ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตทำงาน ศาลจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2549/2557  ระหว่างนายซิล โจทก์  และบริษัทดานซ์ จำเลย

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ตำแหน่งสุดท้าย เป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 140,000 บาท โจทก์ถูกจ้างเพื่อทำงานให้กับจำเลยและบริษัทในเครือจำเลยในโรงงานในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2552 จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าใช้จ่ายให้สำนักงานกฎหมาย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม รวมเป็นเงิน 8,941,395.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์เป็นพนักงานแต่อย่างใด โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทฟู ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเทศจีน โจทก์และจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างลูกจ้างต่อกัน โจทก์ไม่ได้เสียหาย ขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 224,000 บาท และค่าชดเชยแก่โจทก์ 140,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง คำขอนอกจากนี้ให้ยก

 

ศาลฎีกาปรึกษาแล้ว เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นพนักงานจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 140,000 บาท ตกลงจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 26 กันยายน 2551 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโจทก์ในข้อหาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต วันที่ 11 มีนาคม 2552 นางสาวอัญ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงโจทก์ไม่ให้เข้าบริษัทจำเลย เมื่อนางสาวอัญ เป็นพนักงานจำเลยตำแหน่งเลขานุการ ดังนี้จึงฟังว่า จำเลยได้สั่งห้ามโจทก์เข้าบริษัทจำเลย และต่อมาโจทก์ถูกเนรเทศออกนอกราชอาณาจักร พฤติการณ์จึงอนุโลมฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างดังกล่าวถือได้ว่าไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

พิพากษายืน



11/Feb/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา