ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

“ความเหมือนที่แตกต่าง” : มองผ่าน “กองทุนการออมแห่งชาติ” กับ “ประกันสังคมมาตรา 40″

จากรายงานข่าวของสื่อมวลชนหลายสำนักโดยอ้างถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีวัน ที่ 16 ธันวาคม 2557 ที่นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ขอถอนเรื่อง “แนวทางการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตาม พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554” ออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกล่าวว่า “ขณะ นี้ได้มีพ.ร.บ.ประกันสังคม มาตรา 40 คอยดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้ว ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกันอยู่ กระทรวงการคลังจึงขอถอนเรื่องออกจากวาระ ครม. ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อกลับไปศึกษาให้รอบคอบว่าจะเดินหน้าจัดตั้งกองทุน กอช. ต่อไปหรือไม่ อย่างไร”

 

เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างในเรื่องนี้ จึงขออธิบายความแตกต่างของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

 

(1) วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง

 

– พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 หรือเรียกสั้นๆว่า “ประกันสังคมมาตรา 40” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสวัสดิการหรือเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับ ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

 

– พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 หรือเรียกสั้นๆว่า “กองทุนการออม หรือ กอช.” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ และเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิก

 

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีวัตถุประสงค์ที่เหมือนกัน กล่าวคือ เป็นการส่งเสริมการออมของประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระซึ่งไม่อยู่ในระบบการ ออมภาคบังคับ เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ยามชรา โดยกอช. ให้ประโยชน์ทดแทนในรูปของบำนาญเท่านั้น ในขณะที่ประกันสังคมมาตรา 40 ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ส่งเงินออมหรือจำนวนเงินออม ทั้งนี้สมาชิกทั้ง 2 กองทุนที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่แล้ว ก็ยังคงมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่เช่นเดิม

 

DSC0824620120904_140048

 

(2) การจัดตั้ง สถานะของกองทุน และการบริหารจัดการกองทุน

– พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 เป็นกองทุนในสำนักงานประกันสังคม มีฐานะเป็นส่วนราชการ อยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน บริหารโดยคณะกรรมการประกันสังคม คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริหารมาตรา 40 และมีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนให้คำปรึกษาด้านการลงทุน

 

– พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 เป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจ อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง บริหารโดยคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ และมีคณะอนุกรรมการการลงทุนให้คำปรึกษาด้านการลงทุน

 

ทั้งนี้ กอช. เป็นหน่วยงานที่ต้องจัดตั้งขึ้นมาใหม่ เมื่อเทียบกับประกันสังคมมาตรา 40 ที่มีการบริหารจัดการผ่านคณะกรรมการฯที่มีประสบการณ์และสามารถดำเนินการได้ ทันที เพราะกองทุนประกันสังคมมีการจัดตั้งขึ้นมานาน มีประสบการณ์ในการดำเนินงาน และมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ภายใต้กองทุนอยู่แล้ว

 

(3) คุณสมบัติสมาชิก

– พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 ผู้สมัครต้องอายุ 15 – 60 ปี (ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น) และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (เช่น ลูกจ้างของสถานประกอบการ พนักงานบริษัทเอกชน) และมาตรา 39 (ผู้ที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แต่ประสงค์ที่จะส่งเงินต่อ) และตามข้อยกเว้นของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เช่น ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ครูโรงเรียนเอกชน คนทำงานองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์การมหาชนต่างๆ เป็นต้น

 

โดยเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีอายุ 60-65 ปี สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ทุกทางเลือก แต่สำหรับผู้สมัครที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เฉพาะทางเลือก 3 เท่านั้นและไม่มีสิทธิเปลี่ยนทางเลือก ทั้งนี้เฉพาะการสมัครในช่วงระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2556 – วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เท่านั้น

 

– พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 ผู้สมัครต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุ 15-60 ปี และไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น กองทุนประกันสังคม , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น

 

โดยตามบทเฉพาะกาลของ กอช. กำหนดให้ภายใน 1 ปีแรกที่เปิดรับสมาชิก (ซึ่งขณะนี้ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสเมื่อใด) เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถออมต่อไปได้อีก 10 ปี โดยมีสิทธิขอรับบำนาญได้เมื่ออายุครบ 60 ปี เป็นต้นไป

 

รวมถึงข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุราชการแล้วและได้รับบำนาญอยู่ทุกเดือน ก็สามารถสมัคร กอช. ได้แต่เฉพาะในปีแรกที่เปิดรับสมัครสมาชิกเท่านั้น กล่าวได้ว่าทั้ง 2 กองทุน เป็นช่องทางการออมสำหรับแรงงานนอกระบบที่มีอายุ 15-60 ปีเหมือนกัน อย่างไรก็ดีจะมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของสิทธิการออมตามอายุ กล่าวคือ แม้ประกันสังคมมาตรา 40 จะกำหนดเรื่องการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนเมื่ออายุครบ 60 ปี กับได้แจ้งยุติการเป็นผู้ประกันตน แต่สำหรับในทางเลือกที่ 3 ของมาตรา 40 นั้น ผู้ประกันตนที่อายุเกิน 60 ปี จะยังมีสิทธิส่งเงินออมต่อไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะแจ้งยุติการเป็นผู้ประกันตน หรือเสียชีวิตลง


แต่สำหรับ กอช. จะอนุญาตให้สมาชิกออมได้ถึงอายุ 60 ปีเท่านั้น โดยมีข้อยกเว้นในบทเฉพาะกาลให้แก่สมาชิกที่อายุ 50 ปี ขึ้นไปที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกภายใน 1 ปีแรกนับแต่วันที่เปิดรับสมาชิก จะมีสิทธิในการออมเงินต่อไปได้อีก 10 ปี เช่น อายุ 58 ปี จะสามารถออมเงินได้จนถึงอายุ 68 ปีหากสมัครในปีที่ 1 ที่กองทุนเปิดรับสมัคร แต่หากสมาชิกมีอายุมากใกล้ 60 ปี แต่สมัครเข้าเป็นสมาชิก กอช. ในปีที่ 2 เป็นต้นไป สมาชิกคนดังกล่าวจะมีสิทธิออมเงินได้จนถึงอายุ 60 เท่านั้น เช่น อายุ 58 ปี จะสามารถออมเงินได้จนถึงอายุ 60 ปี คือ เพียง 2 ปีเท่านั้น

Untitled-7

 

(4) สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เงื่อนไข อัตราเงินสมทบที่สมาชิกแต่ละคนต้องจ่าย และอัตราเงินสมทบจากรัฐ

 

– พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 ครอบคลุม 4 สิทธิประโยชน์ได้แก่ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ (แบ่งเป็นเงินบำเหน็จ กับ เงินบำนาญ)

 

โดยอัตราเงินสมทบที่สมาชิกแต่ละคนต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับสิทธิประโยชน์ที่เลือก ซึ่งมีทั้งสิ้นรวม 5 ทางเลือก คือ

 

♥ ทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน, รัฐสนับสนุน 30 บาท) คุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต

 

♥ ทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน, รัฐสนับสนุน 50 บาท) คุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพเงินบำเหน็จ (หมายถึง จ่ายเป็นเงินก้อน)

 

♥ ทางเลือกที่ 3 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน, รัฐสนับสนุน 100 บาท) คุ้มครอง 1 กรณี คือ กรณีชราภาพเงินบำนาญ (จ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต)

 

♥ ทางเลือกที่ 4 (จ่ายเงินสมทบ 170 บาท/เดือน, รัฐสนับสนุน 130 บาท) คุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

 

♥ ทางเลือกที่ 5 (จ่ายเงินสมทบ 200 บาท/เดือน, รัฐสนับสนุน 150 บาท) คุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วยกรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

 

ทั้งนี้สมาชิกต้องจ่ายเงินเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ ซึ่งหากสมาชิกไม่จ่ายเงินเพียง 1 เดือน จะพ้นจากการเป็นผู้ประกันตนทันที จนกว่าจะมีการจ่ายเงินอีกครั้ง จึงจะกลับมามีสถานะเป็นผู้ประกันตนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับสิทธิประโยชน์ เนื่องจากเงื่อนไขสำคัญของมาตรา 40 คือ ต้องมีการจ่ายเงินต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ได้รับสิทธินั้นๆ

 

Untitled-1

โดยมีเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์แต่ละกรณี ดังนี้

 

≠ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย จะได้รับก็ต่อเมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี หรือไม่เกิน 6,000 บาทต่อปี แต่ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน

 

≠ กรณีทุพพลภาพ จะได้รับก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์ ว่าเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี แต่ต้องจ่ายเงินสมทบ 6 เดือนขึ้นไป

 

≠ กรณีเสียชีวิต จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาท ทั้งนี้จะได้รับเงินค่าทำศพก็ต่อเมื่อต้องจ่ายเงินมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนเสียชีวิต ยกเว้นเสียชีวิตด้วยกรณีอุบัติเหตุ จะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิต

 

≠ กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) จะได้รับก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งยุติความเป็นผู้ประกันตน

 

≠ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) จะได้รับก็ต่อเมื่อต่อเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งยุติความเป็นผู้ประกันตน รวมทั้งได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) หรือได้จ่ายเงินสมทบจนครบจำนวนที่จะได้รับเงินบำนาญขั้นต่ำตามที่สำนักงาน ประกันสังคมกำหนด โดยจะได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ คือ เดือนละ 600 บาทจนกว่าจะเสียชีวิต

 

– พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 ครอบคลุม 1 สิทธิประโยชน์ได้แก่ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) เท่านั้น

 

โดยอัตราเงินสมทบที่สมาชิกแต่ละคนต้องจ่าย คือ ไม่น้อยกว่าครั้งละ 50 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่า 13,200 บาทต่อปี

 

ทั้งนี้สมาชิกไม่จำเป็นต้องส่งเงินสะสมทุกเดือน และไม่จำเป็นต้องส่งเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือนนอกจากนี้หากในปีใดสมาชิกไม่ สามารถส่งเงินสะสมได้ กอช.จะยังคงสิทธิความเป็นสมาชิกแต่รัฐบาลจะไม่ส่งเงินสมทบให้เท่านั้น (ซึ่งนี้อาจคือจุดเด่นมากของ กอช. คือ ความยืดหยุ่นของเงื่อนไขการส่งเงินสะสมและการคงเงินของสมาชิกเมื่อเทียบกับ กองทุนประกันสังคม ที่ กอช. ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อรองรับกลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีรายได้ในแต่ละเดือนที่ไม่ แน่นอน เช่น กลุ่มแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง แม่ค้าพ่อค้า ซึ่งนับได้ว่าจะเป็นกลุ่มแรงงานเป้าหมายที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตรงนี้อย่างแท้จริง)

 

 

Untitled-1

 

โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบสัมพันธ์กับอายุของสมาชิกในขณะที่ส่งเงินสะสมนั้น กล่าวคือ

 

♥ อายุสมาชิกตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่เกิน 30 ปี รัฐบาลจะสมทบให้ 50 % ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาท/ปี

 

♥ อายุสมาชิกตั้งแต่ 30 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี รัฐบาลจะสมทบให้ 80 % ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 960 บาท/ปี

 

♥ อายุสมาชิกตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป รัฐบาลจะสมทบให้ 100 % ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาท/ปี

 

P4240229

 

โดยมีเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

 

