ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แม้ลูกจ้าง “ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง” แต่มีหลายกรณีที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาแล้วว่า นายจ้างไม่สามารถไล่ออกได้

แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 จะกำหนดว่ามีกรณีใดบ้างที่ลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างสามารถไล่ออกได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย 7 เรื่องเหล่านั้น ได้แก่ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ (2) กระทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง (3) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (4) ประมาททำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง (5) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง (6) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน (7) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล


แต่สำหรับในกรณีที่ 5 เรื่อง “ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง” ก็มีหลายกรณีจำนวนมาก ที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาแล้วว่า แม้เป็นการฝ่าฝืนจริง แต่ไม่ร้ายแรง นายจ้างยังไม่สามารถไล่ออกไม่ได้


ทั้งนี้การกระทำความผิดโดยฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้น ย่อมเป็นไปตามลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่องๆ ไป และถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างเพราะมีเหตุจำเป็นและยังห่างไกลจากความเสียหาย ถือว่าไม่เป็นกรณีร้ายแรง (2530/2525)


อีกทั้งนายจ้างต้องได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องตักเตือน (2562/2527)


ได้แก่

 

1. นายจ้างมีข้อบังคับห้ามมิให้ลูกจ้างเล่นแชร์ ดื่มสุรา แม้การเล่นแชร์และดื่มสุราส่งเสียงดังนอกเวลาทำงาน ชกต่อยเพื่อนร่วมงานด้วยเหตุเมาสุรา จะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ แต่ไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น ถือว่าไม่เป็นกรณีร้ายแรง (2448/2523 และ 14/2525 และ 2388/2526)


หรือดื่มสุราแล้วมึนเมาก่อนเริ่มเข้าทำงาน และหลับไปในขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งโดยสภาพไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลภายนอก หรือทรัพย์สินอื่นๆ ได้ แม้จะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ก็เป็นเพียงการบกพร่องต่อหน้าที่ (1227/2535)


แต่ถ้าเป็นอาชีพที่ห้ามดื่มสุราเลยแล้วนายจ้างจะเสียหาย เช่น รปภ. ถือเป็นการฝ่าฝืนกรณีร้ายแรง (1416/2525) หรือเข้าทำงานในอาการมึนเมาสุรา อาละวาดเตะข้าวของในห้องทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรง (3613/2537)


2. นายจ้างสั่งลูกจ้างไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลในเวลาใกล้จะเลิกงาน โดยไม่ได้บอกว่าให้ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร ลูกจ้างไม่ไปพบตามคำสั่ง และขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้น (368/2536)


3. นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานต่างจังหวัดโดยไม่ให้ลูกจ้างมีโอกาสปรับตัว การฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ไม่เป็นกรณีร้ายแรง (3301/2525)


4. ลูกจ้างขาดงานเพียง 2 วัน เพราะเจ็บป่วย ไม่เป็นกรณีร้ายแรง (2183/2526)


5. ลูกจ้างดื่มสุราแล้วเข้าไปในโรงงาน แต่ไม่ได้ทำงานในสภาพมึนเมาหรือกระทำการอื่นใดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง (2919/2527)


6. ลูกจ้างทะเลาะวิวาทชกต่อยกัน หรือตบตีกัน แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บมาก หรือด่ากันเองในเวลาปฏิบัติงาน ยังไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานกรณีร้ายแรง (3524/2529,916/2530,4753/2530 , 4551/2532)


7. ลูกจ้างมาทำงานสายและกระทำการอันไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เป็นกรณีร้ายแรง (281/2524)


8. ลูกจ้างมาประชุมไม่ทันกำหนดเวลานัด แต่ไม่ปรากฏว่าได้ก่อความเสียหายแก่นายจ้างอย่างไร มิใช่ความผิดร้ายแรง (2603/2529)


9. ลูกจ้างไม่ลงนามรับทราบคำเตือน และนำคำเตือนไปวางไว้บนโต๊ะทำงานของผู้จัดการโรงงาน แม้จะมีลักษณะท้าทาย ก็มิใช่กรณีร้ายแรง (3999/3524)

 

10. ลูกจ้างไม่ลงเวลามาและกลับ ไม่เป็นกรณีร้ายแรง (1701/2528)
 

11. ลูกจ้างยื่นใบลาป่วยช้าไป 3 วัน เป็นการผิดระเบียบของนายจ้าง แต่มิใช่กรณีร้ายแรง (4981/2528)

 

12. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปกินข้าวเป็นเวลา 15 นาที ไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น มิใช่กรณีร้ายแรง (1680/2525)

 

13. ลูกจ้างเล่นหวย แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้นายจ้าง และนายจ้างก็มิได้เสียงาน ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง (3210/2533 , 6232/2533) แต่ถ้าเล่นการพนันที่ผิดกฎหมายอาญา แล้วทำให้นายจ้างเสียชื่อเสียง ถือว่าร้ายแรง (1322/2532)

 

14. ลูกจ้างสูบบุหรี่ แต่อยู่ห่างโกดังและที่ยืนอยู่ก็มีนํ้านองพื้น ยากที่จะเกิดเหตุไฟไหม้ได้ ไม่เป็นกรณีร้ายแรง (1269/2526)

 

15. ลูกจ้างหญิงตบตีกันเองในระหว่างทำงาน เพราะกรณีเล่นหวยแล้วมีปัญหากัน ไม่จ่ายเงิน ไม่เป็นกรณีร้ายแรง (2562/2527)

 

16. ลูกจ้างหลบงานไปนอนในเวลาทำงานประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วกลับมาทำงานใหม่ ไม่เป็นความผิดร้ายแรง (2127/2530)

 

17. หัวหน้างานกับลูกจ้าง ต่างฝ่ายต่างต่อยกัน แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อมีผู้มาห้ามจึงเลิกรากัน หรือด่ากันด้วยคำหยาบคาย เช่น อีตอแหล ต่อหน้าลูกจ้างอื่นในสถานที่ทำงาน แม้จะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง แต่มิใช่กรณีที่ร้ายแรง (3479/2525,3184/2540) แต่ถ้าทำร้ายกันในระหว่างที่มีการประชุมพนักงานเกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียง ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง (2030/2528)

 

18 สิงหาคม 2560



18/Aug/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา