19/04/24 - 00:20 am


ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญาจ้างระบุวันเริ่มงาน และจำนวนเดือน แต่ไม่ระบุวันสิ้นสุด  (อ่าน 3106 ครั้ง)

Pinyada

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
รบกวนอย่างสูงค่ะ
นายจ้างทำสัญญาจ้างระบุวันเริ่มต้น แต่ไม่ระบุวันสิ้นสุด เพียงระบุจำนวนเดือน 6 เดือน หากครบ 6 เดือน นายจ้างต้องการขยายเวลาจ้างออกไปโดยทำสัญญาจ้างเดือนต่อเดือน หรืออื่นๆ
1.ลูกจ้างสามารถไม่ต่อสัญญาจ้างได้หรือไม่
2.หากลูกจ้างไม่ยอมต่อสัญญา ยังได้รับเงินชดเชยหรือไม่
3.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 6 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 1 ปี โดยได้รับเงินชดเชย 3 เดือนหรือไม่
4.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 3 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 9เดือน โดยได้รับเงินชดเชย 1 เดือนหรือไม่

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
สัญญาจ้าง

1.ลูกจ้างสามารถไม่ต่อสัญญาจ้างได้หรือไม่

ตอบ...การทำสัญญาเป็นความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย  ถ้าลูกจ้างไม่ต่อสัญญาก็สามมารถทำได้เสมอ
2.หากลูกจ้างไม่ยอมต่อสัญญา ยังได้รับเงินชดเชยหรือไม่
ตอบ...การจะได้รับเงินชดเชย ตามกฎหมายแรงงาน  ต้องเป็นกรณีที่นายจ้าง เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม   แต่การกำหนดวันครบสัญญาไว้ ไม่ถือว่า ถูกเลิกจ้าง  เพราะ "สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า" (พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.17วรรคแรก)
3.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 6 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 1 ปี โดยได้รับเงินชดเชย 3 เดือนหรือไม่
4.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 3 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 9เดือน โดยได้รับเงินชดเชย 1 เดือนหรือไม่

ตอบ  3-4   ทั้งสองกรณีไม่น่าจะนำเวลาทำงานมานับต่อกันได้  เพราะุเป็นการจ้างที่มีกำหนดวันครบสัญญาไว้แน่นอน  จึงไม่ใช่การเลิกจ้าง จึงไม่สิทธิได้รับเงินชดเชย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 วรรคสาม

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ถามมาว่า....
1.ลูกจ้างสามารถไม่ต่อสัญญาจ้างได้หรือไม่?
ตอบ อย่างแรกและสำคัญมาก คือต้องไปดูสัญญาก่อนว่าเป็นสัญญาจ้างแบบใด อย่าเพียงดูแห่หัวกระดาษหรือข้อความกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดกันไว้ จะต้องดูทั้งฉบับว่าได้สร้างเงื่อนไขในลักษณะที่สามารถจ้างต่อหรือต่อสัญญากันได้อีกหรือไม่ หากมี ก็จะถือว่าเป็น "สัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน" เมื่อถือว่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน ก็ถือว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีสิ้นสุดเราในฐานะลูกจ้างก็ต้องไปทำหน้าที่คือไปทำงานตลอดระยะเวลา ถ้าขาดงานก็จะถือว่าละทิ้งหน้าที่ นายจ้างอาจเลิกจ้างได้ แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน เมื่อครบสัญญาก็เป็นสิทธิของเราที่จะเลือกว่าจะต่อหรือไม่ต่อครับ
ดังนั้น ในชั้นนี้ คงตอบไม่ได้ว่าหากจะต่อสัญญาหรือไม่ต่อสัญญา จะทำได้หริอไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาและวินิจฉัยจากเอกสารสัญญาจ้างดังกล่าวว่าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างเด็ดขาดแล้วหรือไม่นั้นเองครับ


2.หากลูกจ้างไม่ยอมต่อสัญญา ยังได้รับเงินชดเชยหรือไม่?
ตอบ ยังตอบไม่ได้จนกว่าจะได้วินิจฉัยประเภทของสัญญานั้นครับ แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน ก็มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามอายุงาน โดยเทียบเคียงอายุงานตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
ซึ่งเรื่องนี้ มีหลายคนเข้าใจผิดว่า หากเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนแล้วเมื่อครบกำหนดสัญญาดังกล่าวแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากอ่านตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสามก็จะทำให้เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าอ่านในวรรคสี่ ก็จะรู้ได้เลยว่า กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยก็จะต้องเป็นการทำงานที่มีลักษณะเป็นงานโครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจปกติ เช่น ปกติประกอบกิจการผลิตสินค้า แต่มาจ้างทำเราทำงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าที่ผลิต อย่างนี้เป็นต้น หรืองานตามฤดูการ เช่น จ้างให้ทำงานตัดอ้อย ซึ่งก็จะมีระยะเวลาในการหีบอ้อย เป็นต้น ซึ่งงานโครงการก็ดี หรืองานตามฤดูการก็ดี ต้องมีระยะเวลาการทำงานไม่เกินสองปี หากเกินกว่าสองปีถึงแม้จะเข้าเงื่อนไขก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยอยู่ดีครับ


3.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 6 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 1 ปี โดยได้รับเงินชดเชย 3 เดือนหรือไม่?
ตอบ ใช่แล้วครับ

4.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 3 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 9เดือน โดยได้รับเงินชดเชย 1 เดือนหรือไม่?
ตอบ ที่เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ประมาณนี้ขอให้กลับไปอ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนนะครับ ซึ่งในประเด็นนี้ทนายได้ตอบไปหลายครั้งแล้วในเว็บฯนี้ ลองไปค้นหาเรื่องการตีความสัญญาจ้างดูนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.
[/color]