ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่อง“ที่ดิน”และ"ป่าสงวนแห่งชาติ"

ประมวลกฎหมายที่ดิน  มาตรา 1 

“ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา  ห้วย  หนอง  คลอง  บึง  บาง  ลำน้ำ  ทะเลสาบ  เกาะ  และที่ชายทะเลด้วย

 

“สิทธิในที่ดิน” หมายความว่า กรรมสิทธิ์ และให้หมายความรวมถึง สิทธิครอบครองด้วย

 

 “ใบจอง”   หมายความว่า   หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว

 

“หนังสือรับรองการทำประโยชน์”   หมายความว่า หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว”

 

 “ใบไต่สวน”   หมายความว่า   หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินและให้หมายความรวมถึง ใบนำด้วย

 

“โฉนดที่ดิน”    หมายความว่า   หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้หมายความรวมถึง โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจอง ที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว”

 

หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

 

 แบ่งออกเป็น  2  ประเภท

 

  1. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์  หมายถึง  เอกสารที่ทางราชการออกให้แก่ผู้มีสิทธิเพื่อรับรองว่าเป็นเจ้าของในที่ดิน  ได้แก่  โฉนดที่ดิน ,โฉนดแผนที่,โฉนดตราจอง,ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว”
     
  2. หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (น.ส. 3) หมายถึง  เอกสารที่ทางราชการออกให้แก่ผู้มีสิทธิเพื่อรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินนั้น  แต่มิได้รับรองถึงความเป็นเจ้าของในที่ดินนั้น

 

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ มี 3 แบบ

 

น.ส.3 ก. คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่อกให้แก่ผู้ทำประโยชน์ที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ

 

น.ส.3 ข. คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ
 

น.ส.3 คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่อื่นซึ่งไม่ใช่ท้องที่ตาม ข้อ 2.1.1 และข้อ 2.1.2

 

ใบจองมี 2 แบบ คือ

2.1 น.ส.2  คือ  ใบจองที่ออกให้สำหรับที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่รัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศ ยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขตนายอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

 

2.2 น.ส.2 ก. คือ ใบจองที่ออกให้สำหรับที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่อื่น  ซึ่งไม่ใช่ท้องที่ตามข้อ 2.1

 

ใบไต่สวน  มี 1  แบบ  คือ น.ส. 5 ซึ่งออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดที่ดินของตนและพนักงานเจ้าหน้าที่จะ สอบสวนถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของที่ดิน  เพื่อเตรียมจะออกโฉนดที่ดิน

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2519  ผู้ที่มีชื่อในใบเสร็จเสียเงินบำรุงท้องที่เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้เสียภาษีเท่านั้น  ไม่ใช่หลักฐานแสดงว่าผู้นั้นมีสิทธิครอบครอง

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2508   แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะแจกอยู่แล้ว  แต่ตราบใดที่ผู้ยึดถือที่ดินยังไม่ได้มาซึ่งโฉนดที่ดินหรือยังไม่ได้รับโฉนดไปจากพนักงานเจ้าหน้าที่  ผู้นั้นก็จะถือว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดินมีโฉนดไม่ได้

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6142/2544  โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีเอกสาร ภ.บ.ท. 5 แต่ยังไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท  การที่โจทก์นำเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้าไปในที่ดินพิพาทเพื่อรังวัดและนำเสา ซีเมนต์ไปปักไว้ 2  ต้น  ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทส่วนการเสียภาษี บำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ได้เข้าครอบครอง ที่ดินพิพาทหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท  นอกจากนี้ภริยาโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้ซื้อที่ดินก็ไม่เคยเข้าไปดูแล หรือเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมอบหมายให้โจทก์ไปดูแลแทนหรือกระทำแทนเท่านั้น  เช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  269/2544   แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน  10  ปี  โจทก์ซึ่งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อมาจะไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจาก ต้องห้ามโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58  ทวิ  ก็ตาม  แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินตลอดมาหลังจากเกินระยะเวลา  10  ปี  ดังกล่าวโดยโจทก์ปลูกบ้านพร้อมขอเลขที่บ้านจากทางราชการย่อมแสดงให้เห็นว่า โจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตลอดมา  จำเลยไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครองแต่อย่างใด  ทั้งการที่จำเลยเสนราคาเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทคืน  ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับถึงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์  โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์เจตนาจะยึดถือเพื่อตน แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  1367  

