ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เกาะติดสถานการณ์กองทุนประกันสังคม กับการที่บอร์ดอนุมัติให้มีการเดินทางไปดูงานที่ประเทศเยอรมนี

เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน กรณีคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติเรื่องการไปติดตามผลที่ สปส.นำเงินไปลงทุนที่ประเทศเยอรมนี และเพื่อรับทราบข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศตลอด ๒๕ ปี ที่ผ่านมา

 

 

ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ๕ คน ลูกจ้าง ๕ คน ข้าราชการ ๕ คน และที่ปรึกษา ๑ คน และเสนอต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้พิจารณาอนุมัติต่อไป

 

และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ออกมาตั้งคำถามต่อกรณีดังกล่าวว่าเหมาะสม หรือไม่ อย่างไร

 

อ้างอิงจาก link ข่าวนี้

 

 

โดยข้อเท็จจริงแล้ว การที่ คสรท. ได้ออกมาตั้งคำถามดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม เนื่องด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

 

(๑) แม้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ จะอนุมัติให้คณะกรรมการประกันสังคมสามารถเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศได้อย่างถูกต้องโดยใช้งบประมาณจากกองทุนประกันสังคมโดยตรง

 

แต่เป็นที่ทราบดีว่าตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นไป สปส.ต้องจ่ายประโยชน์ทดแทนบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท

 

นี้ไม่นับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ที่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘

 

เหล่านี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากกว่าการนำเงินดังกล่าวไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ที่สามารถศึกษาหรือขอคำชี้แจงผ่านระบบออนไลน์ได้

 

(๒) เมื่อมาพิจารณาถึงตัวแทนผู้ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงานก็ไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้โดยตรงเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของ สปส. แม้แต่น้อย รวมถึง สปส.ก็มีคณะอนุกรรมการด้านการลงทุนโดยตรงอยู่แล้ว ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะไปศึกษาดูงานมากกว่า

 

อีกทั้งจะเห็นได้ว่าผู้อนุมัติในหลักการเบื้องต้นเห็นชอบต่อการไปศึกษาดูงานกับผู้เดินทางไปศึกษาดูงาน คือ บุคคลกลุ่มเดียวกัน จึงแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ทับซ้อนในการพิจารณาอย่างชัดเจน มากกว่าที่จะคำนึงถึงประโยชน์ผู้ประกันตนที่สำคัญมากกว่า

 

(๓) ที่ผ่านมาการเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศของ สปส. กลับไม่เคยมีการนำความรู้กลับมาปรับปรุงการบริหารงานเพื่อทำให้ สปส.เอื้อต่อการคุ้มครองผู้ประกันตนที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี

 

ทั้งๆที่เงินที่ใช้ในการศึกษาดูงานมาจากเงินของผู้ประกันตนด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่เพียงเงินของนายจ้างและภาครัฐเท่านั้น ที่ผู้ประกันตนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

 

แต่กลับมีการเปิดเผยจำนวนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้น้อยมาก รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการไปศึกษาดูงานว่าผู้ประกันตนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร ซึ่งแสดงถึงความไม่โปร่งใสและการขาดธรรมาภิบาลอย่างชัดเจนในการบริหารงาน

 

จากการที่ คสรท.ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณไปศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมการประกันสังคมตั้งแต่ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๓ พบว่า

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๗ ดูงานประเทศเกาหลี อนุมัติจำนวนเงิน ๓.๘ ล้านบาท

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๗ ดูงานประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อนุมัติจำนวนเงิน ๓.๒ ล้านบาท

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๘ ดูงานประเทศนอร์เวย์ เดนมาร์ก ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๙ ดูงานประเทศสเปน โปรตุเกส ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๐ ดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา อนุมัติจำนวนเงิน ๖.๔ ล้านบาท

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๐ ไม่มีข้อมูลประเทศดูงาน โดยคณะกรรมการอุทธรณ์ อนุมัติจำนวนเงิน ๕ ล้านบาท

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๐ ไม่มีข้อมูลประเทศดูงาน โดยคณะกรรมการแพทย์ อนุมัติจำนวนเงิน ๔ ล้านบาท

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๑ ดูงานประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อนุมัติจำนวนเงิน ๗.๕ ล้านบาท

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๒ ดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมันนี ตุรกี กรีซ เช็ค ฮังการี ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๒ ดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ

 

- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๓ ดูงานประเทศเยอรมนี สโลวีเนีย โครเอเชีย ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ

 

(๔) เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือที่ นร. ๐๕๐๖/ว ๕๔ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่องงดเว้นการเดินทางไปศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนา อบรม ที่ต่างประเทศในช่วงปีงบประมาณ 2558 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ๒๕๕๘ ได้เห็นชอบ จึงมีมติให้ทุกส่วนราชการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

และสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็ได้มีหนังสือที่ รง ๐๑๐๒.๒/ว ๐๗๑๒ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ถึงหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานทุกหน่วย รวมถึงสำนักงานประกันสังคม ให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ อย่างเคร่งครัด

(๕) นายวิน พรหมแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานลงทุน และรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ให้สัมภาษ์กับสื่อมวลชนหลายฉบับเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ตอนหนึ่งว่า

 

วงเงินลงทุนต่างประเทศที่เดิมเคยกำหนดไว้จำนวน ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้ชะลอไปก่อนในระยะนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง และให้มุ่งเน้นการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์ทางเลือกที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย

 

ในการนี้คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเห็นชอบแผนการลงทุนกองทุนประกันสังคม ปี ๒๕๕๘ ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนฯ เสนอกำหนดให้ศึกษาแนวทางการลงทุนรูปแบบใหม่เพื่อรองรับภาระเงินลงทุนที่จะมีเพิ่มขึ้นมากในอนาคต อาทิ การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) และกองทรัสต์ที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) เพื่อระดมเงินสำหรับใช้ในการลงทุนภาครัฐ คาดหวังผลตอบแทนเงินปันผล ๖-๘ % ต่อปี

 

เหล่านี้คือเหตุผลที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะไปศึกษาดูงานด้านการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงการนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติม

 

หมายเหตุ :  รายชื่อกรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ประกอบด้วย

 

กรรมการฝ่ายนายจ้าง ได้แก่

 

- นายอรรถยุทธ ลียะวณิชเลขาธิการสภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค

 

- ร้อยเอกสำเริง ชนะสิทธิ์ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างไทย

 

- นายจรินทร์ งาดีสงวนนาม เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างการเกษตรธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย

 

- นายเดชบุญ มาประเสริฐ ประธานสภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย

 

- นายสมศักดิ์ ถนอมวรสิน ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

 

กรรมการฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่

 

- นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

 

- นายชัยพร จันทนา ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย

 

- นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสภาองค์การลูกจ้าง แรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

 

- นายสุชาติ ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ

 

- นายพิจิตร ดีสุ่ย กรรมองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย



22/Apr/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา