ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

มาตรา 13 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ใครบ้างที่จะสามารถลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องได้?

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 ได้บัญญัติไว้ว่า

 

“การเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือลูกจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ

 

ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องระบุชื่อผู้เข้าร่วมในการเจรจา โดยจะระบุชื่อตนเองเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา หรือจะตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาก็ได้ ถ้านายจ้างตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา ผู้แทนของนายจ้างต้องเป็น กรรมการ ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือลูกจ้างประจำของนายจ้าง กรรมการของสมาคมนายจ้างหรือกรรมการของสหพันธ์นายจ้างและต้องมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน

 

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ถ้าลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาไว้แล้ว ให้ระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจามีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนพร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย ถ้าลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา ให้ลูกจ้างเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาและระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจา มีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนโดยมิชักช้า.....

 

จากบทบัญญัติดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า ผู้ที่จะยื่นข้อเรียกร้องได้ตามมาตรานี้คือ “ลูกจ้าง”  และต้องพิจารณาต่อไปว่า “ใครคือลูกจ้าง”

 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัตินิยามไว้ในมาตรา 5 ความว่า

 

“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร”

 

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า โดยปกติแต่ละบริษัทก็จะมีการแต่งตั้งลูกจ้างให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ มากมายแตกต่างกันออกไป เช่น หัวหน้างาน , Supervisor , วิศวกร , นายช่าง , ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก , หัวหน้าแผนก , ผู้จัดการ , คนสวน , พนักงานซ่อมบำรุง , Operator และ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ต่างก็ “ทำงานให้กับนายจ้าง” โดย “รับค่าจ้าง” ดังนั้น ทุกคนที่กล่าวมาทั้งหมด จึงมีสถานะในการเป็น “ลูกจ้าง” ตามกฎหมายเหมือนกัน

 

ดังนั้น ลูกจ้างตามมาตรา 13 ที่มีสิทธิที่จะลงรายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ก็คือ ผู้ที่เป็นลูกจ้างของนายจ้างนั้นๆ ไม่ว่ามีตำแหน่ง มีหน้าที่อย่างไรก็ตาม หากท่านเป็นลูกจ้าง ก็มีสิทธิที่จะลงชื่อเพื่อยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมายได้

 

และเมื่อท่านได้ลงชื่อเพื่อสนับสนุนการยื่นข้อเรียกร้องแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 31 ก็จะเข้ามา “คุ้มครอง” ท่านในทันที ซึ่งมาตรา 31 ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า “เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการหรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง.....”

 

 

ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อท่านลงรายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องไปแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้าง , โยกย้ายท่านไม่ได้โดยเด็ดขาด เว้นแต่การโยกย้ายนั้นจะเป็นคุณยิ่งกว่า

 

ทนายพร

4 พฤษภาคม 2559



03/May/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา