29/03/24 - 00:59 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต  (อ่าน 38369 ครั้ง)

Jessy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2015, 08:29:28 pm »
ขอสอบถามหน่อยค่ะ กรณีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกเนินคดีภายใต้พรบคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และถูกส่งตัวกลับประเทศ จะไม่สามารถเข้ามาในประเทศอีกกี่ปีคะ และหากฝ่าฝืนจะมีโทษอะไรคะ ขอบคุณมากค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2015, 09:24:56 pm »
กรณีแรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 โดยตัวแรงงานจะถูกจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ถ้าแรงงานต่างด้าวยินยอมเดินทางกลับนอกราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ ไม่เกิน 30 วันหลังจากถูกจับ  พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับ และดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้

ส่วนตัวนายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน  จะโดนปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (มาตรา 54)

เมื่อถูกส่งตัวกลับประเทศแล้ว แรงงานต่างด้าวจะสามารถกลับเข้ามาประเทศไทยได้อีก ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเข้าเมืองที่ถูกกฎหมาย คือ มีหนังสือเดินทาง (passport) เข้ามา ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเช่นเดิม ซึ่งจะมีโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังนี้

มาตรา 63

ผู้ใดนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรหรือกระทำการด้วยประการใดๆ อันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาญาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 64

ผู้ใดรู้ว่าคนต่างด้าวใดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท


 และถ้าแรงงานต่างด้าวผู้นั้นจะทำงานก็ต้องมีใบอนุญาตทำงาน (work permit) ที่กรมการจัดหางานเป็นผู้ออกให้ด้วยเช่นเดียวกัน


Jessy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2015, 08:13:55 pm »
ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยตอบ
พอดีว่ารายนี้ถูกดำเนินคดีเมื่อปีที่แล้วข้อหาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและลักลอบเข้าเมือง ได้มีโทษจำคุกและปรับ 8500 บาท และถูกส่งกลับประเทศโดยทางตรวจคนเข้าเมือง
แต่ก่อนที่จะถูกตัดสิน เหมือนศาลจะบอกว่าไม่อนุญาตให้เข้าประเทศได้จนกว่าจะครบ 4 หรือ 5 ปี (จำไม่ได้) และหากกระทำผิดอีกจะถูกจำคุก อยากทราบว่าการที่มีกำหนดว่าห้ามเข้าประเทศอีกเป็นระยะเวลาหนึ่งนั้นจริงหรือไม่ และเป็นระยะเวลาเท่าไร (เพราะจำไม่ได้) หากไม่ทราบพอจะมีวิธีที่จะตรวจสอบกับทางศาลด้วยตัวเองได้หรือไม่ เพราะว่าคดีนี่ตั้งแต่ปีที่แล้วไม่รู้ว่าทางศาลยังมีข้อมูลอยู่หรือเปล่า

กรณีแรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 โดยตัวแรงงานจะถูกจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ถ้าแรงงานต่างด้าวยินยอมเดินทางกลับนอกราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ ไม่เกิน 30 วันหลังจากถูกจับ  พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับ และดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้

ส่วนตัวนายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน  จะโดนปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (มาตรา 54)

เมื่อถูกส่งตัวกลับประเทศแล้ว แรงงานต่างด้าวจะสามารถกลับเข้ามาประเทศไทยได้อีก ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเข้าเมืองที่ถูกกฎหมาย คือ มีหนังสือเดินทาง (passport) เข้ามา ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเช่นเดิม ซึ่งจะมีโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังนี้

มาตรา 63

ผู้ใดนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรหรือกระทำการด้วยประการใดๆ อันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาญาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 64

ผู้ใดรู้ว่าคนต่างด้าวใดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท


 และถ้าแรงงานต่างด้าวผู้นั้นจะทำงานก็ต้องมีใบอนุญาตทำงาน (work permit) ที่กรมการจัดหางานเป็นผู้ออกให้ด้วยเช่นเดียวกัน


ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 12:22:37 pm »
เนื่องจากรายละเอียดที่ให้ยังไม่ละเอียดพอ แต่เมื่อมาพิจารณาที่คำอธิบายมา คาดว่าแรงงานต่างด้าวคนนี้น่าจะเคยมีใบอนุญาตทำงานมาก่อนและไม่ได้ไปต่อใบอนุญาตที่หมดอายุแล้ว อีกทั้งยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ ทำให้กลายเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อถูกจับ จึงถูกปรับ และส่งกลับประเทศ ซึ่งปกติแล้วถ้าจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทยใหม่ นายจ้างต้องดำเนินการให้ถูกกฎหมาย คือ ไปขอโควต้าการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่กรมการจัดหางานหรือสำนักงานจัดหางานในจังหวัดนั้นๆ และตัวแรงงานเองก็ต้องมี passport เข้ามาอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้มีข้อตกลงการจ้างงานตาม MOU ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ได้ระบุเงื่อนไขหนึ่งไว้ว่า เมื่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศ พม่า ลาว กัมพูชา ได้ทำงานในประเทศไทยมาครบ 4 ปีแล้ว ต้องกลับประเทศไป 3 ปี ถึงจะสามารถกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ในกรณีนี้ก็ต้องเป็นแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว

ทั้งนี้สำหรับผู้ที่จะตรวจสอบคำพิพากษาศาลได้นั้นต้องเกี่ยวข้องกับคดี เช่น คู่ความ นอกจากนี้แล้วศาลมักไม่ให้ดูเว้นแต่ ทำคำร้องขอดูสำนวน โดยต้องระบุความเกี่ยวพันว่าเกี่ยวข้องอย่างไร ไม่เช่นนั้นศาลจะไม่อนุญาต

Jessy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2015, 06:57:00 am »
ขอบคุณค่ะ
รายนี้ไม่ใช่คนพม่า กัมพูชา หรือ ลาวค่ะ
เขาเข้าประเทศโดยไม่ได้ใช้ passport ที่ถูกกฎหมาย และถูกจับเนื่องจากทำงานค่ะ ไม่มีประวัติการอนุญาตให้ทำงานมาก่อน อันนี้มีแนบหน้าพาสปอร์ตให้ดูค่ะ เผื่อเป็นข้อมูลได้บ้าง
เจ้าตัวต้องการกลับมาไทยในฐานะนักท่องเที่ยว ไม่ได้กะจะทำงาน แต่ต้องการจะทราบว่าสามารถกลับมาอีกได้ในอีกกี่ปี
ถ้าเป็นอดีตนายประกันของเจ้าตัวจะสามารถขอดูสำนวนได้ไหมคะ
ขอบคุณมากที่สละเวลามาตอบคำถามให้ค่ะ

เนื่องจากรายละเอียดที่ให้ยังไม่ละเอียดพอ แต่เมื่อมาพิจารณาที่คำอธิบายมา คาดว่าแรงงานต่างด้าวคนนี้น่าจะเคยมีใบอนุญาตทำงานมาก่อนและไม่ได้ไปต่อใบอนุญาตที่หมดอายุแล้ว อีกทั้งยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ ทำให้กลายเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อถูกจับ จึงถูกปรับ และส่งกลับประเทศ ซึ่งปกติแล้วถ้าจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทยใหม่ นายจ้างต้องดำเนินการให้ถูกกฎหมาย คือ ไปขอโควต้าการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่กรมการจัดหางานหรือสำนักงานจัดหางานในจังหวัดนั้นๆ และตัวแรงงานเองก็ต้องมี passport เข้ามาอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้มีข้อตกลงการจ้างงานตาม MOU ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ได้ระบุเงื่อนไขหนึ่งไว้ว่า เมื่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศ พม่า ลาว กัมพูชา ได้ทำงานในประเทศไทยมาครบ 4 ปีแล้ว ต้องกลับประเทศไป 3 ปี ถึงจะสามารถกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ในกรณีนี้ก็ต้องเป็นแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว

ทั้งนี้สำหรับผู้ที่จะตรวจสอบคำพิพากษาศาลได้นั้นต้องเกี่ยวข้องกับคดี เช่น คู่ความ นอกจากนี้แล้วศาลมักไม่ให้ดูเว้นแต่ ทำคำร้องขอดูสำนวน โดยต้องระบุความเกี่ยวพันว่าเกี่ยวข้องอย่างไร ไม่เช่นนั้นศาลจะไม่อนุญาต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 09, 2015, 07:02:29 am โดย Jessy »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2015, 12:48:01 pm »
ต้องขออภัยด้วยที่เข้าใจไม่ถูกต้องในกรณีดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของชาวต่างประเทศที่เคยเดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยใช้ passport ไม่ถูกต้อง และถูกจับเนื่องจากการทำงานนั้น

เมื่อมาพิจารณาที่คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทยได้มีดังนี้         

(1)   ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน       
   
(2)   มีหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการพำนักในไทย เช่น ตั๋วเครื่องบิน  และมีวีซ่าหรือหลักฐานว่าสามารถเดินทางกลับประเทศที่มีถิ่นพำนัก หรือเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นได้ (ในกรณีขอเดินทางผ่าน)         
 
(3)   ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522  เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ  มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน  หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ   มีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอในขณะพำนักในไทยตามระเบียบกำหนดคืออย่างน้อยคนละ 20,000 บาท  เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อมาพิจารณาในกรณีนี้จึงพบว่า สามารถยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศไทยได้อยู่  ทั้งนี้ยกเว้นใน 49 ประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน

อย่างไรก็ตามในกรณีไม่ต้องขอวีซ่านี้ ก็ยังจะพบปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับการห้ามคนต่างด้าวเข้าประเทศ 2 ประการ อยู่ดี คือ การห้ามเข้าโดยอาศัยข้อกฎหมาย และการห้ามเข้าโดยการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง

1. การห้ามเข้าโดยกฎหมาย คือ การห้ามเข้าโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ในกรณีนี้ถ้าหากคนต่างด้าวผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งก็อาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ทั้งนี้ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่ได้รับทราบคำสั่ง โดยยื่นแบบ ตม.11 และต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,900 บาท แล้วในเวลาต่อมาถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายใน 7 วัน กฎหมายให้ถือว่าไม่เป็นคนต้องห้ามเข้าประเทศ แต่ว่าระหว่างที่รอฟังคำสั่งอยู่นี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาจจะให้ไปอยู่ในที่ที่เห็นสมควร หรือจะให้ประกันตัว หรือจะกักตัวไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้

สำหรับข้อจำกัดที่ห้ามอุทธรณ์ก็คือ ถ้าไม่มีหนังสือเดินทาง หรือไม่มีวีซ่าและก็เป็นสัญชาติที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีวีซ่าด้วย กับผู้ที่รัฐมนตรีมีคำสั่งห้ามเข้าไว้แล้วจะไม่มีสิทธิอุทธรณ์


2. การห้ามเข้าโดยดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งจะดูรายชื่อจากบัญชีเฝ้าดู (Watch List) ที่มีข้อมูลอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

ดังนั้นเสนอแนะให้ทางเจ้าตัวหรือผู้เกี่ยวข้องกับเจ้าตัว เช่น ครอบครัว สอบถามกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่า เพราะจะสามารถระบุชื่อเจ้าตัวและเช็คกับฐานข้อมูลได้โดยตรง


Jessy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2015, 05:08:57 pm »
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล
มาดูจากข้อมูลที่อันทนายให้มา พบว่าบนหน้าหนังสือเดินทางที่มีสแตมป์มีเขียนว่า รอลงอาญา 2 ปี เป็นบุคคลต้องห้าม มาตรา 12(3) พรบเข้าเมือง 2522 อันนี้พอจะบอกอะไรได้ไหมคะ

ยังไงจะลองโทรไปสอบถามดูค่ะ ขอบคุณมากค่ะ!

ต้องขออภัยด้วยที่เข้าใจไม่ถูกต้องในกรณีดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของชาวต่างประเทศที่เคยเดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยใช้ passport ไม่ถูกต้อง และถูกจับเนื่องจากการทำงานนั้น

เมื่อมาพิจารณาที่คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทยได้มีดังนี้         

(1)   ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน       
   
(2)   มีหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการพำนักในไทย เช่น ตั๋วเครื่องบิน  และมีวีซ่าหรือหลักฐานว่าสามารถเดินทางกลับประเทศที่มีถิ่นพำนัก หรือเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นได้ (ในกรณีขอเดินทางผ่าน)         
 
(3)   ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522  เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ  มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน  หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ   มีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอในขณะพำนักในไทยตามระเบียบกำหนดคืออย่างน้อยคนละ 20,000 บาท  เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อมาพิจารณาในกรณีนี้จึงพบว่า สามารถยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศไทยได้อยู่  ทั้งนี้ยกเว้นใน 49 ประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน

อย่างไรก็ตามในกรณีไม่ต้องขอวีซ่านี้ ก็ยังจะพบปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับการห้ามคนต่างด้าวเข้าประเทศ 2 ประการ อยู่ดี คือ การห้ามเข้าโดยอาศัยข้อกฎหมาย และการห้ามเข้าโดยการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง

1. การห้ามเข้าโดยกฎหมาย คือ การห้ามเข้าโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ในกรณีนี้ถ้าหากคนต่างด้าวผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งก็อาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ทั้งนี้ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่ได้รับทราบคำสั่ง โดยยื่นแบบ ตม.11 และต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,900 บาท แล้วในเวลาต่อมาถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายใน 7 วัน กฎหมายให้ถือว่าไม่เป็นคนต้องห้ามเข้าประเทศ แต่ว่าระหว่างที่รอฟังคำสั่งอยู่นี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาจจะให้ไปอยู่ในที่ที่เห็นสมควร หรือจะให้ประกันตัว หรือจะกักตัวไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้

สำหรับข้อจำกัดที่ห้ามอุทธรณ์ก็คือ ถ้าไม่มีหนังสือเดินทาง หรือไม่มีวีซ่าและก็เป็นสัญชาติที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีวีซ่าด้วย กับผู้ที่รัฐมนตรีมีคำสั่งห้ามเข้าไว้แล้วจะไม่มีสิทธิอุทธรณ์


2. การห้ามเข้าโดยดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งจะดูรายชื่อจากบัญชีเฝ้าดู (Watch List) ที่มีข้อมูลอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

ดังนั้นเสนอแนะให้ทางเจ้าตัวหรือผู้เกี่ยวข้องกับเจ้าตัว เช่น ครอบครัว สอบถามกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่า เพราะจะสามารถระบุชื่อเจ้าตัวและเช็คกับฐานข้อมูลได้โดยตรง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 10, 2015, 05:21:26 pm โดย Jessy »

nuning

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 31, 2018, 03:15:00 pm »
ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูล ไม่เคยรู้มาก่อนเพิ่งได้รู้ก็วันนี้มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ

จีคลับ