≠ จะได้รับบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี หรือหากออมน้อยจนทำให้บำนาญที่คำนวณได้ มีจำนวนน้อยกว่าเงินดำรงชีพ (จำนวนเงินดำรงชีพกำหนดในกฎกระทรวง) สมาชิกจะได้รับเงินดำรงชีพเป็นรายเดือน จนกว่าเงินในบัญชีจะหมดไป

 

≠ กรณีทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี มีสิทธิขอรับเงินสะสมของตนเองและดอกผลของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับเงินสมทบและดอกผลของเงินสมทบจากรัฐบาลให้จ่ายเป็นบำนาญเมื่อสมาชิกอา ยุครบ 60 ปี

 

≠ กรณีลาออกจากกองทุนก่อนอายุครบ 60 ปี ได้รับเงินสะสมของตนเองของตนเองและดอกผลของเงินสะสมเท่านั้น ส่วนเงินสมทบและดอกผลของเงินสมทบจากรัฐบาลให้ตกเป็นของกองทุน

 

≠ กรณีเสียชีวิต ทายาทหรือผู้ที่แจ้งชื่อไว้รับเงินทั้งหมดในบัญชี คือ ทั้งเงินสะสมของตนเองและเงินสมทบจากรัฐ

 

กล่าวโดยง่ายประกันสังคมจะรับสิทธิประโยชน์ชราภาพได้ทั้งเงินบำเหน็จและ เงินบำนาญ แต่ กอช. จะได้รับเงินบำนาญเท่านั้น (อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตสำคัญในเรื่องนี้ คือ สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุควรจะออกมาในรูปแบบของ “บำนาญ” รายเดือนเท่านั้น เพราะมีตัวอย่างสำคัญจากกลุ่มข้าราชการที่รับเงินเกษียณเป็นบำเหน็จก้อน เดียว มักพบว่าเงินก้อนที่ได้รับมาตกไปอยู่กับบุตรหลานมากกว่าเป็นเงินรายได้ในการ ดำรงชีพ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเองแต่อย่างใด)

 

ในกรณีลาออก ประกันสังคมมาตรา 40 สมาชิกจะได้รับเงินทั้งหมดในบัญชี คือ เงินสะสมของตนเองและเงินสมทบจากรัฐเมื่ออายุครบ 60 ปี แต่ กอช. สมาชิกจะได้รับเงินเฉพาะในส่วนของตนเท่านั้น ส่วนเงินสมทบจากรัฐจะตกเป็นของกองทุน

 

ในกรณีเสียชีวิต ประกันสังคมมาตรา 40 จะจ่ายในกรณีที่ผู้รับบำนาญตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับจากเดือนที่รับบำนาญชราภาพ โดยจ่ายบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ให้แก่ทายาทหรือผู้ที่ผู้ประกันตนแจ้งชื่อไว้ ส่วน กอช. จะจ่ายเงินทั้งหมดในบัญชีให้แก่ทายาทหรือผู้ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้

 

จากความแตกต่างของทั้ง 2 กองทุน ที่ได้แจกแจงอย่างละเอียดในข้างต้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะเห็นความซ้ำซ้อนในบางประเด็นโดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายของกองทุน ทั้ง 2 กองทุน ก็คือ กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่มีหลักประกันทางสังคมและสมัครใจเข้าสูระบบการออม กล่าวได้ว่า ต่างเป็นผู้ประกันตนโดยอิสระทั้ง 2 กองทุน (ไม่ใช่ผู้ประกันตนภาคบังคับแบบมาตรา 33 ในพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533)

 

แต่อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าองค์กรด้านแรงงานโดยเฉพาะการ นำโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ที่มีวิไลวรรณ แซ่เตีย , ชาลี ลอยสูง และทวีป กาญจนวงศ์ กับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ที่มีสุจิน รุ่งสว่าง อรุณี ศรีโต และสมคิด ด้วงเงิน เป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญ ได้ชี้เห็นปัญหาจากการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมเสมอมาว่า สำนักงานประกันสังคมขาดธรรมาภิบาลในการบริหารกองทุนประกันสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับคณะกรรมการกอช.ที่มีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนที่เป็นแรง งานนอกระบบโดยตรง อีกทั้งเลขาธิการคณะกรรมการกอช.ยังมาจากกระบวนการสรรหา ซึ่งต่างจากเลขาธิการประกันสังคมที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของรัฐบาล

 

P7290119Untitled-8

ในกฎหมาย กอช. ยังได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนอีกว่า กรรมการ กอช. ประกอบด้วย 4 ฝ่าย คือ โดยตำแหน่งราชการ กรรมการเลือกจากสมาชิก 6 คน ผู้รับบำนาญ 1 คน ผู้ทรงวุฒิ 4 คน คือ ด้านกฎหมาย บัญชี การเงินและการลงทุน และด้านสวัสดิการชุมชน ขณะที่คณะกรรมการกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้างและที่ปรึกษาเท่านั้น โดยกลุ่มแรงงานนอกระบบตามมาตรา 39 และ 40 ไม่มีส่วนร่วมแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างส่วนใหญ่ตามมาตรา 33 ก็ไม่มีสิทธิเลือกกรรมการตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง มีเพียงผู้แทนสหภาพแรงงานจำนวนน้อยจากสภาองค์การลูกจ้าง 14 แห่งเท่านั้นที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง กับผู้แทนสหภาพแรงงาน 1,000 กว่าแห่ง แห่งละ 1 คน ที่มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการฝ่ายลูกจ้างเท่านั้น

 

กล่าวโดยสรุป แม้ “กองทุนการออมแห่งชาติ” กับ “ประกันสังคมมาตรา 40”จะเป็น“ความเหมือนที่แตกต่าง” แต่สำหรับจุดเด่นมากของกองทุนการออม ก็คือ บทบาทการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ และยังกำหนดให้กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีเลขาธิการมาจากการสรรหา ซึ่งเป็นภาพสะท้อนความโปร่งใสในการบริหารที่มากกว่ากองทุนประกันสังคม

 

การยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติและนำไปอยู่ในกองทุนประกันสังคม ที่มีภารกิจต่อผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างนับสิบล้านคนและกำลังจะขยายความ ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ประกอบกับกองทุนประกันสังคมยังมีปัญหาหลายประการที่ถูกวิจารณ์กว้างขวางจาก องค์กรแรงงานมาโดยตลอด เช่น ความไม่เป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการกองทุนประกันสังคมที่อยู่ในวงจำกัด ขาดความคล่องตัวและคณะกรรมการสปส.เมื่อบริหารงานผิดพลาดก็ไม่ต้องรับผิดชอบ และใช้เงินกองทุนประกันสังคมอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การศึกษาดูงานต่างประเทศซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้กลับมาพัฒนาระบบ ประกันสังคม ความไม่โปร่งใสในการซื้อตึกอาคารต่างๆเพื่อจัดเก็บเอกสาร รวมถึงในเรื่องของการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนที่ยังยึดหลักการบริหารแบบ ไตรภาคีโดยตัวแทนรัฐ ลูกจ้าง และนายจ้าง ซึ่งเป็นระบบของแรงงานในสถานประกอบการหรือเหมาะสมกับแรงงานในระบบตามมาตรา 33 เท่านั้น

 

ดังนั้น การโอนภารกิจกองทุนการออมแห่งชาติไปให้กองทุนประกันสังคมรับผิดชอบ ซึ่งจะมีสมาชิกและเงินทุนจำนวนมากขึ้น จะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระ เพิ่มความเสี่ยง และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน รวมทั้งภาครัฐเองก็ยังมีภาระหนี้ต่อเงินสมทบของรัฐบาลในกองทุนประกันสังคมอ ยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังไม่มีการจัดการให้ดีขึ้นแต่อย่างใดร่วมด้วย

 

 

บทความโดยบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
19 ธันวาคม 2557



28/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา