19/04/24 - 10:34 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ผมมีสิทธิ์แค่ไหนในทรัพย์สิน  (อ่าน 3586 ครั้ง)

ผมมีสิทธิ์แค่ไหนในทรัพย์สิน
« เมื่อ: กันยายน 23, 2018, 01:58:28 pm »
วัสดีครับ 
ผมนายสุพัฒน์  กองทรัพย์
ผมมีเรื่องอยากรบกวนปรึกษากับทนายครับ
ผมได้อยู่กินกับภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นเวลา 10 ปี เริ่มต้นสร้างฐานะมาด้วยกัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เราได้ปรึกษากันกู้เงินมาลงทุนสร้างรีสอร์ท บ้านพักให้คนเช่ารายวัน จากธนาคารออมสิน เป็นเงิน 3,800,000 บาท เพื่อมาสร้าง บ้านพักจำนวน 25 หลัง และ ออฟฟิศอีก 1 บนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวาซึ่งผมเป็นคนกู้ และเขาเป็นคนค้ำ  และก่อนหน้านั้นทางฝ่ายภรรยาก็ได้กู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู มาด้วยส่วนหนึ่ง เขาแจ้งว่า ประมาณ 4 ล้าน แต่ไม่ได้นำมาลงทุนในส่วนนี้ทั้งหมด โดยทางภรรยาเป็นคนจัดการดูแล กิจการตรงนี้ทั้งหมด และเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560 ผมและทางภรรยาได้แยกทางกัน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ทางธนาคารออมสินแจ้งมาว่าผมไม่ได้ชำระเงินกับทางธนาคารมาตั่งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ขอให้ผมไปชำระหนี้ ผมต้องไปชำระหนี้ เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท แทน (ปรับโครงสร้างหนี้มาสองรอบ) เพื่อชะลอการยึดจากทางธนาคาร เพราะเราได้ปรึกษากันว่า เงินชำระหนี้ธนาคารออมสิน จะเอารายได้จากทางโรงแรมที่เปิดกิจการแล้วมาชำระตรงส่วนนี้ ผมและทางธนาคารออมสินได้สอบถามไปทางภรรยา เขาบอกว่า ไม่จ่าย ถึงจ่ายไปก็ไม่ได้อะไร ผมไม่คิดว่าเขาจะตอบแบบนี้ ทั้งที่ โฉนดที่ดิน มีสองชื่อ ผมและภรรยา จดทะเบียนการค้ารีสอร์ทก็เป็นชื่อภรรยา เพราะผมต้องรับผิดชอบส่งค่างวดรถ และหนี้ที่กู้จากธนาคารกรุงศรีก่อนที่จะมากู้ออมสิน(จำนวนเงินส่วนนี้ไม่ได้นำมาสร้างรีสอร์ทเพราะตอนอยู่กันกับภรรยาใหม่ ๆ บ้านแม่ภรรยากำลังจะถูกธนาคารยึดผมและภรรยาจึงทำการกู้ เพื่อนำบ้านที่จำนองกับธนาคารออกมา และผมเป็นคนจ่ายชำระมาตลอดเกือบสิบปี) จำนวน 1,200,000 บาท ไม่รวมดอกเบี้ย  กู้จากธนาคารเกียรตินาคินอีกเพื่อนำมาใช้ในรีสอร์ทอีก(ผมก็เป็นคนจ่ายมาตลอดจนหมดแล้วทั้งสองธนาคาร) 190,000 บาทไม่รวมดอกเบี้ย และต้องผ่อนค่างวดรถอีก ซึ่งรถยนต์ผมเป็นคนผ่อนแต่ภรรยาเป็นคนเอาไปใช้ เราทำงานอยู่คนละที่ครับ
ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา ผมจะมีสิทธิ์ตรงส่วนนี้หรือไม่ครับ  เพราะเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ผมได้ปรึกษาทนายความเพื่อยื่นฟ้องแบ่งทรัพย์สิน ขึ้นศาลครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อไกล่เกลี่ยหาข้อตกลงร่วมกัน แต่ตกลงกันไม่ได้ นัดขึ้นศาลครั้งที่ 2 วันที่ 17 กันยายน  พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทางศาล(ผู้พิพากษา)บอกว่าทรัพย์สินส่วนโรงแรม นั้นผมต้องหาหลักฐานพยานมายืนยันว่าผมได้นำเอาเงินมาลงทุนเท่าไหร่  เพราะเราทำมาหากินร่วมกันมา .ผมให้เขาเป็นคนบริหาร ที่ดินผมก็มีส่วนครึ่งหนึ่งและมีชื่อของผมด้วย ผมมีชื่อเป็นเจ้าบ้านที่รีสอร์ทที่สร้างขึ้นมาด้วย และผมเป็นคนยื่นกู้กับทางธนาคารออมสินด้วย ผมจะไม่มีสิทธิ์ได้อะไรบ้างเลยเหรอครับ
มจึงอยากเรียนปรึกษา ว่าผมควรต้องทำยังไง ต่อไปดีครับ ผมเสียเปรียบทุกอย่างเลยครับ ทางทนายที่ผมจ้างก็ช่วยผมไม่ได้เลยครับ วันที่ 8  ตุลาคม 2561 จะต้องขึ้นศาลอีกรอบ ครับ หากผมไม่ตกลงตามที่ทางศาลแนะนำ ก็จะสืบพยานต่อวันนั้นเลยครับ ผมมีหลักฐาน แค่เอกสารที่กู้กับธนาคารออมสิน เพราะผมไว้ใจเขา ให้เขาทุกอย่าง ยังเลี้ยงดูลูกเขาด้วยอีก 2คน จนจบปริญญาตรี หลักฐานผมมีแค่ไหนผมก็จะได้คืนแค่นั้น  ในส่วนอื่นไม่เอามาคิด

วันที่ขึ้นศาลครั้งที่ 2 ผู้พิพากษา แนะนำผมว่า หนี้สินทุกอย่างที่ผมชำระไป ไม่รวมดอกเบี้ยเอามารวมกัน แล้วหารสอง
ผมจะได้รับเงินเป็นจำนวน 900,000 บาท ซึ่งทางฝ่ายนู้นจะยอมหรือไม่ยังไม่รู้ และทางเขาจะเอาเงินไปปิดหนี้ที่ธนาคารออมสินที่เหลือประมาณสองล้านเก้า และผมต้องเซ็นยกทุกอย่างให้กับภรรยาผม  แล้วเงินกู้ที่กู้นอกระบบที่เอามาอุดรีสอร์ทเพิ่มรวมเวลา สามปีกว่าเขาไม่ได้จ่าย ทั้งที่คุยกันแล้วว่าจะเอาส่วนรายได้จากรีสอร์ทมาจ่าย ตอนนี้ ยอดจากยอดกู้ 200,000 บาท  ตอนนี้ยอดอยู่ที่ 600,000 กว่า บาท เพราะเขาไม่ยอมส่งเลยครับ ผมเป็นคนส่งดอกปีแรกเอง หลังจากนั้นก็ไม่ได้ส่งต่อ ตรงส่วนนี้ผมก็ไปเรียกเอากับเขาไม่ได้ คนที่เดือดร้อนคือผมครับ ผมคิดว่าแบบนี้มันไม่ยุติธรรมกับผม และผมไม่ได้รับความเป็นธรรมครับ ถ้าเป็นไปตามที่ศาลแนะนำนี้ผมก็ไม่เหลืออะไร มีรถที่ผมเอามาจากที่เอามาผ่อนต่อ และร้านมือถือเล็ก ๆ ที่ผมทำงานและใช้เครดิตในการกู้เงิน ขึ้นมาสร้างฐานะ  เอกสารการกู้กับทางธนาคารออมสินมีครบ
ช่วยให้คำแนะนำผมด้วยครับ ผมต้องทำยังต่อไปดีครับ ผมเครียดมากครับ

ผมขอขอบคุณล่วงหน้าครับผม  ขอบคุณมากๆ ครับ
เอกสารบางส่วนครับ
   
   
   
   
   
   
ช่วยด้วยครับถ้าตามที่ดูเหตุการณ์ ผม ก็ต้องย้ายออกจากบ้านเลขที่ 331 ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งผมเป็นเจ้าบ้านเอง ยังไม่รู้จะอยู่ไหน ร้านผมยังต้องเช่าเขาอยู่ที่ อ.อมก๋อย
รอความหวังครับ

อีผี

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
Re: ผมมีสิทธิ์แค่ไหนในทรัพย์สิน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 23, 2018, 04:15:55 pm »
หากมาตอบก็จะเป็นความรู้มากเลยค่ะ อยากจะรู้เหมือนกันค่ะ










คาสิโนออนไลน์

Re: ผมมีสิทธิ์แค่ไหนในทรัพย์สิน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2018, 09:17:34 am »
ราคาประเมินเมื่อ 5 ปีก่อนที่ทางธนาคารออมสินประเมินตอนยื่นโครงการ 6,100,000
เหลือเวลาอีก 1 เดือนกว่า ก็จะครบ 1 ปี ที่เขาไม่ยอมจ่ายชำระค่างวดเงินกู้ที่เอามาสร้างรีสอร์ท

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: ผมมีสิทธิ์แค่ไหนในทรัพย์สิน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 24, 2018, 04:03:46 pm »
จากที่อ่านเรื่องราวก็น่าเห็นใจครับ

อยู่กินด้วยกันหวังสร้างอนาคตที่มั่นคงในภายภาคหน้า แต่อย่างว่าละครับ เรื่องของอนาคตมันไม่แน่ไม่นอน ที่แน่นอนคงมีเพียงความตายเท่านั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็แก้ปัญหากันไปทีละเปลาะๆละครับ

และก็เข้าใจว่า ผู้ถามก็รอคำตอบอยู่อย่างกระวนกระวายใจมิใช่น้อย ทนายก็เลยต้องรีบมาตอบให้เผื่อว่าจะช่วยแบ่งเบาความเครียดไปได้บ้างนะครับ

ขอออกตัวก่อนนะครับว่า ปกติถ้ามีทนายความให้ความช่วยเหลือคดีแล้ว ผมจะไม่ก้าวล่วงไปแนะนำหรือเสนอแนะอะไร เพราะถ้าข้อเสนอแนะไม่ตรงกับทนายที่ท่านจ้างมาทำคดี ท่านก็จะรู้สึกหวั่นไหวกับข้อแนะนำครับ เฉกเช่นเดิมท่านมีนาฬิกาอยู่เพียงเรือนเดียว ท่านก็จะมั่นใจว่านาฬิกาของท่านเดินตรง แต่เมื่อท่านมีนาฬิกามาเพิ่มอีกเรือนเป็นสองเรือนท่านก็จะเกิดข้อสงสัยว่าแล้วนาฬิกาเรือนใหนมันเดินตรงล่ะ ก็ประมาณนี้

เอาละ มาดูข้อกฎหมายกันก่อน อันว่าชายกับหญิงอยู่กินด้วยกันโดยจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ถือว่าเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่เกิดขึ้นย่อมตกเป็นสินสมรส
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์ที่เกิดขึ้นถึงเเม้จะไม่เรียกว่าสินสมรส แต่จะเรียกว่าทรัพย์สินร่วม ระหว่างชายกับหญิง หรือเรียกง่ายๆ ว่าทรัพย์ของหุ้นส่วนชีวิตนั่นเองครับ

แต่กรณีที่ถามมา มีการจดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินรวมทั้งหนี้สิน ก็ถือว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔

ดังนั้น ในกรณีนี้วิธีการก็คือต้องมาแจกแจงรายละเอียดก่อนว่า ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างสินสมรส มีอะไรบ้าง ก็ทำรายการไว้

รวมทั้งหนี้สินที่เกิดขึ้นมีหนี้อะไรบ้าง ก็ทำรายการไว้

นอกจากนี้ ก็ต้องแยกทรัพย์ที่เป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายเอาไว้ด้วย หรือเรียกง่ายๆว่า เอาทรัพย์สิน และหนี้สินทั้งหมด มาวางกองแล้วค่อยๆแยกออกทีละรายการ ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้ที่รู้ดีที่สุดก็คือคุณและภรรยาครับ ถ้าเรื่องนี้ข้อเท็จจริงยุติ คดีก็จะง่ายขึ้นครับ แต่ถ้ายังมีข้อโต้แย้งว่า ทรัพย์ใดเป็นทรัพย์ส่วนตัว ทรัพย์ใดเป็นสินสมรส อันนี้ก็จะยุ่งมากมากขึ้น เพราะจะต้องทำการสืบพยานหลักฐานว่าแท้จริงแล้วทรัพย์นั้นอยู่ในสถานะใด

แน่นอนว่า ในการสืบพยานเรียกว่าหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลได้วินิจฉัยตัดสินก็จะต้องมีพยานหลักฐานมาประกอบ จะเบิกความลอยๆ ไม่ได้ มันจะไม่มีน้ำหนัก เช่น คุณบอกว่าไปกูธนาคารมา ก็ต้องมีสัญญาเงินกู้มาแสดงต่อศาล หรือบอกว่า เราเป็นคนใช้หนี้มาโดยตลอด ก็ต้องมีหลักฐานการส่งขำระหนี้ ซึ่งขอได้ที่สถาบันการเงินที่เราส่งไป หรือให้ทนายออกหมายเรียกไปกับธนาคารขอรายการเดินบัญชีการชำระเงินก็ได้ อย่างนี้ เป็นต้น

ดังนั้น ในการทำคดีก็ต้องแจ้งทนายความให้ละเอียดว่า มีทรัพย์สินอะไรบ้างที่มีก่อนสมรส มีทรัพย์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นหลังการสมรส และมีหนี้สินอะไรบ้างที่มีก่อนสมรส และมีหนี้สินอะไรบ้างที่เกิดขึ้นหลังสมรส แล้วมานั่งประชุมคดีกัน ค่อยๆ คิดเเละหาพยานหลักฐานมาประกอบทุกรายการ หากรายการใหนไม่มีพยานหลักฐานอันนี้ก็ต้องทำใจละครับ ถ้าอีกฝ่ายมีพยานหลักฐานที่ดีกว่า เพราะคดีเเพ่งศาลจะใช้วิธีชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานครับ

หลักการและข้อแนะนำก็มีประมาณนี้ครับ

ขอให้ไกล่เกลี่ยกันได้นะครับ ให้กำลังใจครับ

ทนายพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2018, 04:17:06 pm โดย ทนายพร »

Re: ผมมีสิทธิ์แค่ไหนในทรัพย์สิน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:03:44 am »
ขอบคุณ ทนายพร มาก ๆ ครับ ที่เสียสละเวลามาช่วยชี้แนะผม ให้เข้าใจในหลาย ๆ เรื่อง ขอบคุณครับ