29/03/24 - 21:55 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: กระบวนการเลิกจ้าง  (อ่าน 8277 ครั้ง)

boomie

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
กระบวนการเลิกจ้าง
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2016, 07:18:05 pm »
ตอนนี้ที่บริษัทกำลังปรับโครงสร้างองค์กร ทุกแผนก ซึ่งมีผลที่ต้องลดจำนวนพนักงานประจำลง โดยบริษัทได้ส่งอีเมลล์สื่อสารมาให้พนักงานทราบมาเป็นระยะๆว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และต่อไปจะทำอะไร โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ประกาศวิธีการคัดสรรพนักงานเพื่อทำงานต่อไปในองค์กร โดยให้พนักงานระดับปฎิบัตืการทั่งหมด สามารถที่จะสมัครงานตำแหน่งปฎิบัติการอะไรก็ได้ หลังจากที่ทราบผลขององค์กรใหม่แล้ว ซึ่งทางบริษัทจะให้พนักงานเข้าไปในเวปภายในเพื่อเลือกสมัครได้ 1-3 ตำแหน่ง แต่บริษัทก็สามารถลงสมัครบางตำแหน่งที่ตัวพนักงานเองไม่ได้เลือกไว้ โดยไม่ต่อวแจ้งหรือขอความเห็นชอบจากพนักงานก่อน ถ้าคณะกรรมคัดเลือกของแต่ละแผนกเห็นสมควรว่าพนักงานคนนั้นมีความรู้ความสามรถในตำแหน่งที่เค้าไม่ได้เลือก

หลังจากปิดรับสมัครแล้ว คณะกรรมการแต่ละแผนกจะเลือกคน ผลการเลือกจะแจ้งให้พนักงานแต่ละคนเป็นลายลักษณ์อักษรและวาจา คนที่ไม่ได้รับเลือกก็จะได้เงินชดเชย ส่วนคนที่ได้รับคัดเลือก ก็จะต้องตอบ accept หรือ decline ภายใน 48ชม หลังที่แจ้งผลแล้ว มิเช่นนั้นบริษัทถือว่า พนักงานลาออกเอง

ผมมีคำถามดังนี้ครับ

1. ในกรณีที่ถูกรับคัดเลือกให้อยู่ต่อ แต่ผมไม่ตอบตกลงภายใน 48ชม ตามที่เค้าออกข้อกำหนด หรือ ผมจงใจปฎิเสธงานที่เค้า offer ให้  กรณีแบบนี้ทางบริษัทไม่สามารถโมเมว่าผมลาออก ใช่มั๊ยครับ คือที่ผมเข้าใจ มันไม่ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับการลาออกของฝ่ายลูกจ้าง ?

2. ถ้าผมเลือกสมัครตำแหน่งงานอื่น โดยไม่สมัครงานตำแหน่งปัจจุบันที่ทำอยู่ แล้วคณะกรรมการตัดสินให้ผมทำงานตำแหน่งเดิมต่อไป ถ้าผมตอบปฎิเสธ บริษัทถือว่า ผมลาออก .... กรณีนี้ผมสงสัยว่า บริษัทจะอ้างความชอบธรรมได้หรือเปล่าครับว่าเค้าก็ให้ผมทำงานเดิม แต่ผมไม่ทำเอง ดังนั้นเค้าไม่ต้องรับผิดชอบหรือชดเชยอะไรให้ผม


ผมดูจากคู่มือพนักงานที่เค้าให้พนักงานไว้ แล้วคู่มือนี้ก็ส่งไปให้กรมแรงงาน มีตราครุฑอยู่หน้าแรก มีประทับตราชื่อหน่วยงานของกรมแรงงาน มีลายเซ็นต์ของประธานบริษัท  ในหัวข้อการลาออก ระบุไว้ว่า "พนักงานต้องแจ้งความจำนงต่อผู้บังคับบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 15วัน" ซึ่งมันขัดกับขบวนการที่เค้ากำลังลดพนักงานออกในกรณีไม่ตอบรับงานใน 48ชม หรือ ปฎิเสธงานที่เค้าเสนอให้ แล้วถือว่ากรณีพวกนี้คือ พนักงานลาออก

ข่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: กระบวนการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 11:21:55 pm »
โอโหๆๆๆๆๆ....จะเปลี่่ยนแปลงองค์กรเพื่อให้ดีขึ้นแต่กลับให้เวลาแค่ ๔๘ ชั่วโมงในการตัดสินใจ....โหยยยย..จะทำร้ายจิตใจกันเกินไปป่าวเจ้านายยยยย...

เอาละเพื่อคลายความสงสัย ตอบตามคำถามเป็นข้อๆเลยนะครับ

1. ในกรณีที่ถูกรับคัดเลือกให้อยู่ต่อ แต่ผมไม่ตอบตกลงภายใน 48ชม ตามที่เค้าออกข้อกำหนด หรือ ผมจงใจปฎิเสธงานที่เค้า offer ให้  กรณีแบบนี้ทางบริษัทไม่สามารถโมเมว่าผมลาออก ใช่มั๊ยครับ คือที่ผมเข้าใจ มันไม่ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับการลาออกของฝ่ายลูกจ้าง ?

ตอบ คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ เพราะการลาออกคือการแสดงความจำนงที่ไม่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน หรือเรียกง่ายๆว่าขอยกเลิกการเป็นลูกจ้างของนายจ้างนั่นเอง และสาระสำคัญของการลาออกก็คือ “ความสมัครใจ” ของฝ่ายลูกจ้างและเป็นผู้ “ลงนาม” ในหนังสือลาออกด้วยตนเอง หากไม่ใช่เป็นความสมัครใจของลูกจ้างในการขอลาออกแล้วก็ไม่ถือว่าลูกจ้างสมัครใจลาออกครับ และตามกรณีที่ถามมาก็จะเข้ากรณีเป็นการ “เลิกจ้าง” เสียมากกว่าครับ และการ “ลาออก” กับการ “เลิกจ้าง” ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ภายหลังจากนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ

2. ถ้าผมเลือกสมัครตำแหน่งงานอื่น โดยไม่สมัครงานตำแหน่งปัจจุบันที่ทำอยู่ แล้วคณะกรรมการตัดสินให้ผมทำงานตำแหน่งเดิมต่อไป ถ้าผมตอบปฎิเสธ บริษัทถือว่า ผมลาออก .... กรณีนี้ผมสงสัยว่า บริษัทจะอ้างความชอบธรรมได้หรือเปล่าครับว่าเค้าก็ให้ผมทำงานเดิม แต่ผมไม่ทำเอง ดังนั้นเค้าไม่ต้องรับผิดชอบหรือชดเชยอะไรให้ผม

ตอบ การมอบหมายงาน , การโยกย้ายงาน เป็นอำนาจการบริหารจัดการของฝ่ายนายจ้าง หากงานดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน หรือไม่เป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง นายจ้างก็สามารถสั่งให้ลูกจ้างไปปฎิบัติงานได้ และหากลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามคำสั่งนั้น อาจถูกลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายได้ครับ และท้ายที่สุดหากอาจถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ครับ

ทนายพร

boomie

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: กระบวนการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2016, 06:19:28 am »
ขอบคุณนะครับที่ให้คำตอบที่เป็นประโยชน์

สำหรับข้อที่ 2 ที่คุณทนายเขียนว่า "การมอบหมายงาน , การโยกย้ายงาน เป็นอำนาจการบริหารจัดการของฝ่ายนายจ้าง หากงานดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน" ช่วยอธิบายเพิ่มให้นิดนึงครับในส่วนของ<ระดับเดียวกัน>
ช่วยยกตัวอย่างให้เห็นจะดีมากๆเลยครับ :)

boomie

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: กระบวนการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2016, 08:05:16 am »
ขอถามเพิ่มอีกนิดนะครับ ว่าในข้อ 2 ที่ผมสมัครงานตำแหน่งอื่นที่ไม่ช่ายงานปัจจุบันที่ทำอยู่ แล้วสุดท้ายเค้าคัดเลือกผมทำงานเดิม เค้าได้กำหนดว่ากรณีนี้ เป็นการลาออก ไม่ได้เช่นกันช่ายมั๊ยครับ(ตามคำตอบข้อ 1 ที่คุณทนายได้ตอบไว้เรื่องเงื่อนไขการลาออก)

นอกเสียจากว่าเค้าเปลี่ยนเป็น การให้ออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เนื่องจากผมไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง และละเมิดสัญญาการจ้างงานที่เซ็นไว้ก่อนเข้าทำงาน(เพราะเค้ายังคงให้ผมทำงานเดิม) ถ้าเป็นแบบนี้ ผมยอมรับนะ .... แต่ถ้าเค้ายืนยันว่า เป็นการลาออก อันนี้ผมมีสิทธิ์ปฎิเสธที่จะลงนามในเอกสารใดๆที่เค้าพยายามได้ถูกต้องมั๊ยครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: กระบวนการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2016, 11:54:17 pm »
มีคำถามมาถามต่อ แสดงว่าทนายยังตอบไม่เครียร์..อิอิ...ไม่เป็นไร ถามมาก็ตอบไปเอาให้เครียร์ๆกันไปเลยยยย

จากที่ถามว่า "งานในระดับเดียวกัน" หมายความว่าเยี่ยงใด? ก็หมายความว่า หากเดิมทำงานเป็นหัวหน้าแผนก A แล้วนายจ้างย้ายไปทำงานเป็นหัวหน้าแผนก B อย่างนี้ถือว่าเป็นระดับเดียวกัน หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง เดิมทำงานเป็นพนักงานควบคุมเครื่องจักรแผนก C และนายจ้างย้ายไปทำงานความคุมเครื่องจักรที่แผนก D อย่างนี้เป็นต้น...กรณีดังตัวอย่างนี้ถือว่าเป็นงานในลักษณะเดียวกัน

แต่ถ้า เดิมทำงานเป็นพนักงานฝ่ายผลิต แล้วนายจ้างย้ายให้ไปทำงานเป็นพนักงานกวาดพื้น , เดิมทำงานเป็นหัวหน้าแผนก เเล้วนายจ้างย้ายไปทำงานในตำแหน่งพนักงานควบคุมเครื่องจักรระดับปฎิบัติการ อย่างนี้ถือว่าเป็นการโยกย้ายที่ "ไม่เป็นคุณ" และเป็นการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ต่ำกว่าเดิม อย่างนี้เป็นการโยกย้ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายครับ...ทราบแล้วเปลี่ยน....

กับอีกสองคำถามที่ถามว่า...

"ขอถามเพิ่มอีกนิดนะครับ ว่าในข้อ 2 ที่ผมสมัครงานตำแหน่งอื่นที่ไม่ช่ายงานปัจจุบันที่ทำอยู่ แล้วสุดท้ายเค้าคัดเลือกผมทำงานเดิม เค้าได้กำหนดว่ากรณีนี้ เป็นการลาออก ไม่ได้เช่นกันช่ายมั๊ยครับ(ตามคำตอบข้อ 1 ที่คุณทนายได้ตอบไว้เรื่องเงื่อนไขการลาออก)"
ตอบ..คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ...

"นอกเสียจากว่าเค้าเปลี่ยนเป็น การให้ออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เนื่องจากผมไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง และละเมิดสัญญาการจ้างงานที่เซ็นไว้ก่อนเข้าทำงาน(เพราะเค้ายังคงให้ผมทำงานเดิม) ถ้าเป็นแบบนี้ ผมยอมรับนะ .... แต่ถ้าเค้ายืนยันว่า เป็นการลาออก อันนี้ผมมีสิทธิ์ปฎิเสธที่จะลงนามในเอกสารใดๆที่เค้าพยายามได้ถูกต้องมั๊ยครับ"
ตอบ..อันนี้คุณก็ตอบถูกอีกแล้วครับ..อิอิ...และก็ขอเน้นย้ำอย่างที่เคยบอกไว้ในเว็บนี้หลายครั้งว่า การลาออกเป็นการเเสดงเจตนาของฝ่ายลูกจ้างที่ไม่อยากจะทำงานกับนายจ้างอีกต่อไป ซึ่งกฎหมายก็กำหนดไว้ว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะเลิกสัญญาจ้างต่อกันให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อเราไม่ประสงค์จะลาออก ก็ไม่ต้องทำหนังสือลาออก หรือหากนายจ้างใจดีทำใบลาออกให้ ก็ไม่ต้องเซ็นต์ ก็เท่านี้ คุณก็จะมีฐานะเป็นลูกจ้างของนายจ้างต่อไปครับ


ทนายพร

boomie

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: กระบวนการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2016, 12:15:48 am »
อัพเดทเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรให้คุณทนายฟังนะครับ
ตอนนี้ผังของแผนก IT ผมออกมาแล้ว ชื่อตำแหน่งหลายตำแหน่งถูกเปลี่ยน
อย่างตำแหน่งที่ผมทำอยู่ ก็ไม่มีแล้ว  หัวหน้าบอกว่างานที่ผมทำอยู่ไม่ถือว่าเป็นตำแหน่งงานอีกต่อไป  แต่เป็นแค่หนึ่งในงานย่อยของตำแหน่งใหม่ ซึ่ง Job description ของตำแหน่งใหม่ ก็ระบุรายละเอียดของงานที่ผมไม่เคยทำมากมาย ส่วนงานที่เคยทำเค้าก็ไม่ได้เขียนไว้เลย แต่ตามกฎที่เค้าออกมาช่วงที่จะ layoff ผมต้องสมัครตำแหน่งที่เปิดอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง เพื่อให้เค้าพิจารณาคัดเลือกว่าจะ offer งานให้มั๊ย(ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการคัดเลือก)

อย่างที่เคยเล่าให้คุณทนายฟัง ทางคณะกรรมการเค้าบอกว่าสามารถจะยัดตำแหน่งที่ผมไม่สมัครให้ก็ได้ถ้าเค้าเห็นว่าผมมีคุณสมบัติได้(แต่ผมไม่เคยทำเลย หรือเคยทำแต่น้อยมาก) แบบนี้มันเหมือนยัดเยียดสิ่งที่ผมไม่ต้องการแล้วงานก็เปลี่ยนจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ

1. ถ้าผมปฎิเสธ มันจะไม่เข้าข่ายที่ผมฝ่าฝืนคำสั่ง ??
2. เค้าจะมาอ้างว่ามันเป็นงานระดับเดียวกันไม่ได้ด้วยช่ายมั๊ยครับ ? คือสมมุติเปลี่ยนจาก งานดูแลฐานข้อมูล (Database Administrator) เป็น IT Project Management officer  แบบนี้มันเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานหรือเปล่าครับเพราะเค้าจ้างผมมาทำอย่างนึงตอนเข้าบริษัท แต่จะมาเปลี่ยนให้ทำอีกอย่าง (ซึ่งต้องยินยอมทั้งสองฝ่าย ไม่ช่ายนายจ้างจะบังคับฝ่ายเดียว??)
3. อย่างนี้ผมควรจะทำอย่างไรถ้าเค้ายังบังคับหรือขู่

ขอโทษนะครับที่คำถามเยอะไปหน่อย ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำครับ