28/03/24 - 23:25 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนกำลังจะถูกเลิกจ้างค่ะ  (อ่าน 4506 ครั้ง)

Kate

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
รบกวนกำลังจะถูกเลิกจ้างค่ะ
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2018, 08:37:24 am »
รบกวนสอบถามนะคะ หัวหน้างานและฝ่ายบุคคลเรียกไปแจ้งว่าจะหาคนใหม่มาทำแทนดิฉัน โดนอ้างว่าดิฉันไม่ทำงานของสาขาที่ต่างประเทศซึ่งมีเวลาต่างกับเมืองไทย 4ชม งานเดิมที่รับผิดชอบอยู่ในเมืองไทยซึ่งปกติต้องทำงานนอกเวลาอยู่แล้ว ดิฉันแจ้งว่าต้องการพักผ่อนไม่สามารถรับผิดชอบงานในต่างประเทศได้ บริษัทจะให้ดิฉันทำงานประจำในเมืองไทยและสาขาในต่างประเทศไปพร้อมๆกัน พอถามถึงสถานะว่าบริษัทจะดำเนินการอย่างไรต่อ ไม่ได้รับคำตอบจากหัวหน้างานและบุคคล แต่แจ้งให้ทำงานโปรเจคล่าสุดเป็นงานสุดท้าย ดูจากที่บริษัททำคิดว่าน่าจะเลิกจ้างดิฉันหลังจากงานล่าสุดประมาณอาทิตย์หน้าเริ่มต้น วันที่หัวหน้างานเรียกคุยไม่มีเอกสารใดๆแค่โดยวาจา ขอปรึกษาค่ะ
1.หากว่าบริษัทเลิกจ้างแต่ไม่สามารถตกลงเรื่องค่าชดเชยได้ ดิฉันไม่เซ็นเอกสารบริษัทก้อจะไม่จ่ายชดเชย ดิฉันจะนำเอกสารใดเป็นหลักฐานการเลิกจ้างคะเพื่อแจ้งกับผู้ตรวจแรงงานเขต และยื่นขอชดเชยจากประกันสังคมคะ ดิฉันต้องยื่นเอกสารแบบฟอร์มแจ้งบริษัทถึงการเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรมั้ยคะ
2.กรณีที่มีการขึ้นศาลเพื่อไต่สวน ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่คะถึงจะมีคำพิพากษาเพื่อเตรียมเรื่องค่าใช้จ่ายช่วงไม่มีรายได้
3.บริษัทสามารถหาข้ออ้างว่าดิฉันไม่ทำงานที่ได้รับในการไม่จ่ายชดเชยได้มั้ยคะ
ขอบคุณค่ะ อาจจะขอรบกวนปรึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดอีกทีนะ


Chainawatti

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: รบกวนกำลังจะถูกเลิกจ้างค่ะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2018, 12:21:25 pm »
ต้องรอแอดมินมาตอบให้นะครับ ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน

Kennochas

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: รบกวนกำลังจะถูกเลิกจ้างค่ะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2018, 10:08:29 am »
ผมว่าเปลี่ยนงานก็ดีน่ะถ้าทำได้อ่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: รบกวนกำลังจะถูกเลิกจ้างค่ะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2018, 02:59:24 am »
ต้องขออภัยที่ทนายเข้ามาตอบช้าไปหน่อยนะครับ ภารกิจเยอะจริงๆครับช่วงนี้ เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยดีกว่า

ถามมาว่า

“๑. หากว่าบริษัทเลิกจ้างแต่ไม่สามารถตกลงเรื่องค่าชดเชยได้ ดิฉันไม่เซ็นเอกสารบริษัทก้อจะไม่จ่ายชดเชย ดิฉันจะนำเอกสารใดเป็นหลักฐานการเลิกจ้างคะเพื่อแจ้งกับผู้ตรวจแรงงานเขต และยื่นขอชดเชยจากประกันสังคมคะ ดิฉันต้องยื่นเอกสารแบบฟอร์มแจ้งบริษัทถึงการเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรมั้ยคะ?”
ตอบ อย่างที่เคยแนะนำไว้ว่าหากตกลงกันไม่ได้และประสงค์จะสู้ให้ได้เงินค่าชดเชยและสิทธิ์ต่างๆตามกฎหมายแรงงานนั้น ก็อย่าเซ็นต์เอกสารใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือลาออก มิเช่นนั้นการต่อสู้ทางคดีก็จะยากมากขึ้น
ส่วนเมื่อมีการแจ้งการเลิกจ้างแล้ว ก็เอาเอกสารหนังสือเลิกจ้างนั่นแหละครับไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (ไปเขียนคำร้อง คร.๗) หรือหากบริษัทไม่ยอมให้หนังสือเลิกจ้าง ก็ต้องสอบถามยืนยันกันให้แน่นอนว่ามีการเลิกจ้างแล้ว และผู้แจ้งเลิกจ้างก็ต้องมีอำนาจตามข้อบังคับด้วยนะครับ หากบันทึกเสียงได้ก็บันทึกเพื่อจะได้ตัดปัญหาโต้แย้งว่ามีการเลิกจ้างกันแล้วหรือไม่เมื่อใด
ส่วนการยื่นขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ก็นำเอกสารหนังสือเลิกจ้าง(หรือหากไม่มีก็ขอสำเนาคำร้อง คร.๗ จากพนักงานตรวจแรงงานไป) ไปยื่นเรื่องที่กรมจัดหางานเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน เสร็จแล้วก็ไปแจ้งขอใช้สิทธิว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมต่อไปครับ

ถามต่อในข้อ๒. ว่า “กรณีที่มีการขึ้นศาลเพื่อไต่สวน ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่คะถึงจะมีคำพิพากษาเพื่อเตรียมเรื่องค่าใช้จ่ายช่วงไม่มีรายได้?”
ก็ขอตอบว่า... คงจะตอบแบบฟันธงไปไม่ได้นะครับว่าจะใช้เวลานานเพียงใด เพราะแต่ละศาลจะมีคดีค้างพิจารณาไม่เท่ากัน เอาเป็นว่าโดยปกติในศาลแรงงานชั้นต้นจะใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ถึง ๑ ปี

ถามมาในข้อสุดท้ายว่า “บริษัทสามารถหาข้ออ้างว่าดิฉันไม่ทำงานที่ได้รับในการไม่จ่ายชดเชยได้มั้ยคะ?”
ตอบว่า หากบริษัทอยากจะอ้างก็อ้างได้ครับเพราะเป็นสิทธิที่จะอ้างได้ แต่การอ้างดังกล่าวนี้จะทำให้ศาลรับฟังหรือไม่นั้นก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง และขออธิบายเพิ่มเติมว่า ในการสั่งงานนั้น เป็นอำนาจของนายจ้างที่จะสั่งงานได้ตามกฎหมาย แต่งานนั้นจะต้องเป็นงานที่ตกลงกันในรายละเอียดของงาน (เช่น จ้างมาให้ทำงานบัญชีก็มีหน้าที่ทำบัญชีหรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับบัญชี หากสั่งงานให้เราไปทำอาหารแทนแม่ครัว หรือให้เราไปจ่ายของแทนพนักงานสโตร์ อย่างนี้เป็นคำสั่งที่มิชอบเป็นต้น) หากไม่ใช่ก็ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไปครับ ซึ่งหากเป็นคำสั่งโดยมิชอบเมื่อมีการเลิกจ้างก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร[/size]