29/03/24 - 17:09 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่ได้แสกนเวลาเข้างานและแก้ไขเวลางานเพื่อไม่ให้สาย.สามารถไล่ออกได้เลยใช่ไหม?  (อ่าน 2781 ครั้ง)

P007

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
ไม่ได้แสกนเวลาเข้างานเนื่องจากมาสายบ่อยค่ะ( มีสาเหตุส่วนตัวจากการเดินมาทำงานในช่วงโควิดที่ไม่ทันรอบรถประจำทางเนื่องจากมีรถบริการวิ่งน้อย ถ้าไม่ทันรอบจะทำให้เข้าทำงานสายถ้าสาย1นาทีจะต้องลา1ชม.) จึงได้ทำผิดด้วยการไม่ได้แสกนเวลามีทั้งลืมจริงและจงใจบางครั้ง แล้วได้ใส่เวลาทำงานปกติเข้าระบบแทน(เป็นจนท.เช็คเวลาทำงานค่ะ)เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียชม.ลา.เนื่องจากกลัวว่าวันลาจะไม่พอกับการที่อาจจะต้องมาเข้างานสายบ่อย แต่ทุกครั้งที่เข้ามาทำงานก็เริ่มปฏิบัติงานทันทีจนถึงเวลาเลิกงานปกติไม่เคยอยู่เกินเพื่อรับค่าล่วงเวลา ตัวพนง.เข้าใจและยอมรับในความผิดที่ทำซ้ำมาหลายครั้งค่ะ

วันที่24/5/64 หน.หน่วยงานแจ้งว่ามีประชุมช่วงสี่โมงเย็นเวลาหลังเลิกงาน แต่สรุปเป็นการเรียกไปสอบสวนโดยมีผู้บริหารฝ่ายและผจก.แผนกทำการสอบสวนทั้งหมด5ท่าน  ในเรื่องทำผิดระเบียบวินัยข้างต้นที่กล่าวมาว่าเป็นการทำผิดทุจริตในหน้าที่และกฎหมายพร้อมทั้งบอกว่าต้องให้ออกจากงานแต่อยู่ในขั้นตอนเสนอกับทางผู้บริหารระดับสูงอยู่ว่าจะพิจารณาให้เขียนใบลาออกหรือไล่ออกดี พร้อมทั้งพูดว่าจะมีประวัติติดตัวและไม่ได้เงินกองทุนสำรองฯ และถามต่อว่าได้คิดไว้หรือยังว่าจะทำอะไรต่อไป. ซึ่งพนง.ไม่ได้ทราบมาก่อนค่ะว่าจะมีการเรียกสอบสวนหรือจะได้รับการตัดสินโทษดังกล่าว. ผจก.แผนกไม่ได้มีการเรียกคุยกันก่อนภายในแผนกและไม่มีการออกใบเตือนให้. นับว่าเป็นครั้งแรกที่เรียกมาสอบสวนและแจ้งทันทีว่าให้ลาออก.ในเบื้องต้นตอนนี้ได้รับคำสั่งให้พักงานชั่วคราวเป็นเวลา7วัน.ทางแผนกบอกว่าจะแจ้งกลับมาอีกทีเมื่อครบวันว่าจะให้เขียนใบลาออกหรือจะเซ็นยินยอมการไล่ออก

●อยากสอบถามว่าควรเซ็นใบยินยอมลาออกมั้ยคะ?
●สั่งพักงานต้องมีหนังสือแจ้งมั้ยคะหรือวาจาได้เลย?
● เคสแบบนี้สามารถที่จะตักเตือนก่อนหรือว่านายจ้างสามารถเลิกจ้างได้เลยโดยที่ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าคะ?
●ถ้าโดนไล่ออกแล้วจะเรียกร้องค่าอะไรได้บ้างมั้ยคะในกรณีนี้
●มีเคสพนง.ท่านอื่นที่ทำผิดในเรื่องเกี่ยวกับเงิน,ขาดงานเกิน,แต่โดนแค่หนังสือเตือนเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมในบทลงโทษนี้ค่ะ

เลยอยากขอความช่วยเหลือจากทางคุณทนายให้คำแนะนำด้วยนะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 25, 2021, 12:32:42 am โดย P007 »

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
การปลอมแปลงเอกสาร

●อยากสอบถามว่าควรเซ็นใบยินยอมลาออกมั้ยคะ?

ตอบ...(ความเห็นของผู้ตอบ) ควรลาออก เพราะทำความผิดอาญา ที่มีโทษทั้งจำและปรับ (ปอ. ม.264) เพื่อให้โอกาสไปหางานใหม่ที่ ไม่ระบุประวัติที่เคยกระทำความผิด
●สั่งพักงานต้องมีหนังสือแจ้งมั้ยคะหรือวาจาได้เลย?
ตอบ...ความผิดนี้(ปลอมแปลงเอกสาร) ถือเป็นควรผิดร้ายแรงที่ไม่ต้องมีการแจ้งเตือน ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม119(4)
● เคสแบบนี้สามารถที่จะตักเตือนก่อนหรือว่านายจ้างสามารถเลิกจ้างได้เลยโดยที่ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าคะ?
ตอบ..ใช่
●ถ้าโดนไล่ออกแล้วจะเรียกร้องค่าอะไรได้บ้างมั้ยคะในกรณีนี้
ตอบ...ไม่น่าจะเรียกร้องอะไรได้ การไม่ถูกดำเนินคดี ถือว่า มีโชคดีพอสมควร
●มีเคสพนง.ท่านอื่นที่ทำผิดในเรื่องเกี่ยวกับเงิน,ขาดงานเกิน,แต่โดนแค่หนังสือเตือนเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมในบทลงโทษนี้ค่ะ
ตอบ..อาจจะ....เป็นความผิดที่ถือว่าไม่ร้ายแรงก็ได้...ตอบคำถามนี้ด้วยความเห็นใจ และไม่สบายใจ  เพราะการแนะนำให้ลาออกเป็นเรื่องใหญ่มากของชีวิต  แต่เมื่อกระทำความผิด ก็ต้องมีผลลัพทธ์ตามมมาที่อาจจะคาดไม่ถึง ขอยืนยันว่า ตอบคำถามด้วยเจตนาดี และ ประสงค์ดี มีเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
ทนายอ่านเรื่องราวแล้วก็น่าห่วง ตรงที่พนักงานมีหน้าเช็คเวลาทำงานนี่แหละ 

ทำไมถึงห่วง?...

ก็เนื่องจากในทางกฎหมายจะถือว่า ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์เพื่อตนเอง หรือถ้าในระบบราชการจะเรียกว่า โดนคดีอาญา มาตรา ๑๕๗ นั่นแหละ

เอาละตอบรวมๆเลยแล้วกันนะครับ

อย่างแรก ต้องพิจารณาก่อนว่า การกระทำของเราเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงหรือไม่? ซึ่งแน่นอนว่า การที่เราไม่แสกนเวลาทำงานแล้วไปใช้วิธีลงในระบบว่าเราไม่ได้มาทำงานสาย ทำให้ได้รับค่าจ้างเต็ม โดยแท้จริงแล้วไม่มีสิทธิได้รับ จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ อันเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตามข้อบังคับฯ ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๑๑๙ นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องตักเตือนก่อน

หรือเรียกว่า เลิกจ้างเพราะมีความผิดนั่นแหละ

เมื่อเลิกจ้างโดยมีความผิดโดยปกติแล้วขัอบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนเดี่ยวหรือกองทุนรวม ก็จะกำหนดไว้ในกรณีที่สมาชิกพ้นสภาพข้อหนึ่งว่า สมาชิกกองทุนจะไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบในส่วนที่นายจ้างและผลประโยชน์ในส่วนของนายจ้าง กรณีที่สมาชิกถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยมีความผิด  แต่หากเป็นการพ้นสภาพเนื่องจากลูกจ้างลาออก ก็จะมีสิทธิได้รับเงินสะสมและเงินสมทบทั้งสองส่วน บวกด้วยผลประโยชน์ทั้งหมด

ส่วนควรจะเซ็นใบลาออกหรือไม่นั้น ก็พิจารณาได้จากคำถามที่ทนายได้วิเคราะห์ไปนะครับ

คงครบถ้วนสำหรับคำถามที่อยากรู้นะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.