28/03/24 - 20:41 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่ต่อสัญญาจ้าง  (อ่าน 16082 ครั้ง)

naricha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ไม่ต่อสัญญาจ้าง
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2016, 01:11:56 pm »
สวัสดีค่ะ รบกวนขอคำปรึกษาหน่อยนะคะ กรณีทำสัญญาปีต่อปี และเดือนกันยายนที่ผ่านมานายจ้างไม่มีการแจ้งว่าจะจ้างทำงานต่อหรือไม่ แต่ปกติจะมีสัญญาต่อให้แต่ไม่เคยมีการแจ้งก่อน ที่นี่ลูกจ้างแจ้งว่าจะไม่ขอสัญญาต่อ นายจ้างไม่ยอมจะให้เขียนหนังสือลาออก จะรบกวนถามว่าควรเขียนไหม ถ้าเขียนแล้วจะมีข้อเสียเปรียบไหม หรือถ้าไม่เขียนแล้วนายจ้างบีบไม่ดำเนินการต่อแล้วให้หนังสือไล่ออกแทนจะได้ไหม รวมถึงมีคำแนะนำว่าควรดำเนินการอย่างไรไหมคะ ขอบคุณมากคะ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ไม่ต่อสัญญาจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2016, 07:10:10 pm »
สัญญาจ้าง

 เมื่อมีกำหนดเวลาจ้าง แน่นอน เป็นปี เมื่อครบปี สัญญาจ้างก็ย่อมสิ้นสุดลง โดยไม่ต้องลาออก ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ม. 17วรรคแรก...การออกจากงานควร มีใบส่งมอบงานแก่นายจ้าง ระบุการส่งมอบงานเรียบร้อยถูกต้อง  ไม่มีสิ่งที่ลูกจ้างต้องรับผิดชอบอีกต่อไป นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ ลงลายมือชื่อรับมอบงาน  ทำสองฉบับ ลูกจ้าง ควรเก็บไว้ 1 ฉบับ  ถ้าไม่มีหลักฐานการส่งมอบงาน มักมีปัญหา  ให้ลูกจ้างต้องรับผิดในภายหลัง เช่น ยักยอกทรัพย์ หรือค่าเสียหายอื่นๆ เป็นต้น  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ไม่ต่อสัญญาจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 30, 2016, 12:40:34 am »
ต้องขออภัยนะครับที่เข้ามาตอบช้า..(อิอิ..ช้าตลอดดดด)

เข้าเรื่องกันเลย..ก็พึ่งจะเคยได้ยินว่าลูกจ้างไม่อยากต่อสัญญาจ้าง ปกตินายจ้างจะเป็นฝ่ายปฎิเสธที่จะต่อสัญญาจึงเกิดเรื่องเกิดราวขึ้น แต่นี่เป็นกรณีกลับกัน...เอาละมาเข้าเรื่องตามที่ถามเลยดีกว่า

ข้อแรก ถามว่า “ลูกจ้างแจ้งว่าจะไม่ขอสัญญาต่อ นายจ้างไม่ยอมจะให้เขียนหนังสือลาออก จะรบกวนถามว่าควรเขียนไหม?” ก็ตอบว่า เมื่อเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาก็ไม่จำเป็นต้องเขียนใบลาออกแต่อย่างใดครับ

ข้อสอง ถามว่า “ถ้าเขียนแล้วจะมีข้อเสียเปรียบไหม หรือถ้าไม่เขียนแล้วนายจ้างบีบไม่ดำเนินการต่อแล้วให้หนังสือไล่ออกแทนจะได้ไหม?” ก็ตอบว่า ถ้าเขียนน่ะเสียเปรียบแน่ครับ เพราะคือการแสดงเจตนาของเลิกสัญญาจ้างโดยฝ่ายลูกจ้าง เมื่อเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยใจสมัคร ก็จะการสละสิทธิประโยชน์อื่นที่อาจได้รับตามกฎหมายแรงงานครับ

ข้อต่อมา ถามว่า “มีคำแนะนำว่าควรดำเนินการอย่างไร?” ก็ให้ข้อสังเกตว่า ทำไม? นายจ้างจึงจะให้คุณเขียนใบลาออก? ก็เนื่องจากว่า บริษัทพยายามจะเลี่ยงกฎหมายในเรื่องอายุงาน และที่สำคัญบริษัทก็อยากจะให้คุณลาออกเอง ไม่ใช่บริษัทเลิกจ้าง เพราะถ้าบริษัทเลิกจ้างถึงแม้ว่าจะมีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาปีต่อปีก็ตาม กฎหมายมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ วรรคได้ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า งานประเภทใดบ้างที่สามารถจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาจ้างกันโดยกำหนดระยะเวลาไว้ หากมีการทำงานอันไม่ใช่ลักษณะที่กฎหมายอนุญาต หากมีการเลิกจ้างก็ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยครับ ส่วนข้อแนะนำก็แนะนำว่า ให้ไปหาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับล่าสุด) มาตรา ๑๗ , มาตรา ๑๑๘ ก็จะได้ประโยชน์ต่อผู้ถามครับ....

ทนายพร