28/03/24 - 22:40 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามค่าชดเชยกรณีเชิญออกของพนักงานขายค่ะ  (อ่าน 9000 ครั้ง)

โบชมพู

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
อยู่ดีๆทำงานไม่สบอารมณ์เจ้านาย เขาให้ทาง HR มาพูดค่ะ แต่ทางเจ้าของบริษัทประนีประนอมไม่ถึงขั้นให้ออก
แต่ทางเจ้านายเรา ซึ่งเป็นน้องของเจ้าของก็ยังคงไม่พอใจ และให้เราออกไปจนทางเจ้าของบริษัทเห็นว่าถ้ารั้งไว้ต่อก็ลำบากเรา
ซึ่งยอดเราก็เกินเป้าค่ะ และไม่เคยได้รับจดหมายใบเตือน
ย้ำแค่ว่าเขาไม่พอใจเราที่ถึงเขาผิดเราก็ต้องขอโทษซึ่งเราไม่ทำค่ะ

ทีนี้ เราทำงานมา 4ปี3เดือน ค่ะเป็นพนักงานขาย
เงินที่จ่ายลงในสลิปเงินเดือน จะมี
1.เงินเดือน 19,000บาท.
2.ค่าเสื่อมรถเดือนละ1,500บาท
3.ค่าเบี้ยขยันไม่สายไม่ลาเดือนละ1,000บาท

ประเด็นสำคัญคือ ค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายประจำทุกเดือน
ถือว่าต้องเอามาคำนวณในค่าชดเชยหรือไม่คะ
แต่ละเดือนได้มากได้น้อยไม่เท่ากัน
ถ้าค่าคอมมิชชั่นถือเป็นค่าจ้างที่จ่ายประจำทุกเดือน
ถ้ารวมในค่าชดเชยต้องคำนวณอย่างไรคะ

แต่กรณีของค่าคอมมิชชั่น เขาไม่อยากเป็นสลิปหลักฐานใดๆค่ะ
เพราะทางบริษัทเคยโดนฟ้องร้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นไม่เป็นธรรมตรงตามที่แจ้ง
จะมีก็แต่ ใบหักภาษีณ ที่จ่ายปีล่าสุดที่ลงไว้ว่าเป็นค่านายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่น
และเงินจะโอนเข้าบัญชีผ่านหน้าเคาเตอร์โดยในพนักงงานโอนค่ะ
แต่เงินเดือนโอนผ่านระบบบริษัท

ตอนนี้ทางบริษัทบอกจะจ่ายค่าชดเชยให้ 6+1 เดือน
แต่ทางตัวเลขเค้ายังไม่แจ้งค่ะและยังตามให้เราเข้าไปรับเช็คและเซ็นเอกสารค่ะ

สุดท้ายนี้ขอบคุณมากๆค่ะ
ตอนนี้จิตตกไปหมดแล้วค่ะ กำลังรวบรวมสติในการเจรจาอยู่ค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามค่าชดเชยกรณีเชิญออกของพนักงานขายค่ะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2016, 02:21:04 pm »
ก่อนอื่นต้องมาพิจารณาดูก่อนว่า “ค่าคอมมิชชั่น” เป็นค่าจ้างหรือไม่?

ซึ่งแนวคำพิพากษาของศาลฏีกามีทั้งที่เป็นค่าจ้างและไม่ใช่ค่าจ้าง ยกตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 5394-5404/2547 ที่ศาลฟังว่า “บริษัทกำหนดอัตราการจ่ายไว้เป็นการแน่นอนว่าเที่ยวหนึ่งจะจ่ายให้จำนวนเท่าใด จึงวินิจฉัยว่าเป็นค่าจ้าง ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 2246/2548 ที่วินิจฉัยว่าการจ่ายค่าคอมมิชชั่นเป็นเงินจูงใจเฉพาะพนักงานขายที่ทำยอดได้ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง ดังนั้น โดยสรุป ถ้าค่าคอมมิชชั่นที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน และเข้าองค์ประกอบ ๓ อย่างโดยไม่มีเงื่อนไขการจ่ายถือเป็นค่าจ้าง คือ ๑. เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเป็นประจำ ๒. เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างสม่ำเสมอ และ ๓ เงินที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้ ดังนั้น ในชั้นนี้ ยังขาดรายละเอียดว่าค่าคอมมิชชั่นดังกล่าวนี้เป็นค่าจ้างหรือไม่

ถ้าค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างต้องนำมาคำนวณจ่ายเงินชดเชย , ค่าล่วงเวลา และเงินอื่นๆที่คิดจากฐานค่าจ้างด้วย
ส่วนกรณีที่บริษัทเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่เราไม่มีความผิด ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับ ๑. ค่าชดเชยตามอายุงาน (ซึ่งกรณีของคุณอยู่ใน มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ ๑๘๐ วันครับ , ๒ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า , ๓. วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม , ๔. วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามสัดส่วน ๕. สินจ้างค้างจ่าย(ถ้ามี) และ ๖ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม กรณีที่เราไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทแล้วถูกเลิกจ้าง ก็ประมาณนี้ครับ

และท้ายที่สุด หากการเจรจาไม่เป็นผลและเราเชื่อมั่นว่าไม่ได้กระทำความผิดก็ “ห้าม” เซ็นต์ใบลาออกโดยเด็ดขาด หากบริษัทจะเลิกจ้างก็ให้ทำหนังสือเลิกจ้างมาแล้วไปขอใช้สิทธิทางศาลหรือพนักงานตรวจแรงงานได้ครับ ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด ขอให้มีสติเข้าไว้แล้วทุกอย่างจะดีเองครับ...ให้กำลังใจครับ

ทนายพร

banktayna

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามค่าชดเชยกรณีเชิญออกของพนักงานขายค่ะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 04:11:22 pm »
แล้วถ้าผม ไม่ได้เงินเลยละครับทำยังไงดี

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามค่าชดเชยกรณีเชิญออกของพนักงานขายค่ะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 02, 2016, 04:25:04 pm »
มีสองทางเลือกครับ

ทางเลือกที่ ๑ ยื่นคำร้องต่อพนักงาตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ๆคุณทำงานอยู่ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายครับ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยประมาณ ๖๐ วันครับ

ทางเลือกที่ ๒ ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน โดยในการพิจารณาก็อาจจะใช้ระยะเวลาพอสมควร ตั้งแต่ ๖ เดือน จนถึง ๕ ปี ครับ

ทนายพร