 

 

คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๙๑๑/๒๕๔๖

 

การที่จำเลยรับจ้างบุคคลอื่นใส่ปุ๋ยต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองสวนยางพาราพื้นที่เกิดเหตุโดยยึดถือเอาไว้เพื่อผู้อื่น  ตามความหมายของมาตรา  ๕๔   แห่ง  พ.ร.บ.  ป่าไม้  มาตรา  ๑๔  แห่งพ.ร.บ.  ป่าสงวนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๐๗  จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

 

เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิด  กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา  ๗๒  ตรี  วรรคสาม  แห่ง  พ.ร.บ.  ป่าไม้  พ.ศ.  ๒๔๘๔  วรรคสาม  แห่งพ.ร.บ.  ป่าสงวนแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๐๗  ที่จะสั่งให้จำเลย  คนงานผู้รับจ้างผู้แทน  และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติตามคำขอได้

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๖๙๖/๒๕๔๔

 

ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก  ส.  เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐานเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น  จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ  ส.  ผู้ขายตลอดมา  ต่อมาจำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน  ๑๙  ไร่  พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ จึงให้  ช.  บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก  ๑  แปลง  จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา

 

 

ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย  ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่  เมื่อโจทก์เปลี่ยนชื่อใน  ภ.บ.ท.๕  จากจำเลยเป็น  อ.  การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง  และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว 

แม้ตาม  พ.ร.บ.  ป่าสงวนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๐๗  มาตรา  ๑๔  บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร  ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายได้  แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครอง    และพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองแก่กัน 


ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า  พื้นที่  สทก.  ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน  แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้  ก็เพื่อให้สัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว  นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย  สัญญาที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลย ย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ

 

 

จำเลยที่  ๑  และที่  ๓  อุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง  แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่  จึงไม่ถูกต้อง  ๔  มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๕๗๒/๒๕๔๔

 

แม้จำเลยตั้งใจเข้าไปเก็บเอาไม้กฤษณาเพื่อนำออกไปขายหาเลี้ยงชีพ แต่ก่อนที่จำเลยจะได้ไม้กฤษณามาเพื่อนำออกไปขาย  จำเลยกฤษณาและเซาะต้นไม้กฤษณาเป็นชิ้นแล้วรวบรวมไว้ ซึ่งเป็นเจตนาและการกระทำต่างหากจากการครอบครองเพื่อนำออกไปขาย การกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

 

คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย  ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมการเพิ่มเติมโทษจำเลย

 

โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม  และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม  พ.ร.บ.  ป่าฯ  ๑๑,  ๗๓  การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า  จำเลยมีความผิดตาม  พ.ร.บ.  ป่าไม้  พ.ศ.  ๒๔๘๔  มาตรา  ๑๑  และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน  จึงขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง  ไม่ชอบด้วย  ป.วิ.อ.  มาตรา  ๑๙๒  วรรคหนึ่ง  ประกอบด้วยมาตรา  ๒๑๕  ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องจำเลยตาม  พ.ร.บ.  ป่าไม้  พ.ศ.  ๒๔๘๔  มาตรา  ๑๑

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๔๓๔๗/๒๕๔๔

 

พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  พ.ศ.  ๒๕๑๘  มาตรา  ๒๖(๔)  บัญญัติว่า  “ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  เมื่อคณะรัฐมนตรีปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว   เมื่อ   ส.ป.ก.   จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดิน  พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน  มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น”   ดังนั้น  ที่ดินพิพาทเมื่อยังมิได้มีการกรรมการปฏิรูปที่ดิน  แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วก็ตาม  พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น  ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที  พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๗๑๑๒/๒๕๔๒

 

ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่า  ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่  ๒๓๙  (พ.ศ. ๒๕๑๐)  ออกตามความใน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๐๗  โดยที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)  ทับที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  แต่ตาม  พ.ร.บ.  ป่าสงวนแห่งชาติ  ๒๕๐๗  มาตรา  ๑๔  บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ  ดังนี้ 
 


แม้ว่าโจทก์ครอบครอง  ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับที่  ๒๓๙  ดังกล่าว  จะได้ประกาศให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  โจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาท  เมื่อได้มีกฎกระทรวงประกาศกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๖  แห่ง  พ.ร.บ.  ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ โจทก์หรือบิดาโจทก์จึงหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ และแม้โจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้  แต่การได้รับอนุญาตดังกล่าวก็มีผลให้โจทก์หรือบิดาโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิดังกล่าวในที่ดินพิพาท  และโจทก์หรือบิดาโจทก์ก็ไม่อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้  โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปให้จำเลยเช่าได้  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

 

 

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า  จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า  ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง  และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีมีย่อมมีประเด็น

 

ให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๓๙๒๔/๒๕๓๙

 

ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  แม้โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทตามหนังสืออนุญาต  สทก. ๑ ตั้งแต่  ๑  ตุลาคม  ๒๕๒๗  ถึง  ๑  ตุลาคม  ๒๕๓๒  ก็ตาม  เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่  ๑  ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทในปี  ๒๕๓๓  อันเป็นเวลาหลังจากหนังสืออนุญาต  สทก. ๑  ของโจทก์  สิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเงื่อนไขของ  พ.ร.บ. ป่าสงวนฯ  มาตรา  ๑๖  ประกอบมาตรา  ๑๔  ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว  ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน  แต่เป็นเรื่องที่ส่วนราชการและเป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั้นเอง  ซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้  โจทก์จึงไม่มีฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๙๒๖/๒๕๓๘

 

สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ  อ. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว  จึงตกได้แก่ทายาท  โจทก์ในฐานะผู้จัดการ มรดกของ   อ.  จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่เข้ามาโต้แย้งสิทธิได้

 

เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของ  อ.ผู้ตายและตกได้แก่  ถ.ทายาทตามพินัยกรรม  จำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ครอบครอง  ที่ดินพิพาทแทนทายาทของ อ. เท่านั้น  ไม่มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใด  จำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้  ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท  จำเลยที่  ๒  จึงหาอาจยกปัญหาเรื่องจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ต่อไปไม่เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์  ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม  ป.วิ.พ.มาตรา  ๒๔๙  วรรคหนึ่ง

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๒๙๑๔/๒๕๒๔

 

การดายหญ้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  คือ การก่อสร้างหรือแผ้วถางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  แม้จำเลยจะกระทำโดยรับจ้างหรือถูกใช้ให้กระทำ  ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  ๕๓  หาใช่จะถือว่าผู้รับจ้างไม่มีเจตนาที่จะแผ้วถางป่าไม้  จอบที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด  ต้องริบตามมาตรา  ๓๕  แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๐๗

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๙๑๑/๒๕๔๖ 

 

คำขอท้ายฟ้องขอให้สั่งให้จำเลย  คนงาน  ผู้รับจ้าง  ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ  เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ  มาตรา  ๓๑  วรรคสาม  และพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ  มาตรา  ๗๒  ตรี  วรรคสาม  ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้เช่นนั้นต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด  เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว  ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้

 

คำพิพากษาฎีกาที่  ๖๐๐๗/๒๕๔๖                                                               

 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ  มาตรา  ๑๔,  ๓๑  วรรคหนึ่ง  พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ  มาตรา  ๑๑  วรรคหนึ่ง,  ๗๓  วรรคหนึ่ง  ประกอบ ป.อ. มาตรา  ๘๓  เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหมายบท  ลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม  ป.อ.  มาตรา  ๙๐  เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ  มาตรา  ๗๓  วรรคหนึ่ง  แต่ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ  มาตรา  ๓๑  วรรคหนึ่ง  อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด  และพระราชบัญญัติดังกล่าว  มิได้มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินสินบนนำจับ  ดังนั้น  ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนำจับตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ  มาตรา  ๗๔  จัตวา  หาได้ไม่

 

 



04/Jul/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา