือถ้าเป็นงานขนส่ง จะไม่เรียกโอที แต่จะเรียกว่า ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ ก็จะได้แค่ ๑ เท่าของชั่วโมงที่ทำนะครับ(ประกาศกระทรวงฉบับที่ ๑๒)

อันดับสอง การคำนวนฐานในการส่งประกันสังคมนั้น จะคิดที่ฐาน "ค่าจ้าง" ซึ่งหมายถึง เงินที่จ่ายให้เสมอๆ เงินที่จ่ายให้ประจำๆ และเงินที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้โดยไม่มีเงือนไข ถือเป็นค่าจ้าง ดังนั้น ต้องดูว่า ค่าขนส่ง และค่าติดตั้งาน ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ ถ้าเป็นค่าจ้างก็ต้องนำมาคำนวนเป็นฐานในการคิดเงินส่งประกันสังคมด้วย  ดังนั้น ข้อนี้ข้อมูลยังไม่ชัดเจน จึงตอบไม่ได้ว่า นายจ้างทำถูกหรือผิด

อันดับที่สาม การพักกฎหมายบอกว่า ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างพักอย่างน้อย ย้ำ อย่างน้อยวันละไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง หมายความว่า มากกว่า ๑ ชั่วโมงได้ แต่จะน้อยกว่า ๑ ชั่วโมงไม่ได้ และใน ๑ ชั่วโมงก็ยังสามารถแบ่งพักเป็นช่วงได้ด้วยนะครับ แต่วันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมงครับ

สำหรับวันนี้ ทนายก็คงจะตอบเพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณที่ถามมานะครับ

ทนายพร.