ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

วิเคราะห์การบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง

นับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 เป็นวันที่ พรบ. คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ทางสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้โดยตรง จึงได้ดำเนินโครงการรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 เพื่อให้ผู้จ้างงานกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความรู้ ความเข้าในเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553  พร้อมทั้งรับทราบถึงบทบาท หน้าที่และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายกำหนด

 

ในขณะเดียวกันสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนาและเครือข่ายคนตกงานไทยเกรียง จ.สมุทรปราการ ก็ได้ทำการสำรวจสถานการณ์ภาพรวมและปัญหากลุ่มผู้รับงานมาที่บ้านในพื้นที่หมู่ 1-9 ต.บางจาก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ  จำนวน 100 คน ในประเภทงาน รายได้ รับงานมาจากที่ไหน รับมาได้อย่างไร ระยะเวลาในการทำงาน การทำสัญญาจ้าง ค่าจ้างที่ได้รับ ปัญหาที่ประสบส่วนใหญ่ ตลอดจน ข้อเสนอต่อหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้รับงานไปที่บ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจและเข้าไม่ถึงการคุ้มครองตามพรบ. ดังนั้นทางสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนาจึงได้มีการเปิดเวทีอบรมทำ ความเข้าใจ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 กับผู้รับงานไปทำที่บ้านและแกนนำชุมชนดังกล่าว

 

นอกจากนั้น แล้วเครือข่ายแรงงานนอกระบบก็ได้จัดตั้งคณะทำงาน (Core team) เพื่อเป็นกลไกในการติดตามการจัดทำแนวทางและกลไกการบังคับใช้กฎหมาย ของกระทรวงแรงงาน  โดยเป็นการเข้าไปมีบทบาทในการยกร่างกฎกระทรวง ประกาศแนวทางการขึ้นทะเบียนและการปฏิบัติการพื้นที่นำร่องการบังคับใช้ กฎหมายในระดับปฏิบัติการร่วมกับกระทรวงแรงงาน เช่น การดำเนินการเรื่องการสำรวจกลุ่มผู้รับงานไปที่บ้าน  การเตรียมระบบการขึ้นทะเบียน การทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย สิทธิ-หน้าที่ในพื้นที่ตำบลบางจาก อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงในเรื่องการมีส่วนร่วมในการพิจารณาระเบียบ หลักเกณฑ์ การกำหนดแนวทางคัดเลือกผู้แทนผู้รับงานไปทำที่บ้านในคณะกรรมการกองทุนผู้รับ งานไปทำที่บ้าน

 

จากกระบวนการติดตามดังกล่าว ทำให้มีข้อสังเกตถึงบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ดังนี้

 

(1) การบังคับใช้กฎหมายยังเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยเฉพาะในประเด็น                  

  • ค่าตอบแทน เป็นข้อกังวลของผู้รับงานว่าจะไม่มีงานทำ จะทำให้นายจ้างไม่ยอมส่งมอบงานให้ทำต่อไป
  • การจ้างงาน ที่ผ่านมามีคนนำมาให้ผู้รับงานจึงไม่สามารถตอบได้ว่าใครเป็นผู้จ้างงานที่แท้จริงทำให้ค่าตอบแทนไม่สามารถได้ตามกำหนด
  • ค่าจ้างเป็นไปตามลักษณะของการจ้างงาน ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ว่าจ้างและผู้รับงาน
  • นายจ้างหรือผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ระดับไหน

 

(2) ความเข้าใจของกลุ่มผู้รับงานในการเข้าร่วมกระบวนการ ไม่ได้มาจากฐานกลุ่มอาชีพทำให้ระดับความเข้าใจมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องขึ้นทะเบียนกลุ่ม เพื่อใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการและการเข้าแหล่งทุน (กองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้าน)

 

(3) หน่วยงานยังไม่ได้ดำเนิน การให้ข้อมูลกับนายจ้างทำให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เป็นที่รับรู้ของผู้จ้างงานมากนักในพื้นที่

 

จากการที่ติดตามสถานการณ์การออกกฎหมายรองซึ่งกระทรวงแรงงานต้องออกทั้งหมดจำนวน 14 ฉบับ จากข้อมูลเมื่อธันวาคม 2556 พบว่า ขณะนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มีการออกกฎหมายรองซึ่งได้มีการ ประกาศใช้แล้วจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่

  1. คำสั่งกระทรวงแรงงานเรื่องการแต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553
  2. คำสั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องมอบหมายอำนาจหน้าที่ของพนักงานตรวจแรงงาน
  3. เรื่องการออกแบบคำร้องและคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
  4. เรื่องการออกบัตรประจำตัวพนักงานตรวจแรงงาน
  5. ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  6. ระเบียบกรมสวัสดิการว่าด้วยเรื่องการรับคำร้องและการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจ

 

ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า “ไม่เป็นประโยชน์” หรือ “มีผล” ต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพราะไปออกกฎหมายในเชิงเทคนิคและการจัดการมากกว่าการคุ้มครอง ที่ยังเหลืออีก 8 ฉบับ ได้แก่

 

  1. ร่างกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์
  2. ร่างกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดงานที่ห้ามผู้จ้างงานหรือผู้รับงานไปทำที่บ้าน
  3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพและค่าทำศพของแรงงาน
  4. ร่างกฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแทนผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้าน
  5. ร่างกฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน.
  6. ร่างกฎกระทรวงเรื่องบัตรประจำตัวกรรมการและอนุกรรมการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
  7. ร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน
  8. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยงานอื่นๆ ตามนิยามมาตรา 3 “งานที่รับไปทำที่บ้าน” (ดำเนินการต่อเมื่อมีการขยายความคุ้มครองไปยังงานอื่นๆ)

 

ทั้ง 8 ฉบับจะเห็นได้ว่าเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยตรง แต่กระทรวงแรงงานก็ยังให้ความสำคัญน้อยกว่าในการที่จะต้องดำเนินการอย่าง เร่งด่วนแทน

 

โดยนายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน  กล่าวว่า “กฎ กระทรวงทั้ง 8 ฉบับนี้ มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้ามาจากต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการศึกษามาก่อนและมีรายละเอียดมากที่ ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการอ้างอิง หากเร่งรีบเกรงว่าจะเป็นช่องทางให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง  เป็นต้น”

 

จากสถานการณ์ดั่งที่กล่าวมา ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจึงมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ โดยอ้างอิงจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย รวม 4 ข้อดังนี้

 

(1) กระทรวงแรงงานต้องเร่งรัดให้มีการดำเนินการเพื่อให้มีคณะกรรมการคุ้มครองการ รับงานไปทำที่บ้าน ตามมาตรา 25 โดยเร็ว เนื่องด้วยคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่สำคัญตามมาตรา 28 ไม่ว่าจะเป็นการเสนอแนะและให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการคุ้ม ครอง ส่งเสริม และพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน มาตรฐานการพัฒนาฝีมือแรงงาน มาตรการในเรื่องการป้องกันการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย รวมทั้งการเสนอแนะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การกำหนดอัตราค่าตอบแทน  เป็นต้น

 

(2) กระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านนั้น ควรประกอบไปด้วยกลุ่มหรือองค์กรของผู้รับงานที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรง งานหรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่มที่เพิ่งขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน ควรมีหลักเกณฑ์เพื่อแสดงว่ากลุ่มหรือองค์กรดังกล่าวมีอยู่จริง และมีการดำเนินงานหรือการทำงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ได้ผู้แทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านอย่างแท้จริง ทั้งนี้ให้ใช้วิธีกาคัดเลือกแบบ 1 กลุ่ม/องค์กรผู้รับงานไปทำที่บ้าน ต่อ 1 เสียง

 

(3) การร่างกฎกระทรวง และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่างๆ ควรให้องค์กรแรงงานและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด้วย เพื่อสะท้อนข้อมูล ปัญหา สถานการณ์ และข้อคิดเห็น เพื่อให้การออกกฎหมายลำดับรองสอดคล้อกับสถานการณ์จริงในพื้นที่

 

(4) การพัฒนากลไกอาสาสมัครแรงงานตามระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยอาสาสมัครแรงงาน พ.ศ. 2547 เพื่อให้เป็นกลไกในการร่วมบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เพราะงานที่รับไปทำที่บ้านได้กระจายอยู่ทั่วไป มิได้จำกัดอยู่ในรูปแบบของสถานประกอบกิจการเท่านั้น

 

นอกจากนั้นแล้ววันนี้ประเด็นเร่งด่วนที่ผู้รับงานไปที่บ้านต้องการมากกว่าเพียง การรอกระทรวงแรงงานออกกฎหมายลำดับรองซึ่งไม่มีแนวโน้มว่าจะประกาศใช้เมื่อใด คือ บทบาทของกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่สถานการณ์ปัจจุบันควรมีการปรับบทบาทของคณะกรรมการกองทุนผู้รับงานฯ ไปให้ความสำคัญกับประเด็นการส่งเสริม สนับสนุนความรู้ในการมีงานทำและทักษะการจัดการอาชีพแบบครบวงจร นอกเหนือจากการอนุมัติเงินกู้ยืมกับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านเพียงเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับกรมส่ง เสริมการผลิต เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพผู้รับงานไปที่บ้านให้เกิดความเข้มแข็งในการบริหาร จัดการ และการวิเคราะห์ช่องทางการตลาด นอกเหนือจากการฝึกทักษะฝีมือ

 

วันนี้กระทรวงแรงงานในส่วนของคณะกรรมการอำนวยการแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรง งานนอกระบบ พ.ศ.2555-2559 ได้จัดทำแผนปฏิบัติการแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2555-2559 และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน แต่ก็ดูเหมือนว่า “เครื่องมือ” ที่กระทรวงแรงงานมีอยู่ ก็ไม่สอดรับกับการเข้าถึงการคุ้มครองชีวิตและบริบทของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่เป็นแรงงานนอกระบบอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

 

โดยบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ 27 ธันวาคม 2556



27/Dec/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา