27/04/24 - 04:53 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ทรัพย์สมบัติที่ยกให้ภรรยานอกสมรส ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ ยังถือเป็นสินสมรสหรือไม่?  (อ่าน 7419 ครั้ง)

Ponchai

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ขอเรียนถามปัญหาดังนี้นะครับ พ่อผมแอบไปมีภรรยาน้อย แล้วต่อมาไม่นานก็ย้ายออกไปอยู่บ้านภรรยาน้อยร่วม 10 ปีแล้วมีบุตรกับเธอ 1 คน พ่อกับแม่ผมจดทะเบียนสมรส และยังไม่ได้หย่ากัน ทรัพย์สมบัติที่เกิดขึ้นในส่วนที่พ่อทำขึ้นมาใหม่ นับแต่พ่อผมย้ายไปอยู่กับภรรยาน้อย ยังถือเป็นสินสมรสอยู่หรือไม่?  และหากทรัพย์สินดังกล่าวที่เกิดขึ้นระหว่างนั้น พ่อได้ใส่ชื่อภรรยาน้อยเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว (เช่น รถ บ้าน ที่ดิน ฯลฯ) ทรัพย์เหล่านั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายภรรยาน้อยโดยสมบูรณ์หรือไม่ ??  ถ้าพ่อผมเสียชีวิตลง แม่ผม มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกเอาทรัพย์สินเหล่านั้นคืนมาได้หรือไม่?  และบุตรที่เกิดจากภรรยาน้อย จะมีสิทธิ์ในกองมรดกของบิดาในส่วนใดบ้าง? 

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
ก่อนที่จะตอบคำถามต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินส่วนตัวกับสินสมรสก่อนนะครับ
ซึ่งผู้ร่างกฎหมายเล็งเห็นแล้วว่า เรื่องนี้น่าจะเกิดปัญหาในอนาคตแน่ กฎหมายจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆของสินส่วนตัวและสินสมรสเพื่อไม่ให้เกิดการยื้อแย่งกันแม้แต่ของใช้ส่วนตัว จึงได้กำหนดรายละเอียดเลยครับว่าสินส่วนตัวได้แก่อะไรบ้างและสินสมรสได้แก่อะไรบ้าง ดังนี้ครับ
 สินส่วนตัว มี 4 ประเภท คือ
1) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน เงินทอง
2) ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือได้มาโดยเสน่หา
3) ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือประกอบอาชีพ
4) ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นจะถือเป็นสินส่วนตัวของผู้หญิง
และส่วนสินสมรสแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1) ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส
2) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรมโดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส และ
3) ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิหรือดอกผลของสินส่วนตัว

ดังนั้น ทรัพย์สินใดที่เป็นสินสมรสทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันครับ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแอบดำเนินการเพียงลำลังไม่ได้ครับ

เช่นฝ่ายชายจะซื้อบ้านหลังใหม่เป็นชื่อฝ่ายผู้ชายแต่ผู้เดียว ชายคนนี้จะเที่ยวเอาไปขายตามลำพังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากฝ่ายหญิงก็ไม่ได้เพราะมันเป็นสินสมรส เวลาจะขายต้องให้ภรรยายินยอม หากภรรยาไม่ยินยอมก็ขายไม่ได้ครับเพราะสินสมรสต้องจัดการร่วมกัน

แต่ทรัพย์สินบางอย่างแม้ว่าจะได้มาระหว่างแต่งงานแต่ก็ไม่ใช่สินสมรส เช่น แม่ของฝ่ายชายเสียชีวิตทำให้มีมรดกตกทอดมายังฝ่ายชายเป็นที่ดิน 100 ไร่ ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินมรดกตกแก่ฝ่ายชายถือเป็นสินส่วนตัว ฝ่ายหญิงจะมาขอแบ่งก็ไม่ได้เลยครับ ยกเว้นแต่ว่าก่อนตายคุณพ่อฝ่ายชายทำพินัยกรรมแล้วระบุว่าที่ดิน 100 ไร่นี้ให้ตกเป็นสินสมรสของทั้งคู่ครับ

โดยสรุป สินสมรสก็คือทรัพย์สินที่ทำมาหาได้มาในระหว่างแต่งงาน ต้องใช้แรงงานแรงกายหรือต้องทำงานครับ ถ้าได้มาอย่างนี้เป็นสินสมรส แต่ถ้ามีคนยกให้ฟรี ๆ หรือได้รับมรดกถือเป็นสินส่วนตัว
จากคำถามขอตอบดังนี้ครับ
1.   หากพ่อกับแม่จดทะเบียนสมรสและยังไม่ได้หย่ากันทรัพย์ที่หามาได้ก็ถือเป็นสินสมรสครับ
2.   พ่อใส่ชื่อภรรยาน้อยเป็นเจ้าของ?...ต้องดูว่าเงินที่ได้มาจากการไปซื้อทรัพย์สินนั้นได้มาอย่างไร หากเป็นสินส่วนตัวของพ่อ(ตามข้อกฎหมายข้างต้น) พ่อก็สามารถทำการจำหน่ายจ่ายแจกไปโดยลำพังได้ครับ...หากเป็นสินสมรสก็ต้องได้รับความยินยอมจากแม่ครับ
3.   ถ้าพ่อผมเสียชีวิตลง แม่ผม มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกเอาทรัพย์สินเหล่านั้นคืนมาได้หรือไม่? ..ได้หรือไม่ได้ให้ดูที่ข้อ 2 ครับ ถ้าเป็นสินสมรสก็ฟ้องขอแบ่งได้ครับ
4.   บุตรที่เกิดจากภรรยาน้อย จะมีสิทธิ์ในกองมรดกของบิดาในส่วนใดบ้าง?...บุตรที่เกิดมาจากบิดาย่อมได้สิทธิในกองมรดกของบิดาตามส่วนในฐานะบุตรครับ ทั้งนี้ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือที่ได้รับการรับรองแล้วว่าเป็นบุตรของบิดาครับ

Sungshimi

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
พอได้อ่านแล้วเข้าใจขึ้นเยอะเลยคะทนาย