29/03/24 - 05:19 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ออกไปนอกบริษัทฯโดยไม่แสกนเวลาทั้งออกและเข้า มีความผิดมากน้อยแค่ไหน?  (อ่าน 2452 ครั้ง)

P007

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
พนง.กลุ่มนึงออกไปนอกบริษัทฯโดยไม่แสกนเวลาทั้งออกและเข้าช่วงพักเนื่องจากมีการออกก่อนและกลับเข้ามาช้า เลยไม่แสกนเพื่อไม่ต้องการขึ้นสถานะขาดงาน(กลับมาช้าเกินเวลาพักที่กำหนดแล้วไม่ลาในระบบจะขึ้นว่าขาดงาน)และไม่ต้องลางานที่กลับมาเข้าสาย(สาย1นาที=ลา1ชม.)แต่มีการเช็คเจอกับสมุดบันทึกเข้า-ออกของรปภ.ทำมาหลายครั้ง

 ● จะถือว่ามีความผิดถึงขั้นเลิกจ้างไหมคะ ?
 ● มีจนท.บุคคลร่วมด้วยในการออกไป เลยไม่ได้ลงโทษทางวินัยใครถือว่าทำได้ใช่มั้ยคะ?

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ระเบียบข้อบังคับฯ

● จะถือว่ามีความผิดถึงขั้นเลิกจ้างไหมคะ ?

ตอบ...ตามข้อเท็จจริงถือเป็นการทำผิดระเบียบข้องคับของบริษัท  แต่จะรุนแรงมากน้อยเพียงใด  คงตอบไม่ได้   ก็คงแล้วแต่ นโยบายของบริษัทนั้นๆ  แต่ตามความเห็นส่วนตัว  ถือว่า เป็นความผิดรุนแรง ที่อาจถูกเลิกจ้างได้  เพราะการเข้าออกจากบริษัท โดยไม่เหตุอัควร ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทเสียหายได้ (ขออภัย นะ ว่าไปตามข้อเท็จจริง  ไม่ต้องการซ้ำเติม ครับ)
 ● มีจนท.บุคคลร่วมด้วยในการออกไป เลยไม่ได้ลงโทษทางวินัยใครถือว่าทำได้ใช่มั้ยคะ?

ตอบ...ก็ต้องมาดูว่า  จนท.นั้น อยู่ระดับไหน สำคัญอย่างไร  การยกเว้นความผิด สามารถทำได้เสมอ  เพราะเป็นเรื่องภายในของบริษัท ทุกสังคม ระบบเส้นสาย  ระบบอุปถัมภ์ ย่อมมีอยู่เสมอ  เขาทำได้  แต่ถ้าทำไปทำอาจซวย เพราะไม่มีแบ็ค   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
การไม่บันทึกเวลาการทำงานโดยมีเจตนาที่จะปกปิดเวลาที่แท้จริง เพื่อที่จะได้ไม่ถูกหักเงินจากการเข้าทำงานสาย

ในทางกฎหมายจะถือว่า เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ถือเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง อาจถูกเลิกจ้างได้

อย่างไรก็ตาม หาก จนท.ฝ่ายบุคคล ก็กระทำความผิดเหมือนกัน แต่ได้รับโทษไม่ถึงขั้นเลิกจ้าง ก็อาจเป็นการเลือกปฎิบัติในการลงโทษได้ ซึ่งกรณีเช่นนี้ ศาลเคยวินิจฉัยว่า "เมื่อการกระทำความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน เมื่อนายจ้างลงโทษนาย....ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือ แต่ลงโทษ นาย.... ด้วยการเลิกจ้าง จึงถือได้ว่า นายจ้างกำหนดโทษเพียงการตักเตือนเป็นหนังสือและไม่ใช่กรณีร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างนาย...จึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชย"

สรุปคือ หากทำความผิดเดียวกันก็จะต้องได้รับโทษสถานเดียวกัน หากเป็นการเลือกปฎิบัติ ก็สามารถนำเหตุเลือกปฎิบัติยกขึ้นต่อสู้ได้ครับ

ประมาณนี้ครับ

ทนายพร.