29/03/24 - 05:34 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานให้รัฐวิสาหกิจ  (อ่าน 6492 ครั้ง)

YimSyam

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
    • ดูรายละเอียด
ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานแทนรัฐวิสาหกิจมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการจากรัสวิสาหกิจรึปล่าวครับ? เรามีนายจ้างกี่คน? ใครบ้างถือเป็นนายจ้างตามกฏหมาย? แล้วเราพนักงานของที่ใดครับ? แล้วรัสวิสาหกิจี่เรางานงานให้สามารถปรับเงินจากการที่เราทำงานผิดพลาดที่เราไม่ได้จงใจหรือทุจริตจากการทำงานได้ด้วยหรือครับ ซึ่งค่าปรับนั้นคิดเป็น200เท่าจากค่าตอบแทนที่ได้รับต่อหน่วย?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2017, 07:59:12 pm โดย สนธยา สกุลพันธ์ »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานให้รัฐวิสาหกิจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 26, 2017, 02:27:30 pm »
ถามสั้นๆ แต่ถามเยอะ(ฮา) ประหนึ่งว่าจะนำไปตอบข้อสอบ แต่เป็นคำถามที่ดีมากครับ เพราะหลายคนไม่รู้ว่าจะใช้กฎหมายใดในการบังคับใช้ เพราะปัจจุบันมีการจ้างงานกันหลายลักษณะด้วยกัน อย่างเช่นคำถามที่ผู้ถามมานี้ ก็มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ต้องตีความครับ

เข้าเรื่องเลยดีกว่า...จากคำถามที่ถามมาทั้ง 5 ข้อ ทนายก็จะไขปัญหาเป็นข้อๆเพื่อให้หายสงสัยเลยนะครับ
 
คำถามข้อแรก ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานแทนรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับสวัสดิการจากรัฐวิสาหกิจหรือไม่?

ในคำถามนี้ต้องพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ
 
ประเด็นที่ 1 ถ้าลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มาทำงานแทนรัฐวิสาหกิจ แต่ต้องอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของลูกจ้าง มีสิทธิคัดเลือกลูกจ้างเข้าทำงาน ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง กำหนดเงื่อนไขการทำงาน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่างๆ มีสิทธิของเปลี่ยนตัวลูกจ้าง และมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้าง ถึงแม้ว่าบริษัทเอกชนจะเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างก็ตาม กรณีนี้จะถือว่า รัฐวิสาหกิจเป็นนายจ้างของลูกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับสวัสดิการตามที่รัฐวิสาหกิจกำหนดไว้
 
คำว่า “นายจ้าง” ตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจ ได้ระบุไว้ในมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ว่าหมายถึง รัฐวิสาหกิจซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้างให้ และให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนรัฐวิสาหกิจด้วย
 
ประเด็นที่ 2 ถ้ารัฐวิสาหกิจได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนมาทำงานแทนด้วยวิธีเหมาค่าแรง
 
ถ้าตอบตามหลักกฎหมายโดยตรง แม้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ประกอบกิจการ ก็ไม่ถือว่ารัฐวิสาหกิจเป็นนายจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543  เพราะจากนิยามข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่รวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการแทนรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด อีกทั้งในกฎหมายก็มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจที่ว่าจ้างด้วยวิธีการเหมาค่าแรงแต่อย่างใดด้วย
 
การจ้างเหมาค่าแรง ถูกอธิบายอยู่ในมาตรา 5 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แทน ใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ
 
(1) เป็นการมอบหมายให้บุคคลอื่นรับช่วงงานไปควบคุมและเหมาค่าแรง โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ
 
(2) เป็นการให้ผู้อื่นจัดหาลูกจ้างมาทำงานส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ โดยมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน
 
ซึ่งในมาตรา 4 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ระบุชัดว่า กฎหมายนี้ไม่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
 
ดังนั้นตามหลักการทางกฎหมาย จึงถือว่ารัฐวิสาหกิจไม่มีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างบริษัทเอกชนผู้รับเหมาค่าแรงแห่งนั้น
 
แต่อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ เมื่อมีนาคม 2553 นายสมชาย ชุ่มรัตน์ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ทำหนังสือกระทรวงแรงงาน ที่ รง 0507/ว 0339 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2553 (ค้นหาได้จาก Google) ถึงหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เรื่องการคุ้มครองแรงงานเหมาค่าแรงในหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ
 
มีใจความสรุปว่า "สืบเนื่องจากการที่หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจมีการจ้างเหมาค่าแรงโดยให้เอกชนจัดหาคนเข้าไปทำงานเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจึงเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมาค่าแรงด้วย อีกทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกรณีมีการจ้างงานในลักษณะดังกล่าวในหน่วยงานราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจ ให้ประสานแจ้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบ เพื่อดำเนินการตรวจคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมาย" หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดจ้างเหมาค่าแรงให้ปฎิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นั่นเองครับ
 
คำถามที่ 2 และคำถามที่ 3 ที่ถามว่า เรามีนายจ้างกี่คน? ใครบ้างถือเป็นนายจ้างตามกฏหมาย?
ก็ตอบว่า มีนายจ้าง 2 คนในทางกฎหมาย คือ บริษัทเอกชนซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงกับเรา กับ รัฐวิสาหกิจซึ่งถือเป็นนายจ้างในทางกฎหมาย 
 
คำถามที่ 4 เราเป็นพนักงานของที่ใด?
ก็ตอบว่า คุณเป็นพนักงานของบริษัทเอกชนเพราะเราได้สมัครงานโดยตรงกับ บ.แห่งนี้ แต่สวัสดิการที่ได้รับ บ.เอกชนต้องจัดให้เท่าเทียมกับภาครัฐวิสาหกิจ หรืออย่างน้อยต้องเป็นไปตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ระบุไว้
 
คำถามที่ 5 รัฐวิสาหกิจสามารถปรับเงินจากการที่เราทำงานผิดพลาดได้หรือไม่
เอาละซิ...คำถามนี้ชักเข้าตัว..อย่างนี้ครับ หากเราทำงานผิดพลาดและในสัญญาระหว่างบริษัทนายจ้างของคุณกับรัฐวิสาหกิจ มีข้อตกลงกันไว้ก็สามารถปรับเงินได้ ซึ่งผู้ที่จ่ายค่าปรับก็คือบริษัทนายจ้างคุณ หลังจากนั้น บริษัทนายจ้างคุณก็จะมาหักเงินจากคุณหากความผิดพลาดนั้นเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดโดยตัวของคุณเอง เว้นแต่เป็นเรื่องสุดวิสัย คุณก็ไม่ต้องรับผิดในค่าปรับครับ สรุปก็คือ แล้วแต่ข้อตกลงที่ได้ทำสัญญาต่อกันไว้ครับ

ทนายพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2017, 02:32:00 pm โดย ทนายพร »

YimSyam

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานให้รัฐวิสาหกิจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 27, 2017, 09:33:39 pm »
ถามต่ออีกนิดครับ บ.ได้หักเงินประกันเราไว้ บ.จะต้องเอาไปฝากไว้ให้เรารึปล่าว หรือหักไปแล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ครับ? การที่บ.แจ้งปับประกันสังคมเรื่องเงินเดือนน้อยกว่าที่จ่ายจริงอันนี้จะทำให้เราเสียสิทธิ์รึปล่าว แล้วเราควรทำไงครับ?

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานให้รัฐวิสาหกิจ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 31, 2017, 03:19:30 pm »
อัยยะ..ยังไม่หมดคำถาม...เอ้า..ถามมาทนายพรก็จัดให้..มาว่าเป็นข้อๆเลย...

๑.ถามต่ออีกนิดครับ บ.ได้หักเงินประกันเราไว้ บ.จะต้องเอาไปฝากไว้ให้เรารึปล่าว
ตอบ กฎหมายกำหนดว่าต้องนำไปฝากไว้ในชื่อของลูกจ้างครับ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑและวิธีการเรียกหรือ
รับหลักประกันการทํางานหรือหลักประกันความเสียหายในการทํางานจากลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๑
 
๒.หรือหักไปแล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ครับ?
ตอบ กฎหมายห้ามนายจ้างนำเงินนี้ไปใช้ แต่ให้นำไปฝากธนาคารอย่างเดียวครับ

๓.การที่บ.แจ้งกับประกันสังคมเรื่องเงินเดือนน้อยกว่าที่จ่ายจริงอันนี้จะทำให้เราเสียสิทธิ์รึปล่าว แล้วเราควรทำไงครับ?
ตอบ แล้วคุณมีความรู้สึกว่าเสียหายหรือเปล่าครับ? (อิอิ ทนายถามกลับ แต่ไม่ต้องตอบกลับมานะครับ..ฮา)
อย่างนี้ครับ ถ้านายจ้างแจ้งจำนวนเงินเดือนน้อยกว่าความเป็นจริง อย่างแรก นายจ้างผิดกฎหมายประกันสังคมแน่ๆ และอาจต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามที่กำหนด ส่วนลูกจ้างจะเสียสิทธิเกือบทุกอย่างเช่น เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย , ทุพพลภาพ , ว่างงาน , ชราภาพ ฯลฯ ซึ่งประกันสังคมจะจ่ายตามยอดเงินที่ส่งเข้ากองทุน เมื่อส่งยอดเข้าไปน้อย ก็จะถูกคำนวณตามยอดที่ส่งไป ซึ่งคุณก็จะเสียสิทธิคือได้รับเงินน้อยกว่าที่ควรจะได้รับนั่นเอง ส่วนจะทำอย่างไรนั้น ก็คือไปแจ้งที่สำนักงานประกันสังคมครับ

ทนายพร

YimSyam

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานให้รัฐวิสาหกิจ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2017, 12:59:05 am »
ขอบคุณมากๆครับ