24/04/24 - 03:19 am


ผู้เขียน หัวข้อ: การทยอยจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้าง  (อ่าน 2257 ครั้ง)

ชลาลัย

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
การทยอยจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้าง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2020, 01:06:09 pm »
สวัสดีค่ะ ???? คุณทนายพร
ดิฉันขอรบกวนปรึกษากรณีนายจ้างขอจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างค่ะ เนื่องด้วยบริษัทที่ดิฉันเคยร่วมงาน ได้เลิกจ้างดิฉัน (ออกหนังสือเลิกจ้างให้แล้ว) โดยให้เหตุผลว่าเป็นการปรับโครงสร้างบริษัท (บริษัท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า2019) ทางนายจ้างได้มีการขอประณีประณอม มีการร้องขอความเห็นอกเห็นใจ ขอจ่ายเงินชดดชยน้อยกว่าจำนวนเดือนตามที่กฎหมายกำหนดค่ะ ดิฉันเข้าใจและเห็นใจในสถานการณ์เช่นนี้ จึงได้ตอบตกลงด้ววคำพูด รับค่าชดเชย 4 เดือน นายจ้างขอความเห็นใจ จะทยอยจ่าย งวดละ 1 เดือน เป็นเวลา 4 เดือนค่ะ นายจ้างแจ้งเหตุผลว่า บริษัทขาดสภาพคล่อง ไม่มีรายรับเข้ามา ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2563 จึงไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยให้ได้ทั้งหมดเป็นก้อนเดียว.. ดิฉันจึงขอรบกวนคำปรึกษาคุณทนายพรค่ะ ว่าดิฉันควรทำอย่างไร หากนายจ้างร่องขอความเห็นใจที่จะทยอยจ่ายเป็นเดือนๆแบบนี้ ได้มีการพูดคุยกันว่าทางนายจ้างจะทำบันทึกการทยอยจ่ายเงินชดเชยให้ ทางนายจ้างแจ้งว่า รายละเอียดคร่าวๆ คือ นายจ้างเป็นหนี้เท่าไหร่ จะทยอยจ่ายให้ทุกเดือนเป็นเวลา 4 เดือน เดือนละเท่าไหร่ จนครบกำหนดค่ะ แต่ทางนายจ้างจะระบุ ว่า ดิฉันไม่ติดใจและจะไม่เรียกร้องสิทธิ์ใดค่ะ ถ้าดิฉันเซ็นต์ยินยอม แล้วถ้าหากนายจ้าง ไม่จ่ายเงินจนครบทุกงวด หรือหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชย ไม่ครบตามบันทึก ดิฉันจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ หรือดิฉันควรจะทำอย่างไรหากเกิดเหตุการณ์ที่กล่าวมา เพราะตอนนี้ ดูแล้วหากสถานการณ์โควิดไม่ดีขึ้น ทางบริษัทเคยแจ้งว่า อาจจะต้องปิดตัวลงภายในต้นปีหน้าค่ะ

กราบขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ ????

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: การทยอยจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2020, 08:13:17 am »
การเลิกจ้าง

  ถ้าทำบันทึกการจ่ายเงินชดเชยไว้ ก็คือสัญญาแบบหนึ่ง  สามารถใช้บังคับได้  ถ้าผู้ทำบันทึกมีอำนาจเต็มในการลงนาม ในบริษัทนั้น  ถ้ามีการผิดสัญญาก็ต้องไปใช้สิทธิฟ้องร้อง...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: การทยอยจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2020, 11:18:02 am »
อืมมมม....ก็น่าเห็นใจทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะลูกจ้างที่เข้าใจและยินยอมที่จะรับค่าชดเชยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด

เอาเป็นว่า ถ้าตกลงกันได้ด้วยดี ทนายก็จะไม่แนะนำข้อกฎหมายมากมาย ถ้าทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายจะลงนามเพื่อบังคับใช้  แต่ทนายก็แอบเป็นห่วงว่าข้อความในสัญญานายจ้างจะหมกเม็ดเอาเปรียบเรา เนื่องจากโดยปกติผู้ใดร่างสัญญา ย่อมต้องร่างให้ฝ่ายตนได้เปรียบ

เมื่อลงนามไปแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาก็สามารถนำสัญญานั้น ไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้อีกฝ่ายปฎิบัติตามสัญญาได้

อย้างไรก็ตาม ฝากอ่านคำพิพากษาศาลฏีกานี้ด้วยนะครับ  ;D

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๒๔๐๙/๒๕๒๗ , ๑๓๕๒/๒๕๕๑

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.