19/04/24 - 12:07 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ปรึกษาเรื่องการรับการชดเชยจากบริษัทฯ เมื่อเลยการ การเกษียนอายุ  (อ่าน 5456 ครั้ง)

พรรณี

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียน คุณทนาย

ดิฉัน ทำงานที่บริษัท เอกชนซึ่งเป็นบริษัท ต่างชาติ แล้วมีการกำหนดเกษียนอายุ ตอน ครบ55ปี ดิฉันทำงาน ที่นี่ตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบัน ดิฉัน อายุ 59ปี เกิด เมื่อ4ตค 2501 ทำงานที่บริษัท นี้6ปี
ปัจจุบันยังไม่ได้รับการชดเชย แต่อย่างใด แต่ก้ทำงานมาเรื่อยไ
จึงรบกวนสอบถามว่า จะมีปัญหา หรือ ข้อกำหนดในการรับเงินชดเชยอย่างไร

ด้วยความนับถือ
พรรณี

มงคล ยางงาม

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับผมมงคล ยางงาม ขอร่วมแลกเปลี่ยนครับ หากบริษัทกำหนดข้อบังคับการทำงานเรื่องเกษียณอายุงานไว้แล้วสัญญาย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบเกษียณอายุตามข้อบังคับ ชอบที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะแสดงเจตนาในการยกเลิกสัญญาจ้าง เว้นแต่ทั้ง2ฝ่ายจะยังตกลงที่จะยังไม่บอกยกเลิกสัญญาต่อกัน แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างเกิดแล้ว หากประสงค์จะรับค่าชดเชยก็สามารถแสดงเจตนาแจ้งต่อนายจ้างได้เลยถ้าอายุงานครบ6ปีก็จะได้รับค่าชดเชย 240วันหรือ8เดือน

Smalltyz

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
เป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
พี่พรรณี (ต้องเรียกพี่แล้วล่ะเพราะบอกอายุมา 5555)
พี่พรรณีถามว่า บริษัทกำหนดในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าพ้นการเป็นพนักงานเพราะเหตุเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ ๕๕ ปี แต่เมื่ออายุครบเกษียณแล้ว บริษัทก็ยังให้ทำงานต่อไป ทีนี้ พี่พรรณีไม่อยากจะทำงานต่อไปอีกแล้ว อยากได้เงินตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดจะทำอย่างไร จะมีปัญหาอะไรมั๊ย?

ทนายก็ขอตอบว่า ปัญหานี้ไม่ยากครับ ง่ายๆเลย อยู่ที่เราจะเลือกละครับว่าอยากจะให้มันเป็นแบบใหน

แบบแรก ทำงานต่อไป นิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างก็เดินต่อไป จนกว่านายจ้างไม่จ้างเราแล้ว เมื่อนั้น เราก็มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายครับ

แบบที่สอง ไม่อยากทำงานต่อไปอีกแล้ว  ก็ให้คุณทำหนังสือแจ้งนายจ้างไปว่า เราอายุครบเกษียณตามข้อบังคับแล้ว ขอให้บริษัทจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายให้กับเราซะ ถ้านายจ้างจ่ายให้ก็จบครับ แต่แบบนี้ต้องระวังหน่อยนะครับ อาจสร้างความโมโหโกธากับนายจ้างมิใช่น้อย ดังนั้น ในการทำหนังสือก็ให้เหตุผลไปด้วยว่าที่ไม่อยากทำงานอีกต่อไปเพราะนั่น นี่ โน้น อะไรก็ว่าไป และที่สำคัญหนังสือดังกล่าวต้องไม่ใช่ "หนังสือขอลาออก" นะครับ ไม่เช่นนั้น เราจะเสียสิทธิไปในทันทีครับ

แบบที่สาม  รอกฎหมายใหม่ พรบ.คุ้มครองแรงงาน แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๖ ครับ อันนี้นายจ้างต้องจ่ายแน่ เพราะกฎหมายบังคับให้ต้องจ่ายครับ

ให้ทางเลือกไปแล้ว อยู่ที่พี่พรรณีจะเป็นผู้เลือกแล้วละครับ ส่วนทนายก็ได้แต่แนะนำและตอบคำถามมิตรรักแฟนเว็บที่ถามมาทุกคำถามละครับ

แล้วพี่พรรณีก็อยากจะรู็ต่อไปอีกว่า..ค่าชดเชยฉันจะได้กี่บาท...เอาเป็นว่าทนายให้การบ้านไปดูกฎหมาย "พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘" ก็จะเป็นคำตอบครับ หรือถ้าจะให้ง่ายเข้า ก็ไปอ่านข้อความตอนท้ายของท่านมงคลเลยครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร