ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย มีกรณีใดบ้างที่เข้าข่ายกรณีนี้

HR บริษัทแห่งหนึ่ง ถามมาว่า “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย มีกรณีใดบ้าง” พบว่า มีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ได้วางบรรทัดฐานเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

 

(1) ความหมายของคำนี้  “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” หมายถึง ลูกจ้างได้กระทำโดยมีเจตนาหรือรู้สำนึกถึงการกระทำว่าจะเกิดผลเสียหายต่อนายจ้าง (8241/2544) แม้นายจ้างจะยังไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (7045/2546)

 

(2) อย่างไรก็ตามต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะการกระทำ พฤติการณ์ของการกระทำ ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป มิใช่เกิดจากการกำหนดของนายจ้าง แม้ว่านายจ้างจะออกระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน กำหนดลักษณะการฝ่าฝืนของลูกจ้างว่ากรณีใดร้ายแรง ก็ไม่ทำให้การฝ่าฝืนนั้นกลายเป็นกรณีร้ายแรงไปด้วย (1227/2535)

 

(3) ตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง

 

• กระทำอนาจารต่อเพื่อนร่วมงาน (2290/2529) เอามือโอบไหล่ พูดขอหอมแก้ม (2029/2538)

 

• จัดซื้อสินค้าโดยไม่ได้สอบราคาและเปรียบเทียบราคาก่อนจัดทำใบสั่งซื้อ ทำให้นายจ้างต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าท้องตลาด (3554/2545)

 

• ใช้ตำแหน่งหน้าที่เรียกร้องเงิน (7106/2547)

 

• ดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ (1416/2525)

 

• ตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนพนักงานอื่นโดยไม่ตรงความจริง (2648/2525 ,3301/2529)

 

• ทำร้ายร่างกาย,ชกต่อยผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุม (2030/2528 , 3639/2529 ,1848/2530)

 

• นัดหยุดงานโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย (2365/2527)

 

• นำใบรับรองแพทย์ปลอมมาแสดง (2334/2523)

 

• ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง (239/2545 3862/2530)

 

• ผละงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้อง (3986 /2528)

 

• พูดจาก้าวร้าวหัวหน้าแผนกแล้วละทิ้งหน้าที่ไป (ที่ 2597/2529)

 

• ยุยงส่งเสริมให้เกิดความปั่นป่วนเกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ (13587/2556)

 

• รายงานเท็จว่าได้ออกไปปฏิบัติงานโดยความจริงมิได้ออกปฏิบัติงานตามหน้าที่ (1532/2528)

 

• เรียกรับเงินจากผู้สมัครงานเป็นค่าตอบแทนในการช่วยให้เข้าเป็นลูกจ้าง (3723/2537)

 

• ลาป่วยเท็จ ผิดระเบียบของบริษัท (2125/2530)

 

• ลูกจ้างทะเลาะวิวาท ชกต่อย ทำร้ายร่างกายกันเองในเวลาทำงาน และอาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ (973/2532)

 

• ลูกจ้างนำตัวเหี้ยไปผูกไว้ที่หน้าโรงงาน ปิดประกาศมีข้อความหยาบคาย ด่าดูหมิ่นเหยียดหยามขับไล่ผู้บังคับบัญชา (1507/2526)

 

• ลูกจ้างในแผนกเดียวกัน ระดับบังคับบัญชาเป็นชู้กับระดับใต้บังคับบัญชา แม้จะไม่ปรากฏว่าเกิดขึ้นในเวลาทำงาน เป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปกครองบังคับบัญชาของพนักงาน (5609/2542)

 

• ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ไม่ให้ยามรักษาการณ์ตรวจสอบก่อนออกนอกโรงงาน (568/2527)

 

• ลูกจ้างมีหน้าที่ควบคุมหม้อนํ้าชนิดไอนํ้า ละทิ้งหน้าที่ไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นได้ (4290/2534)

 

• ลูกจ้างยืนสูบบุหรี่ข้างๆ กองกล่องกระดาษ ซึ่งมีกล่องกระดาษจำนวนมาก (3495/2526)

 

• ลูกจ้างออกจากโรงงานโดยไม่ขออนุญาต ทิ้งหน้าที่ไป 1 ชั่วโมงกลับเข้าโรงงานมาตอกบัตรลงเวลาทำงาน (แสดงว่าอยู่ทำงาน) (3438/2526)

 

• ลูกจ้างเอาใบเตือนไปจากการครอบครองของนายจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างนำใบเตือนมาคืน ลูกจ้างไม่ยอมนำมาคืน (5920/2534)

 

• เล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในงานหรือนอกเวลา (1322/2532)

 

• หมิ่นประมาทนายจ้าง (287/2527 , 822/2536)

 

• สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต จนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้าง (3127/2525)

 

18 สิงหาคม 2560



18/Aug/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา