Link 1
Link 2
Link 3
Link 4
Link 5
24/11/24 - 10:21 am
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
»
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
»
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
»
ครบสัญญาจ้าง 3 ปี ถ้านายจ้างไม่ต่อสัญญา ไปฟ้องศาลแรงงานได้ไหม
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: ครบสัญญาจ้าง 3 ปี ถ้านายจ้างไม่ต่อสัญญา ไปฟ้องศาลแรงงานได้ไหม (อ่าน 29603 ครั้ง)
ทนายพร
Administrator
Hero Member
กระทู้: 758
ครบสัญญาจ้าง 3 ปี ถ้านายจ้างไม่ต่อสัญญา ไปฟ้องศาลแรงงานได้ไหม
«
เมื่อ:
มีนาคม 12, 2015, 02:37:20 pm »
วันนี้ผมให้คำปรึกษาลูกจ้างคนหนึ่ง ที่สอบถามมาว่า ตนเองมีกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างงานกับบริษัทแห่งหนึ่งแค่ 3 ปี ซึ่งจะหมดประมาณเดือนพฤษภาคม 2558 ที่จะถึงนี้
(1) ถ้าครบระยะเวลาตามสัญญาจ้าง หากบริษัทไม่มีการต่อสัญญาจ้างดังกล่าว ถือว่าเป็นการเลิกจ้างหรือไม่
(2) ตนเองจะได้รับค่าชดเชยต่างๆ จากการไม่ต่อสัญญาจ้างหรือไม่ อย่างไร
(3) นายจ้างต้องแจ้งเหตุผลของการไม่ต่อสัญญาหรือไม่
(4) ถ้านายจ้างไม่ต่อสัญญาต่อนั้น หากตนเองไม่พอใจ สามารถไปฟ้องศาลแรงงานได้หรือไม่
ในช่วงที่แนะนำไปนั้น ผมได้อ้างถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 ที่ระบุไว้ว่า
"ถ้าระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างกันนั้นสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างยังคงทำงานอยู่ต่อไปอีก และนายจ้างรู้ดังนั้นก็ไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า คู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิม แต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเลิกสัญญาเสีย ได้ด้วยการบอกกล่าวตามความในมาตราต่อไปนี้"
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า
(1) สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ถ้าแต่ละฝ่ายต่างยึดการครบกำหนดของสัญญาเป็นสำคัญ ก็ถือเป็นการเลิกสัญญาจ้างโดยผลของสัญญาสิ้นสุด
(2) อย่างไรก็ตามต้องดูในข้อเท็จจริงหลังจากนั้นเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน เช่น ในเดือนเมษายน 2558 ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาจ้างงาน 1 เดือน นายจ้างได้แจ้งฝ่ายลูกจ้างหรือไม่ว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว หรือสมมติว่าสัญญาสิ้นสุดแล้ว แต่ในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ลูกจ้างยังมาทำงานให้นายจ้างอยู่ และนายจ้างได้จ่ายค่าตอบแทนให้ อย่างนี้จึงถือว่ามีการทำสัญญาจ้างงานใหม่ขึ้นมาแล้ว
(3) ต้องพิจารณาเหตุผลว่านายจ้างเลิกจ้างเพราะอะไร แน่นอนนายจ้างอาจมีเหตุผลต่างๆนานาในการพิจารณา ทั้งนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ลูกจ้างรับทราบก็ได้ ถือว่าเป็นสิทธิของนายจ้าง แต่เมื่อสืบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า เป็นการเลือกปฏิบัติกับตนเองเพียงคนเดียวหรือเฉพาะกลุ่ม ทั้งๆที่บริษัทก็มีความจำเป็นต้องใช้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งนี้อยู่ และลูกจ้างคนอื่นๆ แม้สัญญาหมดก็ยังให้ทำงานต่อไป นี้จึงเข้าข่ายเรื่องการเลือกปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำไปฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้
(4) การเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามระยะเวลาในการทำงานครับ คือ 180 วัน
1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10 ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
(5) สมมติว่านายจ้างมีการต่อสัญญาอัตโนมัติ คือ ยังมาทำงานในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ต่อไปและจ่ายค่าตอบแทน นี้จึงถือว่าสัญญาจ้างฉบับใหม่ที่ไม่มีระยะเวลาแน่นอนในการจ้างเกิดขึ้นแล้ว ต่อมาในเดือนธันวาคม 2558 นายจ้างได้บอกเลิกจ้างลูกจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า นอกเหนือจากค่าชดเชยด้วยครับ
รายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม อ่านได้จากที่นี่ครับ
- สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อเลิกจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
http://www.thanaiphorn.com/content.php?type=1&id=93
- แม้จะเป็นการเลิกจ้างเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้างตามที่กำหนดเวลาไว้แน่นอนแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม แต่นายจ้างก็ยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่ดี
http://www.thanaiphorn.com/content.php?type=1&id=206
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
No comments for this topic.
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
»
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
»
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
»
ครบสัญญาจ้าง 3 ปี ถ้านายจ้างไม่ต่อสัญญา ไปฟ้องศาลแรงงานได้ไหม