ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นายจ้างมีนโยบายลดเงินเดือนลูกจ้างทุกคน และลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่อย่างใด ถือว่านายจ้างไม่สามารถกระทำได้ ผิด พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 นายจ้างต้องชดใช้และจ่ายเงินให้ลูกจ้างนับแต่วันที่ลดเงินเดือน

โดยในกรณีนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2545 โดยสรุปได้ว่า

การที่จำเลยตกลงลดเงินเดือนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงร้อยละ  25 เหลือเงินเดือนละ  12,700  บาท และโจทก์ลงชื่อรับไว้โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้าน  จึงมิใช่กรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยโดยปริยาย  อันจะทำให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานใหม่ได้ เพราะการลดเงินเดือนถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างนายจ้างต้องยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้าง พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี  ของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย

 

ในกรณีนี้ทางสำนักงานทนายความพรนารายณ์และเพื่อน เห็นว่า แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จะไม่มีมาตราใดที่ระบุห้ามมิให้นายจ้างลดค่าจ้างลูกจ้าง

 

แต่สำหรับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 “ค่าจ้าง” ถือว่า “เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง”  ดังนั้นการที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างนายจ้างจะสามารถกระทำได้เฉพาะในกรณีที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างเท่านั้น ซึ่งการลดค่าจ้างถือว่าไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง  ดังนั้นนายจ้างจึงไม่สามารถดำเนินการได้เพียงฝ่ายเดียวได้ ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม ต้องมีการยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างเพื่อเปลี่ยนสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ได้กำหนดไว้

 

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456 / 2545

 

ระหว่างนายธนากร ดีกระจ่างเพชร โจทก์ กับ บริษัทอดิสา (1993) จำกัด จำเลย

 

จำเลยได้มีการประชุมและมีมติออกมาให้มีการลดเงินเดือนของพนักงานลูกจ้างและของโจทก์ เนื่องจากจำเลยประสบปัญหาทางการเงิน ตัวโจทก์เองก็รับและเห็นด้วย อาจจะไม่เต็มใจบ้างที่เงินเดือนหายไปบางส่วนแต่ก็ดีกว่าตกงานและหางานใหม่

 

จากการซักถามของทนายจำเลย ได้ความว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับเงินเดือนเดือนกันยายน 2540 เดือนกุมภาพันธ์ 2541 และเดือนมีนาคม 2541 การลดเงินเดือนเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงาน หาได้จำกัดเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่ อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ โจทย์มิได้ทักท้วงหรือโต้แย้งการลดเงินเดือน การปรับลดเงินเดือนของโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า

 

ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในเรื่องเกี่ยวกับจำนวนค่าจ้าง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานด้วย และการตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานจะตกลงกันโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยปริยายก็ได้

 

แต่การตกลงกันโดยปริยายอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงาน จักต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าคู่กรณีได้เข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขต่างๆที่จะผูกพันโดยสัญญานั้นด้วยความเต็มใจหรือไม่ทักท้วง หรือโต้แย้งคัดค้านต่อการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งที่อาจทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านได้ โดยไม่เกิดผลเสียหายใดต่อฝ่ายตน ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมแรงงานโดยทั่วไป

 

เมื่อนายจ้างดำเนินการต่างๆในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย การปรับเพิ่มลดค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ หรือการลงโทษทางวินัย ลูกจ้างแม้ไม่เห็นชอบด้วยก็ไม่กล้าที่จะทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านโดยเปิดเผย เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่พอใจซึ่งจะมีผลผลต่อความมั่นคงในการทำงานหรือความเจริญก้าวหน้าของตนได้

 

การนิ่งเฉยหรือไม่ทักท้วงหรือไม่โต้แย้งคัดค้านต่อการกระทำของนายจ้าง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างตกลงกับนายจ้างโดยปริยายและก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้น

 

คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า

 

ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยเพียงว่ามีการเรียกประชุม โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เข้าร่วมประชุมด้วยหรือไม่ ไม่มีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างลดเงินเดือนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงร้อยละ 25 และโจทก์ลงชื่อรับไว้โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้าน จึงมิใช่กรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ตกลงกับจำเลย โดยปริยาย อันจะทำให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานใหม่ว่า

 

จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ในอัตราใหม่ลดลงร้อยละ 25 ได้ โจทก์จึงยังคงมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลยในอัตราเดิมจนถึงวันที่โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย

 

ตามถ้อยคำในอุทธรณ์ของจำเลย แม้จะอ้างว่าการรับฟังพานหลักฐานของศาลแรงงานที่ฟังว่าจำเลยค้างชำระเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์นำสืบเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย แต่เนื้อหาของการอุทธรณ์ข้อนี้เป็นการกล่าวอ้างว่าควรรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ โดยยกคำเบิกความของพยานบุคคลบางตอนและพยานเอกสารบางฉบับมาอ้างสนับสนุน

 

ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 

(นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ, นางมงคล คุปต์กายจนากุล, นายพูนศักดิ์ จงกลนี)



09/Apr/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา